Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกได้เผชิญกับภัยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และก่อให้เกิดกระแสการปรับตัวอย่างก้าวกระโดดในทุกแวดวงเทคโนโลยี เพื่อที่จะทำให้ผู้คนสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์อันจำกัดของการใช้ชีวิต และมีโจทย์ใหม่ ๆ ที่ต้องให้เฝ้าระวังภัยมากมาย
แม้ว่าโควิด-19 จะเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายได้ และอัตราการตายค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด แต่จุดอันตรายของของโควิด-19 คือเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกจะทะลุ 100 ล้านคนแน่นอน ดังนั้น มาตรการที่สำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้นคือการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด โดยการใส่หน้ากากทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ล้างมือบ่อย ๆ รักษาระยะห่าง ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดขึ้นในมาตรการดังกล่าว
เทคโนโลยีเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส
สิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็คือการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลและหลีกเลี่ยงการพบปะของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้นการเข้าคิวยาว ๆ รวมถึงการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ร่วมกันจึงเป็นสิ่งอ่อนไหวที่อาจจะก่อให้เกิดการส่งผ่านเชื้อโควิด-19 ให้แพร่ระบาดไปในวงกว้าง ดังนั้นเทคโนโลยีอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นระบบการทำงานด้วยพื้นฐานของการไม่สัมผัส เช่น ประตูที่เปิดปิดได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการใช้มือผลัก
หรือตู้ Kiosk ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ลดการพบปะกันของผู้คนได้ดี และลดการต่อแถวยาว ๆ ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ถึงกระนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุร่วมกัน ระบบการกดปุ่มเพื่อควบคุมตู้ Kiosk อาจจะต้องมีการเปลี่ยนไป เช่น การใช้สายตา หรือการตรวจจับท่าทางเพื่อควบคุม หรือเทคโนโลยีปุ่มกดที่เกิดขึ้นในประเทศจีน คือปุ่มกดลิฟท์แบบใหม่ ที่จะสร้างปุ่มเสมือนจริงลอยขึ้นมา โดยผู้ใช้งานไม่ต้องใช้นิ้วสัมผัสไปที่ปุ่ม จึงไม่มีการสัมผัสร่วมกัน และลดการแพร่ระบาดได้นั่นเอง
รวมถึงในสถานที่สาธารณะที่ค่อนข้างอ่อนไหวที่สุด คือในระบบขนส่งมวลชนที่อาจจะมีการสะสมของเชื้อโรคจำนวนมาก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบระบบที่มุ่งสู่แนวคิดเพื่อไร้การสัมผัส
กล้องวงจรปิดที่อาจเป็นมากกว่าเพื่อจับขโมย
เราจะเห็นได้ชัดว่าเดิมที่แล้วในส่วนของสถานที่สาธารณะจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่องานด้านการรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ทว่าเมื่อเกิดภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 บทบาทหน้าที่ของกล้องวงจรปิดได้ทวีความสำคัญขึ้นในอีกบทบาทหนึ่งก็คือการเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและวิเคราะห์ความหนาแน่นของคนในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญอันนอกเหนือไปจากเดิม
โดยสามารถที่จะประยุกต์แนวคิดนี้ได้ เช่น อาจจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดบนรถโดยสารสาธารณะ และเปิดให้ชมภาพสดผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นช่องทางในการตัดสินใจของผู้โดยสารว่าจะเลือกขึ้นรถประจำทางคันไหน เพราะจะเปรียบเทียบได้ว่าคันไหนมีผู้โดยสารน้อยกว่า หรือการเดินทางขึ้นรถไฟซึ่งมีทางเลือกให้ขึ้นได้หลายโบกี้ ผู้โดยสารสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะขึ้นโบกี้ใด โดยตัดสินใจจากภาพกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งบนขบวนรถไฟ
ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในโลกยุคหลังโควิด
อย่างที่ทราบกันดีว่าทั่วโลกต่างพยายามที่จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้สามารถควบคุมและหยุดยั้งการแพร่ระบาด และเมื่อพวกเราทำสำเร็จ โจทย์ต่อไปก็คือความท้าทายที่รออยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้
แน่นอนว่าธรรมชาติของมนุษย์ เราต้องการที่จะติดต่อสื่อสารกับคน มากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบอัตโนมัติ เพราะระบบอัตโนมัตินั้นจะทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีตัวแปรที่ผกผัน จนอาจกลายเป็นปัญหาและสร้างความไม่ประทับใจให้กับผู้ใช้บริการ
รวมถึงอีกประเด็นที่สำคัญก็คือปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ซึ่งการถูกจับตามองอยู่ตลอดเวลาผ่านกล้องวงจรปิด อาจจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น ในบางประเทศมีความเสี่ยงที่จะโน้มเอียงไปสู่ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ สีผิว เพราะบางคนอาจจะไม่เลือกที่จะขึ้นรถคันเดียวกับคนที่มีเชื้อชาติหรือสีผิวที่แตกต่างจากตนเอง
เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.ba.cmu.ac.th