การบันทึกภาพระบบโทรทัศน์วงจรปิด

Share

Loading

“การบันทึกภาพ” ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด มีความสำคัญเนื่องด้วย “ภาพ” เป็น “ข้อมูล” (Data) ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในทางดีและไม่ดีอย่างมากมาย สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ

(1) ห้องบันทึกภาพ (Server Room)

(2) วิธีการบันทึกภาพ

(3) ภาพคือข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)

(4) ประโยชน์ของภาพจากการบันทึกระบบโทรทัศน์วงจรปิด

  • เพื่อการดูย้อนหลัง (Playback)
  • เพื่อนำภาพไปวิเคราะห์ (Analytic)
  • เป็นข้อมูลการเรียนรู้ (Deep Learning) ในระบบอัจฉริยะ (AI: Artificial Innteligent)

ห้องบันทึกภาพและห้องควบคุม (Server & Control Room)

Server Room เป็นห้องเก็บเครื่องบันทึกภาพ (Video Recorder) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญ (Video Data) เพราะข้อมูลภาพสามารถนำไปประกอบการติดตามสืบสวนสอบสวน (Investigation) หาผู้กระทำผิด และนำไปเป็นพยานหลักฐาน (Evidence & Witness) ได้เป็นอย่างดี Server Room ในศูนย์ข้อมูลของระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV Data Center) ต้องมีความปลอดภัย

Server Room เป็นหัวใจของระบบการบันทึกภาพ ต้องมีความปลอดภัยทั้งทางกายภาพ (Physical Safety) และทางเครือข่าย (Network: Cyber Security) สามารถป้องกันความเสียหาย ความสูญเสีย การถูกทำลายทั้งจากสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ฝุ่นละออง อุบัติเหตุ หรือเจตนาทำลาย การโจรกรรม จารกรรม ต้องมีอุปกรณ์สำรองกระแสไฟฟ้า UPS และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสนับสนุน (ในกรณีที่เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง)

ห้องควบคุม (Control Room)

Control Room อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Command Center, Command Room, Control Center, Monitoring Center, War Room โดยบทบาทของห้องควบคุมอาจแตกต่างกันตามความจำเป็น สถานการณ์ และจุดประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน

วัตถุประสงค์ของห้องควบคุมกลาง

  1. เป็นศูนย์ควบคุม บริหารจัดการเชิงรุก ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์ทั้งปกติ และผิดปกติด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
  2. รับสัญญาณแจ้งเหตุ (Signal) จากอุปกรณ์เตือนภัยจากภาพ (Video Alarm) หรือภาพที่ผ่านการวิเคราะห์ (Video Analytic & AI) หรือการขอร้องฉุกเฉิน (Emergency Call) การแจ้งเตือนจากระบบแจ้งเหตุบุกรุก (Burglar Alarm) สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) สัญญาณแจ้งเตือนจากระบบควบคุมการปิด-เปิดประตู (Door Access Alarm) เป็นต้น
  3. ควบคุมการปิด-เปิดไฟแสงสว่าง ประตู (Access Control) ระบบควบคุมการเข้าออกของยานพาหนะ (Parking System)
  4. ประกาศข้อความ (Public Address) สื่อสาร (Communication) ควบคุมสั่งการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Guardsman) สถานีดับเพลิง (Fire Station) รถพยาบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานสนับสนุน
  5. ติดตาม ประสานงาน ระงับเหตุจนกว่าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ
  6. รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ผู้รับผิดชอบ และรายงานสรุปเหตุการณ์ทั้งหมด
  7. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และหาวิธีการป้องกันปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย

แนวคิดการออกแบบทางกายภาพของห้องควบคุม

  1. ห้องควบคุมอยู่บนชั้นที่ 2 หรือสูงกว่า ป้องกันน้ำท่วม การบุกรุก ใกล้ทางออกฉุกเฉินมากที่สุด
  2. พื้นที่ปิดไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก หน้าต่างเป็นบานที่เปิดแง้มได้เล็กน้อยเท่านั้น
  3. เป็นพื้นที่เฉพาะกิจ มีที่พักชั่วคราว มีห้องกาแฟ และใกล้ห้องน้ำ หรืออยู่ภายใน
  4. ระบบการสํารองไฟฟ้า UPS เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสํารอง น้ำมันสํารอง มีตารางการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  5. มีระบบควบคุม บันทึกการเข้าออก เช่น Access Control ประตู Interlock Door และ CCTV
  6. ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และระบบดับเพลิงชนิดที่ไม่ทำลายอุปกรณ์ในห้องควบคุม
  7. ต้องสามารถสื่อสารกับภายนอกได้ ตลอดเวลา มีระบบสำรองทั้งประเภทมีสาย และไร้สาย
  8. มีห้องประชุม เพื่อใช้เป็นศูนย์บัญชาการฉุกเฉิน และไม่ อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปภายในห้องควบคุม

อุปกรณ์และการออกแบบ

  1. คอมพิวเตอร์ Workstation สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุม 2 หรือ 3 จอภาพ 1 เครื่องต่อคน
  2. จอภาพขนาดใหญ่เป็น TV Wall แสดงข้อมูลภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด แสดงผลแบบ Multi-View ดูภาพรวม พร้อมแผนที่ แสดงสัญญาณแจ้งเหตุ สัญญาณผิดปกติบนแผนที่ เช่น สัญญาณแจ้งเตือนตำแหน่งประตูที่เปิดค้างไว้
  3. Dash Board และระบบรายงาน แสดงข้อมูล สรุปของเหตุการณ์ รายงานอุปกรณ์ชํารุด เพื่อแจ้งเตือนการซ่อมและบำรุงรักษา

(อ้างอิง: หนังสือ CCTV Fundamental Design: พื้นฐานการออกแบบระบบโทรทัศน์วงจรปิด)