โครงการ SMART CITY ที่ยั่งยืนในมุมมองของที่ปรึกษาโครงการ Smart City เกาะสีชัง

Share

Loading

การทำโครงการ Smart City ให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมถึงจำเป็นที่จะต้องมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งต้องมีความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง

คุณธนวรรธน์ โชติพิชญะวิทย์ ที่ปรึกษาโครงการ Smart City เกาะสีชัง กล่าวว่า…
“ผมอยากอธิบายอย่างนี้ก่อน คำว่า Smart City คือการนำเอาเทคโนโลยีมาบริหารจัดการเมือง ดังนั้นเราต้องตั้งโจทย์นี้ให้ได้ก่อน ว่าเราจะเอาเทคโนโลยีอะไรบ้างมาใช้ใน Smart City ของเรา รวมถึงเราจะต้องมองล่วงหน้าอีกด้วยว่าโครงการที่เราทำนั้นนับจากนี้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีมันจะเปลี่ยนไปอย่างไรเราจะต้องรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ด้วย”

smart city

ประโยชน์ของประชาชนคือความยั่งยืนของโครงการ

ซึ่งถ้าหากมองถึงความยั่งยืนของโครงการ “หลายคนอาจจะมีคำถามว่าปัจจัยของการไม่ประสบความสำเร็จของโครงการคืออะไร ผมมองว่าปัจจัยสำคัญที่สุดคือ เพราะประชาชนไม่เห็นถึงประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากประชาชนในพื้นที่มองเห็นถึงผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับ สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนโครงการจนนำไปสู่ระบบที่ยังยืนในระยะยาว”

ดังนั้นโครงการ Smart City ที่จะประสบความสำเร็จและต่อยอดไปได้อย่างยั่งยืนนั้น ประชาชนในพื้นที่จะต้องได้รับประโยชน์และมองเห็นถึงผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับจากโครงการด้วย โครงการ Smart City จึงจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษาโครงการต้องมีทักษะด้านใดบ้าง?

Smart City คือระบบเทคโนโลยีซึ่งทำงานบน Internet Protocal ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการได้ Smart City จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานทางด้าน Network Engineer และจะต้องมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับเลนส์ เกี่ยวกับรูรับแสง รวมถึงระยะโฟกัส อีกทั้งในเรื่องของระบบสำรองข้อมูล เพราะคุณภาพของความชัดไม่ได้อยู่ที่กล้องเพียงอย่างเดียว แต่จะสัมพันธ์กับการจัดเก็บข้อมูลด้วย”

“และสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลยคือที่ปรึกษาโครงการจะต้องมีความรู้เรื่องไฟฟ้า การสำรองไฟยังไง แล้วก็หลาย ๆ พื้นที่ที่เป็นเกาะหลาย ๆ พื้นที่ที่เป็นพื้นที่สูงสิ่งที่ประสบปัญหาคือฟ้าผ่าทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น การป้องกันฟ้าผ่าจะมีเทคนิคอยู่ที่การติดตั้ง”

“เพราะฉะนั้นที่ปรึกษาหรือผู้ร่าง TOR รวมถึงผู้ที่ลงตรวจหน้างานจะต้องมีองค์ความรู้เหล่านี้ เพื่อจะสามารถทำงบซ่อมบำรุง ซึ่งมันส่งผลต่อการซ่อมบำรุงในระยะยาว เพราะกล้างโดยมาตรฐาน ณ วันนี้ ผู้ที่ให้บริการในเมืองไทยจะรับประกันอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ซึ่งถ้าคุณติดตั้งได้ถูกต้อง มีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง กล้องจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 3 ปีแน่นอน แต่ถ้าไม่มีการซ่อมบำรุงเลย กล้องอาจจะใช้งานได้แค่ 1 ปี”

“ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นเป็นเพียงการกล่าวถึงในภาพรวม เพราะโดยความเป็นจริงแล้วโครงการ Smart City จะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและหากไม่สามารถหาคนที่มีความรู้ครอบคลุมทั้งด้าน Network Engineer,ด้านกล้องและระบบสำรองข้อมูล,ด้านไฟฟ้า ได้ในคนคนเดียว ก็จำเป็นที่จะต้องมีหลายคน เพื่อช่วยดูแลในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียดในทุกขั้นตอน” คุณธนวรรธน์ กล่าวทิ้งท้าย…

smart city