ที่มา
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ได้มีโอกาสเข้าประชุมกับ ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคฯ และ สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ที่ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ได้พบกับ ผอ. เรวัช ศรีแสงอ่อน แห่งวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ทำให้ทราบว่าในวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษา 7,500 คน ซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคที่มีนักศึกษามากที่สุดในประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 10:00 ผอ.เรวัช ศรีแสงอ่อน ได้เชิญประชุมที่วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ทำให้ได้มีโอกาสนำเสนอโครงการพัฒนาหลักสูตรการออกแบบระบบโทรทัศน์วงจรปิด ให้กับวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และแนวคิดการสร้างศูนย์การเรียนรู้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดด้วย ซึ่งท่าน ผอ.เรวัช เห็นชอบในแนวคิดที่นำเสนอไป
หลักการและเหตุผลของโครงการพัฒนาหลักสูตรระบบโทรทัศน์วงจรปิด
- CCTV เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย
- ภาพจาก CCTV นอกจากใช้ในด้านการรักษาความปลอดภัย ยังได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในทุกสายงานอาชีพอย่างไร้ขีดจำกัด
- CCTV เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาระบบ Image Processing ไปจนถึงการเป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ (Machine Leaning: ML) เพื่อให้ระบบเกิดความรู้ในเชิงลึก (Deep Learning) เป็นการนำไปสู่ระบบอัจฉะริยะ (AI: Artificial Intelligent) และเป็นเครื่องมือสำคัญ ต่อสังคมยุคดิจิทัล
- CCTV มีบทบาทต่อการเรียนรู้ด้าน AI ทั้งเพื่อการพัฒนาความรู้ พัฒนาคน พัฒนาธุรกิจ และสังคมยุคใหม่
- CCTV มีการนำไปใช้งานอย่างมากมายในทุกวงการ ทุกระดับ แต่ยังขาดสถาบันการเรียนรู้อย่างถูกต้อง
ด้วยแนวคิดดังกล่าว จึงเห็นได้นำเสนอการพัฒนาหลักสูตรด้านระบบโทรทัศน์วงจรปิดให้กับสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 ในที่ประชุมความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีโอกาสนำเสนอการสร้างหลักสูตรระบบโทรทัศน์วงจรปิด ให้กับวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านโทรทัศน์วงจรปิดแห่งแรกของประเทศไทย
ภาพบรรยากาศการร่วมพัฒนาหลักสูตรกับคณะอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ในวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2563 และวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2563
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563 กิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร กับคณะอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ท่านผู้อำนวยการเรวัช ศรีแสงอ่อน และรองฯ อนงค์ลักษณ์ อาจมังกร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย