คุณรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงภาพรวมของ 5G ในทั่วโลกว่า
“เทคโนโลยีโมบายนั้นถูกพัฒนาทุกๆ 10 ปี ก็คือได้วางแผนมานานพอสมควร จาก 3G ที่เริ่มต้นเมื่อ 15-20 ปีที่แล้ว วางไว้ว่าในปี 2020 จะต้องเริ่มมี 5G เกิดขึ้น ส่วนตัวผมคิดว่า 5G มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโลกอินเทอร์เน็ตอย่างมาก ถึงแม้ 4G จะมีการทำให้อินเทอร์เน็ตก้าวหน้าอย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือสิ่งต่างๆ อยู่บนออนไลน์ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปประชาชนก็ต้องการคุณภาพที่สูงขึ้น ฉะนั้นเทคโนโลยี 5G ก็จะมาตอบโจทย์ในแง่ของ Digital Lifestyle แบบก้าวกระโดด เรียกว่ายกระดับขึ้นไปเป็นร้อยเท่าในราคาที่ใกล้เคียงกับของเดิม”
“สิ่งสำคัญที่ทำให้ 5G ขับเคลื่อนได้เร็วขึ้นอย่างหนึ่งคือ Smart Home หรือ Smart City ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ดีมาก เพราะว่าถ้าทุกระบบเป็น Automation ก็จะต้องการการติดต่อสื่อสารที่ดี และจะเรียกว่าดีได้นั้นสิ่งสำคัญคือต้องไม่มีค่าหน่วงเวลา Latency Time ก็ต้องต่ำมากๆ การเซ็นเซอร์ของกล้องเมื่อจับภาพได้ต้องส่งไปที่ศูนย์บัญชาการในเวลาแค่กระพริบตาเดียว เพราะฉะนั้นเทคโนโลยี 4G อาจจะยังไม่พอ ต้องเป็น 5G”
“อีกประเด็นก็คืออุปกรณ์ IoT ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งถ้ามีน้อยก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้ามีมาก เช่น บ้านหรือคอนโด ต้องมีระบบใหม่มารองรับ เพราะฉะนั้น 5G เป็น Massive IoT ก็คือจะเปลี่ยน Digital Lifestyle ของคนไปเลย และ Massive IoT คาดการณ์ไว้นานแล้วว่าหลังปี 2020 ไป จะเริ่มมีมาให้เห็น ภาพรวมในตลาดโลกน่าจะเป็นประมาณนี้”
บทบาทและความสำคัญของ 5G ต่อสังคม ธุรกิจ และประชาชน ในประเทศไทยและต่างประเทศ
“จะมีเรื่องของ Health Care การผ่าตัดโดยคุณหมอและคนไข้ซึ่งอยู่คนละที่กัน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วย เพราะฉะนั้น Health Care จะเป็นตัวหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับการที่จะทำให้ชีวิตทุกคนสะดวกสบาย อีกส่วนหนึ่งก็คงเป็นเรื่องของการที่คนเราต้องการการเอ็นเตอร์เทนเมนท์ Broadcast, Sport หรือชมภาพยนตร์ 8K ซึ่งในแง่ของอุตสาหกรรมจริงอาจจะยังดูได้ไม่ถึง 8K แต่ถ้ามี 5G เข้ามาก็จะชมได้ในโซลูชั่นที่สูงขึ้น”
“อีกสิ่งที่คาดการณ์กันในอุตสาหกรรมรถยนต์ก็คือพวกอัตโนมัติทั้งหลาย เบื้องต้นก็คงจะเป็นแบบรถบัส Campus Park หรือจะเป็นรถกอล์ฟ เพราะฉะนั้นมันต้องการ Communication ต้องการการตัดสินใจ ถ้าเกิดมีอะไรมาตัดหน้ารถมันต้องจรวจสอบได้ว่าเป็นอะไร และจะหยุดในระยะเท่าไร นี่คืออีกอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นมาในแง่ของการขับเคลื่อน 5G ที่พูดไปก็จะมีเรื่องของ Health, Smart City, Entertainment, E-Sport ถ้ามี 5G ก็จะมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมา”
ความพร้อมและความก้าวหน้าของประเทศไทยสำหรับการใช้งาน 5G
“ในส่วน 5G ของประเทศไทยท่านประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, ท่านสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึง กสทช. มีนโยบายที่ชัดเจนว่า ต้องการให้ประเทศไทยเป็นมีสัญญาณ 5G เป็นประเทศแรกๆ ของอาเซียน และในรอบปีที่ผ่านมาเราก็เริ่มปักหมุดทำ 5G ตรงพื้นที่ EEC ศรีราชา ได้รับความร่วมมือจาก Mobile Operator, กสทช. และผู้ผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามาช่วยกัน”
“สิ่งที่ผมคิดว่ารัฐบาลไทยเราเน้นมากก็จะเป็นการส่งเสริมพื้นที่ EEC และพื้นที่ที่เป็น Smart City ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องแรกๆ ที่ทุกเมืองต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตรงนี้ เรื่องแรกคงต้องเป็นระบบโครงสร้างของ Fiber Optic และเสาติดตั้งสัญญาณ เพราะการทำ 5G ต้องติดตั้งเสาถี่มาก ไม่แน่ว่าเสาไฟ, เสา CCTV, เสาโฆษณา หรือเสาอื่นๆ อาจจะกลายเป็นจุดที่ติดตั้งตัว Hotspot กระจายสัญญาณ 5G ได้ เบื้องต้นผมคิดว่าทุกเมืองทุกชุมชนที่เป็น Smart City จะเกิด 5G ขึ้นก่อน”
“การที่ประเทศไทยกำหนด Roadmap ไว้ ก็จะช่วยเรื่องอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในบ้านเรา ทำให้ต่างชาติมีความมั่นใจมากขึ้น และความพร้อมอีกส่วนหนึ่งผมคิดว่าอยู่ที่อุตสาหกรรมด้วย พวก Ecosystem หรืออุปกรณ์ Smartphone ที่จะผลิตรุ่นใหม่ๆ ถ้าสามารถรองรับสัญญาณ 5G ได้ ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการลงทุน 5G ได้ สิ่งสำคัญคือ Smart Device หรือ Smartphone หากราคาไม่สูงจนเกินไปรับรองว่า 5G เกิดแน่ ทั้ง Network, Device, Application ทุกอย่างต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน”
หากเปรียบ TOT เป็นรถไฟก็จะเรียกได้ว่าเราเป็นผู้วางรางให้ Operator หรือให้ Player แต่ละราย
“สิ่งที่เราสนับสนุนการทดลอง 5G Test base จะเป็นในเรื่องของ Fiber Optic และเสาโทรคมนาคมที่เรามีอยู่แล้วและเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หากเปรียบ TOT เป็นรถไฟก็จะเรียกได้ว่าเราเป็นผู้วางรางให้ Operator หรือให้ Player แต่ละราย ส่วนนี้ก็จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการเข้าไปด้วยกัน เป็นแบบ Ecosystem”
“TOT ทำหน้าที่นี้มานาน และในธุรกิจนี้เราก็ไม่เชิงว่าไปแข่งกับรายอื่น เราเองก็ตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐอยู่แล้ว พื้นที่ไหนที่มีผู้ลงทุนรายอื่นลง เราก็จะเลี่ยงไปลงที่อื่นแทน เพราะ 5G ต้องลงทุนร่วมกัน ไม่ควรเสียเงินไปแข่งกันในพื้นที่เดียว ผมคิดว่าประเทศไทยก้าวมานานและเราก็พร้อมแล้วสำหรับเรื่องนี้ ต้องขอขอบคุณทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงทาง กสทช. ทาง TOT ได้รับการทดสอบที่ศรีราชาได้ก็เพราะได้รับการอนุเคราะห์จากสองหน่วยงานนี้ รวมทั้ง Operator ทุกราย”
“สำหรับการใช้งานจริง คาดว่าประเทศอื่นน่าจะได้ใช้ในช่วงปลายปี 2020 ซึ่งจะเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็ต้องติดตามโอลิมปิกของญี่ปุ่นว่าสิ่งที่เขาทำมันมี Pain point จุดไหนบ้าง เพราะหลายๆ ประเทศเมื่อเปิดใช้งานก็พบจุดที่ต้องนำมาปรับปรุงกัน ก็คิดว่าปีหน้าคงมีความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลก”
สุดท้ายอยากฝากถึงผู้อ่านทุกท่าน
“ผมคิดว่าประเทศไทยเราก็คงต้องร่วมมือกัน ระบบที่เป็น Digital ต้องเป็นแบบ Sharing Economy ส่วน Connectivity จะเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงยังมี Digital Platform เพื่อให้เกิดบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งทุกๆ สมาคม รวมถึงกล้องซีซีทีวีก็ต้องเตรียมพร้อม ดูว่าใส่ซิมการ์ด 5G ต้องสามารถเชื่อมต่อกับ Network 5G ได้หรือว่าทีเป็น Massive IoT ถ้าจะเปลี่ยนขึ้นมาเป็นยุคถัดไป ทางผู้ผลิตรวมถึงผู้บริการ SI ทั้งหลายจะปรับตัวและก็เอามาทดลองอย่างไร ซึ่งปีหน้านี้ก็คงต้องเร่งทำการทดสอบหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ”
“การจะเป็น 5G ได้ก็ต้องมีเรื่องของ AI และ Big Data เข้ามาร่วมด้วย ตัวเซ็นเซอร์ทั้งหลายที่มีนั้นต้องเข้ามาอยู่ในฐานของ Big Data เพราะฉะนั้นทางผู้ผลิตหรือสมาคมต้องจะช่วยกันแบ่งปันสิ่งเหล่านี้ ต้องสร้าง Platform และมีอัลกอริทึม รวมถึงวางระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เรื่องนี้จะตรงโจทย์ของ TOT ที่จะช่วยให้มี Guideline ในเรื่องของ Security ได้ สุดท้ายนี้ทั้งรัฐบาลและผู้ประกอบการคงต้องช่วยกัน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมา Hostess ที่เมืองไทย ประเทศไทยเรานั้นเล็กจึงไม่ต้องลงทุนมากนัก เราเพียงแต่ต้องร่วมมือกันเท่านั้นเอง” คุณรังสรรค์ กล่าวทิ้งท้าย