0
บทความโดย :
ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
27 มิถุนายน 2563
https://www.facebook.com/monsaks
0
ตอนนี้เขากำลัง Disrupt โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 2 อย่าง ยุคดิจิทัล คือ เรื่องช่องทางสื่อสารข้อมูล กับ เรื่องการบอกตำแหน่ง
นับจากปี 2020 เป็นต้นไป น่าจะเกิดการ disruption ขนานใหญ่ทีเดียว ซึ่งผู้ใช้อย่างเราอาจจะไม่รู้ แต่คนในวงการตื่นเต้นกันมาก เพราะมันจะไปสู้กันดุเดือดด้วยดาวเทียมบนอวกาศ
1. เรื่องช่องทางสื่อสารข้อมูล ในยุค IoT ที่กำลังจะมา จะมีเซ็นเซอร์จำนวนมากเป็นพัน ๆ ล้าน ซึ่งจะต้องการเชื่อมต่อส่งข้อมูล โดยตอนนี้มีหลายเจ้ากำลังลงทุนส่งดาวเทียมจิ๋ว ขนาดประมาณฝ่ามือ (cubesat) ขึ้นไปโคจรใกล้พื้นโลก ทำให้สัญญาณจากเซ็นเซอร์ IoT ส่งข้อมูลขึ้นไปถึง ดาวเทียมได้
=========
2. หลายเจ้าที่ว่า เช่น ดาวเทียมที่เขาเปิดเผย source Code เพื่อให้คนเอาไปพัฒนาเป็นดาวเทียมเพื่อส่งเองได้ ชื่อ FOSSA [1] หรือที่ทำเป็นเชิงพานิชย์แล้วก็มี Myriota [2] ผมลองนับๆ ดู ก็เห็น 4-5 รายอยู่ แข่งขันกันมาก เพราะเขาเชื่อกันว่าตลาดเซ็นเซอร์กำลังจะเติบโตอีกหลายพันล้านชิ้น
ซึ่งโมเดลธุรกิจเขาก็มีตั้งแต่ ออกมาตรฐาน, source code และ blueprint ตรงกลางให้ แล้วให้นักลงทุนที่สนใจ มาลงทุนส่งดาวเทียมเอง (คนออกมาตรฐานยินดีรับจ้างทำให้) แล้ว เอาเข้ามาในเครือข่ายเดียวกัน หรือเป็นรายเดียวลงทุน ไม่เปิดเทคโนโลยี ไม่เปิดมาตรฐาน แล้วเราไปเช่าโดยจ่ายค่า data package
=========
3. ฝั่งพวกเราผู้ใช้ จะเห็นว่าราคา (ค่าสื่อสาร) ที่ต้องจ่ายสำหรับส่งข้อมูล IoT ถูกลง และมีความยุ่งยากในการใช้งานและซ่อมบำรุงน้อยลง ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญสุดสำหรับพวกเรา
=========
4. เรื่องการบอกตำแหน่ง
อันนี้สำคัญมาก เพราะข้อมูลทุกอย่างทั้งที่มาจากคน และที่มาจาก เซ็นเซอร์ ล้วนต้องการรู้ว่ามาจากพิกัดอะไร โดยเฉพาะอุปกรณ์พวก GPS ที่ทำหน้าติดตามสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ เช่น มนุษย์ รถยนต์ รถบรรทุก เรือ รถไฟ เครื่องบิน ตู้สินค้า ฯลฯ
=========
5. GPS ก็มีมานาน แล้วนี่นา แล้วมัน Disrupt ยังไง ?
คือ ตอนนี้ยักษ์ใหญ่อย่าง จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ยุโรป ต่างก็ยิงดาวเทียมของตัวเองขึ้นฟ้า แข่งกับ GPS ของอเมริกา
ทีนี้ ประเด็นคือ จีน ยิงดาวเทียมเยอะมาก (ของจีนเรียก Beidou) ถ้าดูในเอเชียแปซิฟิก จะมีกว่า 20 ดวง ซึ่งเยอะกว่า GPS ที่มีแค่ประมาณ 10 ดวง (ต่างกัน เท่าตัว !!)
=========
6. ซึ่ง ในกรณีเลวร้ายที่สุด อเมริกา สอยดาวเทียม Beidou ของจีนร่วงสัก 10 ดวง ระบบของจีนก็ยังอยู่ได้ แบบทัดเทียมกับอเมริกา !!! ก็คือ ถ้ายิงกันหมัดต่อหมัด จีนจะมีกำลังสำรองเยอะกว่า
=========
7. นอกจากเรื่องจำนวนดาวเทียมแล้ว … ในอดีตค่าพิกัดจาก GPS จะผิดพลาด ประมาณ 10 เมตร แต่ตอนนี้ จีน (และอื่น ๆ) กำลังส่งดาวเทียมเฉพาะ เพื่อปล่อยค่าปรับแก้ออกมาด้วย (ปล่อยฟรี) ทำให้ต่อไป ค่าพิกัดจาก GPS (และค่ายอื่นๆ) จะผิดพลาดเหลือแค่ 1-2 เมตร
=========
8. ซึ่งเมื่อแม่นขึ้น ย่อมทำให้คุณภาพข้อมูลดีขึ้น เช่น ติดตามตำแหน่งจอดรถตามป้าย รถเข้าอู่ หรือ ทำให้ซอฟต์แวร์สามารถเดาได้แม่นขึ้นว่าผู้ใช้กำลังเดินเท้า ปั่นจักรยาน หรือ ขับรถ
========
9. นอกจากนี้ เขายังปล่อยปรับปรุงสัญญาณให้กินไฟ น้อยลงด้วย เพื่อสนับสนุนพวกเซ็นเซอร์ IoT ที่ต้องการรู้พิกัดตัวเอง แต่กินไฟน้อย ๆ
=========
10. ยิ่งไปกว่านั้น เหล่าประเทศยักษ์ใหญ่พวกนี้กำลังพัฒนาค่าปรับแก้รุ่นใหม่ขึ้นไปอีก เรียกว่า PPP (Precis Point Positioning) แปลง่าย ๆ ว่า จากที่ผิดพลาด 1-2 เมตร จะแม่นขึ้นอีก เหลือต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ได้ !! ซึ่งตรงนี้น่าจะเห็นในอีก 1-2 ปี
=========
แม่นขึ้น ถูกลง เร็วขึ้น แข่งขันกันช่วงชิงตลาด
สงครามการค้ายุค disruption เดี๋ยวนี้ต้อง back กันด้วยเทคโนยี โดยที่ทั้งจีนและอเมริกา คงขับเคี่ยวกันไปอีกยาวและหนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ
จะไม่ใช่แค่ครอบครองตลาดออนไลน์ คลาวด์ หรือ 5G บนภาคพื้น แต่ต้องครองอวกาศด้วย !!!
ปล.
1. ขอบคุณรูป Cubesat ส่วนใหญ่ เอามาจาก FOSSA Satellite [1]
2. ดาวเทียม Cubesat ดวงนึง ราคาประมาณรถยนต์เล็ก ๆ คันนึง
3. ดาวเทียม IoT โคจรสูงประมาณ 100-200 กม. จากพื้นโลก
[1] https://fossa.systems/fossasat-1/
[2] https://myriota.com/
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3568455223168091&id=100000109451445
เรียงเรียงโดย : บรรณาธิการ Security Systems Magazine