เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ : เมืองแห่งนวัตกรรม EECi ยกระดับประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

Share

Loading

EEC หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นนโยบายยกระดับความสามารถในด้านการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม รวมถึงการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งถือเป็นความสอดคล้องภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยทั้งนี้ได้มีการประการเขต “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi” ซึ่ง ถือเป็นการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก โดยเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และสมบูรณ์ เพื่อรองรับการวิจัยและต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง

โดย ปตท. ได้พัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์  ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่เพื่อเป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และยังถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อรองรับความเติบโตของแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ก่อให้เกิดห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ อันเป็นการกระจ่ายผลประโยชน์ ลดปัญหาความเลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทุกคน

สำหรับการพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ ในรูปแบบ Smart Natural Innovation Platform เพื่อรองรับงานวิจัยและนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่

  1. พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) : มุ่งเน้นที่การเสริมสร้างความเข้มแข็งในงานวิจัย โดยได้มีการสร้างความร่วมมือกันของสถาบันต่าง ๆ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์
  2. พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) : มุ่งเน้นเพื่อการเป็น ศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรม หรือ Smart Innovation Platform เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร
  3. พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) : มุ่งเน้นเพื่อให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสันทนาการ รองรับความเป็นอยู่ของนักวิจัยและครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่ทำงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ได้แก่ โรงเรียนนานาชาติโรงแรมและที่พักอาศัย ศูนย์การค้าและนันทนาการ

โดยในปัจจุบัน วังจันทร์วัลเลย์ ได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรียกได้ว่า วังจันทร์วัลเลย์ ถือเป็นอีกหนึ่งพลังผลักดันสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่ Smart City เพราะเป็นการทำให้เกิดการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ครอบคลุมทั้ง 7 ด้าน ตามหลักเกณฑ์การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ Smart City Thailand คือ

  • Smart Economy สร้างความเชื่อมโยง และความร่วมมือทางด้านธุรกิจและนวัตกรรม ทั้งในส่วนของภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะร่วมมือกันพัฒนาพื้นที่โครงการให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจ
  • Smart People สร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี โรงเรียนกำเนิดวิทย์ โรงเรียนนานาชาติ และศูนย์ฝึกอบรม Up-skill Re-skill รวมทั้งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการเรียนรู้อันนำไปสู่การยกระดับองค์ความรู้และขีดความสามารถของบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Smart Living ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัย บนพื้นฐานที่ออกแบบโดยถูกต้องตามหลักการ Smart Home และ Universal Design ซึ่งมุ่งเน้นที่ความปลอดภัยและการบริการอย่างเพียบพร้อม ทำให้ผู้คนมีความสุขในการใช้ชีวิต
  • Smart Environment มีการบริการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ และเป็นมิตรกับสภาวะแวดล้อม มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
  • Smart Mobility มีระบบขนส่งมวลชนและการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวก รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับระบบขนส่งสาธารณะ จึงได้จัดให้มีที่จดรถยนต์อัจฉริยะ และให้บริการรถประจำทางไฟฟ้า รวมถึงมีโครงข่ายเชื่อต่อกับทางเดิน ทางจักรยาน ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • Smart Energy ใช้พลังงานทดแทนทั้ง Solar Farm และ Solar Roof Top รวมถึงมีการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะด้วยโครงข่าย Smart Grid ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Smart Governance เชื่อมโยงหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ มีการให้บริการแบบ One Stop Service โดยประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ลดระยะเวลาในการติดต่อหน่วยงาน และสร้างความโปร่งใสของระบบงาน

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง (Data Center) และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ(Intelligent Operation Center : IOC) ซึ่งเป็นการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ทำให้สามารถที่จะบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล โดย IOC เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

www.matichon.co.th

0