บทความโดย CheChung Lin ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ด้านเทคนิคของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล
ภูมิทัศน์ของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อประมาณ 41.6 พันล้านเครื่องที่คาดว่าจะสร้างข้อมูล 79.4 เซตตะไบต์ (ZB) ในปี พ.ศ.2568 ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นโดยแอปพลิเคชันเฝ้าระวังวิดีโอ1 นอกเหนือจากปริมาณข้อมูลที่รวบรวมได้มากขึ้น แบนด์วิธที่เพิ่มขึ้นจึงใช้ในการจัดเก็บ 4K และอื่น ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจับข้อมูล เก็บ รักษา เข้าถึง และแปลงข้อมูลนี้ให้เข้ากับการเดินทาง ซึ่งไม่ใช่แค่ในศูนย์ข้อมูลคลาวด์ แต่รวมไปถึงเอดจ์ เซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoints) เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อมูล IoT และเปลี่ยนจาก วัตถุประสงค์ทั่วไปเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ ก่อนอื่นเรามาดูการเดินทางข้อมูล IoT กัน
การเดินทางของข้อมูล IoT ในระบบคลาวด์ เทคโนโลยีเอดจ์ และอุปกรณ์ปลายทาง
อันดับแรก ระบบคลาวด์ เป็นระบบที่ไดรฟ์ความจุสูงจะจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก (รวมไปถึงจากอุปกรณ์ IoT) สำหรับกรณีที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจรวมถึงการศึกษาจีโนม (Genomics research) การวิเคราะห์แบบกลุ่ม การสร้างแบบจำลองเชิงคาดการณ์ และการเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน ถัดไปคือ เอดจ์ ซึ่งเป็นที่ที่ข้อมูลมักถูกเก็บเอาไว้ในแบบกระจายหรือเก็บไว้ในเอดจ์ เซิร์ฟเวอร์สำหรับแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เช่น ยานพาหนะไร้คนขับ เกมที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมาการผลิต และการสตรีมวิดีโอความละเอียด 4K หรือ 8K และสุดท้ายคืออุปกรณ์ปลายทางที่ที่ข้อมูลถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องเชื่อมต่อ อุปกรณ์อัจฉริยะ และอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (wearables) โดยใช้เพื่อลดเวลาในการตอบสนองของเครือข่ายและเพิ่มปริมาณงานระหว่างเลเยอร์เหล่านี้ (cloud-to-edge, edge-to-endpoints) สำหรับกรณีที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก ระบบคลาวด์ของ 5G จะนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพโดยใช้คลื่น mmWave ระดับ 20-100 GHz เพื่อสร้าง “ทางด่วนข้อมูล” สำหรับเวลาแฝงและนวัตกรรมที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อแบนด์วิดท์
มาดูกันสิว่าข้อมูล IoT ของคุณมีค่าแค่ไหน
ต่อไปเรามาดูโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลกัน โดยโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญในโลกดิจิทัลของเรามาก เนื่องจากข้อมูลต้องถูกจัดเก็บและวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ดังนั้น สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลจึงต้องก้าวไปไกลกว่าการสร้างและการเปลี่ยนแปลงเพื่อค้นหาวิธีสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากข้อมูล และนี่คือตัวอย่างของวิธีการสร้างข้อมูล → การเปลี่ยนแปลง → การสร้างมูลค่า
ยานพาหนะขับขี่อัตโนมัติและยานยนต์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
อุปกรณ์ IoT ขนาดใหญ่เหล่านี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สร้างข้อมูลต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์ กล้อง ไลดาห์ (LIDAR) เรดาร์ และอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะสร้างข้อมูลสูงมากกว่า 2TB ต่อวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการขับขี่แบบเรียลไทม์โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น แผนที่ 3 มิติ ระบบคอยช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย (Advanced Driver Assistance Systems หรือ ADAS) การส่งข้อมูลบนอากาศ (Over-The-Air หรือ OTA) และการสื่อสารระหว่างยานพาหนะถึงสิ่งอื่น ๆ ทั่วไป (Vehicle-To-Everything หรือ V2X) นอกจากนี้ข้อมูล IoT ยังสร้างคุณค่าในระบบข้อมูลและความบันเทิงในรถยนต์ส่วนบุคคลและบริการในรถยนต์ที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้โดยสาร
อุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ
ภายในปี พ.ศ.2565 มีการคาดการณ์ว่าอุปกรณ์ Wearables จะถูกใช้งานมากกว่า 1 พันล้านเครื่องทั่วโลก เช่น การสร้างข้อมูลเพื่อติดตามรูปแบบการนอนหลับ วัดการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน และวัดระดับโภชนาการและออกซิเจนในเลือด2 ข้อมูล IoT นี้สามารถเปลี่ยนเป็นแนวโน้มรายวัน รายเดือน และรายปี ซึ่งจะระบุโอกาสในการปรับปรุงพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าวยังสามารถสร้างการรักษาแบบส่วนตัวและเชิงรุกได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสาธารณสุขทางไกล และการดูแลสุขภาพระยะไกลยังคงดำเนินต่อไป
ยกระดับคุณค่าของข้อมูล IoT
ความสามารถในการจับเก็บ รักษา เข้าถึง และเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ข้อมูล IoT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราได้สำรวจการใช้งานยอดนิยมของ IoT บางส่วนผ่านเลนส์นี้และให้รายละเอียดปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน IoT
มุ่งสู่สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์
ในหลาย ๆ ธุรกิจยังคงใช้สถาปัตยกรรมเพื่อใช้งานทั่วไปในการจัดการข้อมูล IoT แต่สถาปัตยกรรมการคำนวณที่ใช้งานทั่วไปไม่สามารถตอบสนองความต้องการของแอปพลิเคชัน IoT และปริมาณงานสำหรับผู้บริโภคและองค์กรได้อย่างเต็มที่ สถาปัตยกรรมข้อมูลที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ใช้อุปกรณ์ แพลตฟอร์ม ระบบ และโซลูชันที่เพิ่มมูลค่าของข้อมูลสำหรับการใช้งาน IoT แบบเรียลไทม์ โดยกลยุทธ์การจัดเก็บข้อมูลของคุณถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ IoT และเพื่อตอบคำถามเหล่านี้
การออกแบบเอดจ์ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยแบบอัจฉริยะ
การใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของภูมิทัศน์ข้อมูล IoT หมายถึง การย้ายจากที่จัดเก็บไปสู่การสร้างมูลค่าโดยใช้สถาปัตยกรรมข้อมูลที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ และการทำให้การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะเป็นจริง หมายถึง การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของคุณอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวพร้อมที่จะรองรับกล้องวิดีโอ AI ความละเอียดวิดีโอที่เพิ่มขึ้น ความคาดหวังในการเชื่อมต่อทุกเวลา และอื่น ๆ เช่นเดียวกับการรักษาความปลอดภัยอย่างชาญฉลาดที่กำลังพัฒนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้านหลังด้วยเช่นกัน
โดยสิ่งสำคัญคือ เมื่อคุณได้ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ คุณจะต้องใช้ประโยชน์จากโซลูชันที่ปรับให้เข้ากับความต้องการด้านความปลอดภัยที่ไม่เหมือนใคร กลุ่มผลิตภัณฑ์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีการจัดการสำหรับการเฝ้าระวังและเอดจ์ โซลูชันของวิดีโออัจฉริยะ จากเวสเทิร์น ดิจิตอลได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบประสิทธิภาพ ความจุ และความน่าเชื่อถือที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของโซลูชันการเฝ้าระวังในปัจจุบัน และระบบวิดีโออัจฉริยะโดย AI ในอนาคต
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มผลิตภัณฑ์พื้นที่เก็บข้อมูลการเฝ้าระวังของเวสเทิร์น ดิจิตอลได้ที่ http://www.wdc.com/edge-to-core
©2021 Western Digital Corporation หรือบริษัทในเครือ สงวนลิขสิทธิ์ Western Digital เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Western Digital Corporation หรือบริษัทในเครือในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เครื่องหมายอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่เกี่ยวข้อง
(1) Worldwide Global DataSphere IoT Device and Data Forecast, 2019-2023
(2) Cisco Visual Networking Index: Global Mobile Data Traffic Forecast update, 2017-2022
https://www.westerndigital.com/
บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
33 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel : +66(0) 2553-8888