0
ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
https://www.facebook.com/monsaks
0
…..Nokia ได้จ้างบริษัท Machina Research ทำการศึกษาแนวทางที่จะทำ Smart City ให้ประสบความสำเร็จ ออกเป็นรายงาน (พย. 2559) ที่ชื่อว่า Smart City Playbook ด้านล่างเป็นสรุป
แนวทางการพัฒนา Smart City มีอยู่ 3 รูปแบบ
1. ‘Anchor’ คือ โฟกัสไปที่ปัญหาเดียวก่อน (เช่นจราจร) แล้วค่อยๆ เพิ่มการแก้ปัญหาอื่นๆ ของเมืองตามมาภายหลัง
อันนี้คล้ายของขอนแก่น ที่เขาเน้นระบบขนส่งทางรางก่อน และเสริมโครงการอื่นๆ ตามเข้าไป
2. ‘Platform’ คือ มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการสร้าง smart city applications and services เช่น Iot Infra, Hi-Speed Internet
3. ‘Beta Cities’ คือ ลองสร้าง applications หลายๆ ตัว (ในลักษณะ pilot) พร้อมกัน เพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนตัดสินใจเลือกโฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งและทำการลงทุนที่ผูกพันระยะยาว
สรุปปัจจัยความสำเร็จที่ทั้ง 22 เมืองมีเหมือนๆ กัน คือ
1. กำหนดนโยบายชัดเจนว่าทุกโครงการเมืองอัจฉริยะจะต้องแบ่งปันข้อมูลให้ใช้อย่างเสรี หรือต้องหาวิธีนำข้อมูลไปทำธุรกิจเพื่อให้เกิดรายได้เข้ามาเลี้ยงตัวเองได้
2. หลายๆ เมือง ที่ก้าวหน้ากว่าเมืองอื่นๆ ด้านเมืองอัจฉริยะ ต่างก็ยืนยันที่จะสร้างเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร รวมทั้งสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งสำหรับผู้ที่อยู่ในส่วนของภาครัฐและที่อยู่นอกภาครัฐ
3. รัฐบาล (และผู้ที่รับเหมาพัฒนาโครงการ) ผนึกประชาชนในพื้นที่เข้ามาตั้งแต่ช่วงที่ริเริ่มโครงการ ทำให้เกิดความสำเร็จอย่างสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มองเห็นจับต้องได้ (สำหรับพลเมือง) เช่น Smart Lighting และ Smart Parking
4. โครงสร้างพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะจะต้องสามารถขยายตัวเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตได้ และต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลทั้งของภาครัฐและของเอกชนนั้นได้รับการปกป้อง (ในเชิง security) อย่างเหมาะสม
5. ประกบกับ technology partners ที่มีประสบการณ์จริง ถึงลูกถึงคน พร้อมเลือกใช้ technology platforms ที่เปิด และไม่ล็อคกับ technology ของ vendor รายใดรายหนึ่ง
Note… ปัจจัยความสำเร็จข้างบน เป็นสิ่งที่แต่ละเมืองมีเหมือนกัน แม้จะเลือกคนละแนวทาง (Anchor, Platform, Beta City)
Jeremy Green นักวิเคราะห์อาวุโสที่ Machina Research บอกว่า
……จากการสัมภาษณ์ทั้ง 22 เมือง ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การจะเป็นเมือง smart นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย มีตัวเลือกมากมายที่ต้องตัดสินใจ ทั้งเทคโนโลยีและโมเดลทางธุรกิจต่างก็เปลี่ยนแปลงและมีออกมาใหม่ตลอด เมื่อปัจจัยเหล่านี้รวมกันจึงมีความไม่นอนสูงมาก
มาตรฐานต่างๆ ก็ออกมาเรื่อยๆ แต่ยังไม่มีตัวไหนที่ถือว่าเสร็จสิ้น
ดังนั้นจึงไม่มีหนทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบสำหรับ Smart City
…..อย่างไรก็ตามย่อมมีทางนำไปสู่จุดหมายแน่ๆ ขอเพียงเปิดตากว้างพร้อมด้วยความคาดหวังที่สามารถสร้างให้เป็นจริงได้ เปิดใจรับฟัง เรียนรู้จากรอบด้าน ซึ่งอาจจะเรียนจากเมืองอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายกัน เรียนจาก suppliers ที่มีประสบการณ์จริงจากที่อื่น เรียนจาก start ups ที่เก่งเรื่องนวัตกรรม และที่ลืมไม่ได้คือเหล่าคนที่อยู่อาศัยในเมืองซึ่งถือเป็น partner ตัวจริง
ปล.
1. เมืองทั้ง 22 คือ Auckland, Bangkok, Barcelona, Berlin, Bogota, Bristol, Cape Town, Cleveland, Delhi, Dubai, Jeddah, Mexico City, New York City, Paris, Pune, San Francisco, São Paulo, Shanghai, Singapore, Tokyo, Vienna and Wuxi
2. รายงานฉบับเต็ม (88 หน้า) อ่านได้จาก http://nokia.ly/smartcityplaybook
3. หน้าเว็บที่ให้เอกสารและข้อมูลสรุป เช่น Info-graphics, Executive Summary สามารถเข้าถึงได้ที่ https://goo.gl/s7sYUG
ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
https://www.facebook.com/monsaks
0