AI Security มิติใหม่ของการรักษาความปลอดภัยที่กำลังจะมา

Share

Loading

Artificial Intelligence หรือ AI เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในระยะที่ผ่านมา ในฐานะเครื่องมือที่ทรงพลังมากในยุคดิจิตอล บทบาทสำคัญของ AI อยู่ที่ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทั้งในโลกดิจิตอลและโลกชีวิตจริงด้วย

ใช้ AI ใช้งานด้านรักษาความปลอดภัยอย่างไร?

ทั้ง AI และ Machine Learning ช่วยปรับปรุงและป้องกันด้านความปลอดภัยต่างๆ ตั้งแต่ช่วยตรวจหาข้อมูลการโจมตีทางไซเบอร์ล่วงหน้าไปจนถึงช่วยหน่วยงานด้านรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันอาชญากรรมและการบังคับใช้กฎหมาย

โดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ระบบปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขององค์กรจะใช้ AI คอยช่วยตรวจสอบการเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ และตอบสนองทันทีเมื่อพบความผิดปกติ เราสามารถฝึกให้ AI เรียนรู้ข้อมูลเป็นพันล้านชุดทั้งจากแหล่งข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง รวมทั้งบล็อคและข่าวสารต่างๆ ซึ่ง AI จะใช้ Machine Learning ช่วยปรับปรุงความรู้เกี่ยวความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของตัวเอง

ตัวอย่างเจ๋งๆ ของ IBM Watson

IBM เป็นระบบประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลได้เหมือนกับคน Watson สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างไฟล์หรือ IPs ที่ต้องสงสัยได้ภายในไม่กี่วินาที

บริษัทไหนบ้างที่ใช้ AI Security?

มีบริษัทมากมายที่กำลังพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยจาก AI เช่น บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Microsoft และ IBM ถึงกับมีแผนก AI Security เป็นของตัวเอง

ระบบ Watson ของ IBM และ Windows Defender ของ Microsoft คือตัวอย่างของแนวทางการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยที่มี AI เป็นพื้นฐานในโลกไซเบอร์

AI ยังช่วยรักษาความปลอดภัยในชีวิตจริงได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่นที่ Liberty Defense เป็นบริษัทจัดการระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการตรวจหาอาวุธ นำระบบ AI มาใช้และพัฒนาหาแนวทางช่วยลดการเกิดอาชญากรรมที่มาจากการพกพาอาวุธ ชื่อว่า HEXWAVE โดยใช้ภาพ 3 มิติและ AI ในการประเมินและตรวจหาความเสี่ยงของกลุ่มคนที่เดินผ่านเซ็นเซอร์ ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นที่ห้องแลปของ MIT Lincoln Laboratory และถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งที่รอบๆ อาคารใดก็ได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงขึ้นในพื้นที่ แต่ทั้งนี้เจ้าระบบนี้ก็สามารถใช้ได้ทั้งภายในและนอกอาคาร ตรวจจับได้ทั้งวัตถุที่เป็นโลหะและไม่ใช่โลหะ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่เทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้การตรวจจับใบหน้าซึ่งช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวในระดับบุคคล

เทคโนโลยี ACTIVE 3D IMAGING เพื่อใช้สแกนคนหมู่มากแบบเรียลไทม์เพื่อตรวจับอาวุธ

อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้งาน คือ OpenALPR’s AI Security software ที่ใช้ IP Camera หรือกล้องไอพีที่เหมือนกล้องวงจรปิดทั่วไป แต่ใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถอัพเกรดเพื่อเพิ่มศักยภาพอื่นๆ ได้ โดยเอามาใช้ในการสแกนป้ายทะเบียนรถเพื่อให้ข้อมูลหมายเลขรถ รุ่นและสี แบบเรียลไทม์ ปัจจุบันมีการติดตั้งกล้องชนิดนี้ไปแล้ว 9,000 ตัว ใน 70 ประเทศทั่วโลก

จะเห็นว่า AI ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่การช่วยงานด้านกฎหมายอย่างการสืบหารูปแบบอาชญากรรมไปจนถึงปัญหาเล็กๆ อย่างการจัดระเบียบการจอดรถ

ภาพตัวอย่างบริการ Watchman จาก Rekor ระบบ Home Security ที่มีความสามารถหลายอย่างเช่น กล้องตรวจจับป้ายทะเบียนรถ ให้รู้ว่ามีรถไหนมาจอดใกล้บ้านบ้าง รถโรงเรียนมาส่งลูกหรือยัง และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ smart home ต่างๆ สมมุติรถทะเบียนตรงกับที่ตั้งไว้ประตูโรงรถก็จะเปิดเองอัตโนมัติโดยไม่ต้องทำอะไร

https://www.youtube.com/watch?v=qzX4xztNrXA&feature=emb_title

การพัฒนาต่อยอด AI Security สู่ขั้นสูงกว่าอย่าง Cognitive Security

เทรนด์ด้านการรักษาความปลอดภัยนี้จะมาแน่ในอนาคตและจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราทุกคนอีกต่อไป เพราะในขณะนี้เราก็มีพัฒนาการขั้นกว่าของ AI ที่เรียกว่า Cognitive Security ที่เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI กับกระบวนการคิดของมนุษย์เพื่อตรวจจับหาสิ่งผิดปกติและป้องกันด้านความปลอดภัยทั้งในโลกดิจิตอลและโลกออฟไลน์ โดยมีการทำงานคล้ายกับ Cognitive computing มีเทคนิคอื่นๆ ที่ระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยใช้เหมืองข้อมูลเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลจำนวนมาก การประมวลภาษาแบบธรรมชาติ เพื่อใช้จำลองสมองของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนสูง แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการพัฒนาอัลกอรึทึมและระบบการเรียนรู้อีกมาก เพื่อให้ได้เครื่องมือที่แข็งแกร่งและฉลาดยิ่งขึ้นไปในอนาคต

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://propholic.com/prop-globe/ai-security-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84/

https://interestingengineering.com/how-ai-is-helping-keep-you-safe-online-and-in-the-real-world

https://libertydefense.com/product/

https://www.openalpr.com/watchman.html

https://researcher.watson.ibm.com/researcher/view_group.php?id=4354