7 Smart City เมืองอัฉริยะทั้ง 7 นั้น Smart Living น่าจะมีความสำคัญมากด้วยเหตุผลของความเป็นอยู่ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพชีวิตและการมีสุขภาพที่ดี ในยุกสังคมผู้สูงอายุเต็มเมือง จากรายงานของกรมอนามัย ประเทศไทย มีผู้ที่อายุเกิน 50 ปี มีมากกว่า 22.6 ล้านคน และผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปีม ากถึง 12.2 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้ที่อยู่ติดบ้านมากกว่า 2,048,840 คน ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยตัวเองได้ มากกว่า 161,760 คน เป็นผู้ที่ติดสังคม กว่า 8 ล้าน 5 แสนคน ผู้ที่ต้องการบ้านพักคนชรามากกว่า 3,500,000 คน
IoT (Internet of Things) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างไร
รศ.วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้วิจัยและพัฒนา ระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจรที่สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่การออกแบบถึงการผลิต Hardware, Software และ System Management
ส่วนประกอบของระบบช่วยเหลือ
อุปกรณ์ (Devices) เครื่องส่งสัญญาณ (Gateway) ที่ส่งสัญญาณด้วย LAN/WIFI หรือ 3G/4G เพื่อเชื่อมต่อกับศูนย์ควบคุม (Control Room)
Sensors เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ซึ่งจะติดตั้งไว้ที่บ้านของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
- WRISTBAND เป็นอุปรณ์สวมใส่รูปนาฬิกา ที่เป็นทั้งเครื่องวัดสถานะของผู้สวมใส่ และเป็นปุ่มกดของความช่วยเหลือด้วย
- EMERGENCY BOTTON ปุ่มของความช่วยเหลือ ใช้ได้ทั้งดึงด้วยสาย หรือ กดปุ่มที่ตัวส่งสัญญาณ
- TEMPERATURE & GAS SENSOR อุปกรณ์ตรวจจับ แก๊ส และอุณหภูมิ
การเฝ้าระวัง (Monitoring) ระบบเฝ้าระวังประกอบด้วย โปรแกรมรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์สัญญาณ เพื่อแจ้งเตือนทั้งสิ่งที่ผิดปกติ และสัญญาณของความช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Signal)
a. Integrated Software
b. System Monitoring
c. Monitoring Control Center
การบริหารจัดการ (Management) การบริหารจัดการสัญญาณแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ และการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response) และการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล
d. Incident Managemen
e. Communication Management
f. Operation Management
ระบบได้ผ่านการวิจัย และทดสอบในภาคสนามด้วยการใช้งานกับผู้ป่วยจริง ด้วยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง จนสามารถยืนยันได้ว่าสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุได้จริง เหมาะกับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย