ในภาคอุตสาหกรรมนั้น การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยอย่างกล้องวงจรปิด (CCTV) ถือเป็นสิง่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อคอยดูแลสอดส่องสินค้าที่ผลิตให้อยู่ครบ ไม่สูญหายจากการโดนโจรกรรม และยังช่วยในเรื่องการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานของเครื่องจักรและผู้ควบคุมเครื่องจักรในส่วนต่างๆ ซึ่งเราจะมาอธิบายว่าการติดตั้งกล้องวงจรปิดในภาคอุตสาหกรรมนั้น มีข้อดีอย่างไรต่อโรงงานบ้าง
1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
แน่นอนว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ไหนมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้รอบด้าน ทั้งด้านในและด้านนอก หรือรอบๆแผนก โดยเฉพาะ คลังสินค้า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานได้มากขึ้น นั่นหมายความว่า เป็นโรงงานที่มีระบบดูแลรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ในขณะเดียวกันการมีกล้องวงจรปิดในโรงงาน ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับคนทำงานมากยิ่งขึ้นด้วย
2.ช่วยลดต้นทุน
การมีกล้องวงจรปิดจะช่วยลดต้นทุนการจ้างคนดูแลความปลอดภัยได้อย่างมาก โดยให้กล้องวงจรปิดทำงานแทน โดยมีเพียงเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เฝ้าดูหน้าจอมอนิเตอร์เท่านั้น
3.ช่วยควบคุมการทำงานในพื้นที่อันตรายได้
โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละที่จะมีพื้นที่อันตรายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สารเคมี พื้นที่อุณหภูมิสูง หรือต้องการดูระบบขนส่ง ระบบการผลิตต่างๆของโรงงาน รวมทั้งพื้นที่ ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยใช้กล้องวงจรปิดเป็นตัวควบคุมการทำงาน บันทึกภาพทุกความเคลื่อนไหวการทำงานไว้ให้ได้
4.ช่วยเฝ้าดูการทำงานของเครื่องจักร
สามารถดูภาพผ่านจอมอนิเตอร์ได้เลย โดยที่วิศวกรไม่ต้องไปเฝ้าเครื่องจักรให้เสียเวลา เรียกดูการทำงานทุกกระบวนการของเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้มากขึ้น
5.ตรวจสอบการทำงานของพนักงาน
ติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบจุดของโรงงาน ทำให้เห็นพนักงานขณะปฎิบัติงานว่ามีพฤติกรรมในการทำงานอย่างไรบ้าง และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับพนักงานก็จะช่วยได้ทันเวลา หยุดเครื่องจักรได้ทันที ทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อชีวิตพนักงานและทรัพย์สิน อีกทั้งยังสามารถนำภาพย้อนหลังมาประเมินประสิทธิภาพของโรงงานและพนักงานได้ เพื่อนำมาปรับปรุงโรงงานให้ดีมากยิ่งขึ้น
6.เช็คความเคลื่อนไหวผ่านมือถือ
ผู้บริหารอาจไม่มีเวลาลงมาตรวจสอบ ดูความเคลื่อนไหวของพนักงาน และการทำงานของเครื่องจักรสักเท่าไหร่ ก็อาจจะใช้วิธีดูความเคลื่อนไหวในโรงงานผ่านมือถือได้ หากโรงงานไหนใช้กล้องวงจรปิดแบบ IP ก็จะเพิ่มความสะดวกสบายให้ทางผู้บริหารมากขึ้น และนำสิ่งที่ได้เห็นไปวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :