TISDA 2020: เทคโนโลยีและนวัตกรรมของความปลอดภัยในยุคดิจิตอล

Share

Loading

26 March 2020 The Royal Thai Police Sports Club

งานสัมมนาพร้อมการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของความปลอดภัยในยุคดิจิตอล

ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกต่างมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้งานในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมทุกด้าน ทั้งปัญหาการก่อการร้าย เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเทคโนโลยี และนวัตกรรมสามารถวิเคราะห์แยกแยะวัตถุ และบันทึกเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุนำไปสู่การติดตามตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้นปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาการจราจร และความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยป้องกัน และลดปัญหาเหล่านี้ได้

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงได้จัดงานสัมมนาพร้อมการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของความปลอดภัยในยุคดิจิตอล โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ลงทะเบียนออนไลน์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมงาน

– เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี และนวัตกรรมระบบรักษาความปลอดภัยในยุคปัจจุบันอันนำไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

– ในด้านความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่น ความมั่นใจในการดูแล และบริการประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยว นักลงทุนทั้งคนไทย และต่างชาติ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมตามนโยบายของภาครัฐ ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City

– เสริมสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่

– เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิตอลด้วยความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมระบบรักษาความปลอดภัย

นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับกล้องวงจรปิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มาตรฐาน วสท. (EIT Standard) มาตรฐานปฏิบัติโทรทัศน์วงจรปิด

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโอกาสและการปรับตัว

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาแสดง

– นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับกล้องวงจรปิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

– นวัตกรรมสำหรับโครงการ Smart Living & Safety คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

– โครงการปฏิรูประบบขนส่งทาง ถนนด้วยเทคโนโลยีสู่การเป็น Smart Transportation

– เทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

– เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย

– ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ และห้องคอนโทรลรูม

– ระบบการจัดเก็บข้อมูล

– Network Solution Systems

กลุ่มผู้เข้าร่วมงาน

– ตำรวจ ทหาร กรมการขนส่งทางบก อปท. ปภ. เจ้าหน้าที่ด้านระบบรักษาความปลอดภัยหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน เจ้าหน้าที่ด้านไอทีเทคโนโลยี หน่วยงานและมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย

– กลุ่มผู้แทนจำหน่ายและผู้ให้บริการ

– นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ฯลฯ

รูปแบบการจัดงานและกิจกรรมภายในงาน

– การสัมมนาและบรรยายพิเศษจากผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้เชียวชาญ

– การบรรยายพิเศษจากตัวแทนของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

– การแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากนักวิจัยของไทยพร้อมการประยุกต์ใช้งาน

– การแสดงสุดยอดเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มระบบรักษาความปลอดภัย

– การแสดงเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์คโซลูชั่นในยุคดิจิตอล

– ให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คโซลูชั่นโดยนักวิจัย ผู้เชียวชาญ และวิศวกร จากสถาบันการศึกษา สมาคม บริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ