เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 กทสช. ได้จัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดระบบ 5G ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนคลื่นความถี่ 3 ความถี่ ได้แก่ 700 MHz, 2600MHz และ 26GHz โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท
– คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท
– คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท
– คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล
โดยในการประมูลครั้งนี้ มีผู้เข้าประมูลทั้งสิ้น 5 รายได้แก่ TrueMove H, AIS, dtac, CAT และ TOT ซึ่งได้ผลการปะมูลเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ดังนี้
คลื่น 700MHz
จำนวนชุดที่เปิดประมูล : 3 ชุด ประมูลออกทั้ง 3 ชุด
ผู้เข้าประมูล : AIS, TrueMove H, CAT
ผู้ชนะการประมูลและจำนวนที่ได้ : CAT (2 ชุด รวม 10MHz), AIS (1 ชุด รวม 5MHz)
ยอดที่ได้จากการประมูล : 51,460 ล้านบาท*
คลื่น 2600MHz
จำนวนชุดที่เปิดประมูล : 19 ชุด ประมูลออกทั้ง 19 ชุด
ผู้เข้าประมูล : AIS, TrueMove H, CAT
ผู้ชนะการประมูลและจำนวนที่ได้ : AIS (10 ชุด รวม 100MHz), TrueMove H (9 ชุด รวม 90MHz)
ยอดที่ได้จากการประมูล : 37,434 ล้านบาท*
คลื่น 26GHZ
จำนวนชุดที่เปิดประมูล : 27 ชุด ประมูลออก 26 ชุด เหลือ 1 ชุด
ผู้เข้าประมูล : TrueMove H, AIS, dtac, TOT
ผู้ชนะการประมูลและจำนวนที่ได้ : AIS (12 ชุด รวม 1200Mhz), TrueMove H (8 ชุด รวม 80Mhz), TOT (4 ชุด รวม 40MHz), dtac (2 ชุด รวม 20MHz)
ยอดที่ได้จากการประมูล : 11,627 ล้านบาท*
5G คืออะไร?
เทคโนโลยี 5G หรือ 5th Generation คือ ระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 5 ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมุลในปริมาณมากกว่าระบบ 4 G ถึง 1,000 เท่า จึงทำให้อุปกรณ์ที่รองรับระบบนี้ จะไม่จำกัดเพียงแค่สมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่จะรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญคือระบบสาธารณูปโภคโดยรวมทั้งหมดอีกด้วย
ระบบ 5G ยังเป็นพื้นฐานแนวคิด Internet of Thing (IoT) และ Machine to Machine ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ ยานพาหนะ หรืออาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆที่มีการติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ ระบบเซ็นเซอร์ รวมถึงเครือข่ายการเชื่อมต่อต่างๆ ที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งผ่านข้อมูลถึงกันโดยมีความล่าช้าของเวลา (time lag) น้อยมาก จึงทำให้สามารถใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนโดยสิ้นเชิง
กรณีตัวอย่างประโยชน์ของ 5G ที่มีการนำมาใช้งานจริงแล้ว
สำหรับประเทศจีนต้องบอกว่าก้าวหน้าอย่างมากกับโครงข่าย 5G เพราะมีการนำไปใช้งานจริงในหลายภาคส่วน เช่น โรงพยาบาลมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน ได้ถ่ายทอดสัญญาณผ่าตัดทางไกลแบบเรียลไทม์สำหรับการผ่าตัด โดยทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดปอดบางส่วนของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ระหว่างการผ่าตัดได้มีการขอคำแนะนำจากทีมแพทย์อื่นอีกหนึ่งโรงพยาบาล พร้อมใช้เทคโนโลยี VR ที่สามารถเห็นภาพเสมือนจริงอย่างชัดเจน ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยใช้เครือข่ายเชื่อมต่อระดับ 5G ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพเสียงคมชัดไร้การหน่วงเป็นแบบเรียลไทม์ การผ่าตัดจบได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงสองชั่วโมงเท่านั้น
5G กับประเทศไทย?
ด้วยความที่เทคโนโลยี 5G กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกในอีกไม่นานนี้ ประเทศไทยเองจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอย่างมากสำหรับเทคโนโลยี 5G โดยคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถเริ่มใช้ 5G อย่างเป็นทางการภายในปี 2563 นี้ ซึ่งเรื่องสำคัญที่เทคโนโลยี 5G จะต้องทำให้ได้ในระดับมาตรฐานทั่วไป คือต้องสามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ถึง 1 ล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมการใช้งานอุปกรณ์ทุกชนิดที่รองรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ และต้องส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วระดับ 1Ms หรือน้อยกว่า และยังต้องรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาล เนื่องจากอุปกรณ์ที่รองรับจะไม่ได้มีแค่สมาร์ทโฟนอย่างเดียวอีกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้จำกัดอยู่ที่การใช้งานระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ในอนาคตจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไร้คนขับ (Driverless Car) ที่ในอนาคตจะสามารถโต้ตอบกับรถอีกคัน และถนน (Smart Road) ผ่านเซนเซอร์ โดยมี 5G โอนข้อมูลระหว่างกัน
รวมถึง Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) เช่น การนำเอาภาพเสมือน 3 มิติจำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้อง และมีการประมวลผลโดยการทำให้วัตถุ 3 มิติ (ภาพเสมือน) ทับซ้อนเข้ากันกับภาพจริงเป็นภาพๆเดียว ซึ่งภาพหรือวีดีโอที่ว่าจะต้องดึงมาจาก Cloud ทำให้ 5G มีบทบาทมากในการดึงข้อมูลให้ปรากฏบนหน้าจอได้โดยไม่มีดีเลย์
ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ในอนาคตต่อไป
แหล่งข้อมูล :