AI สัญชาติไทยช่วยสู้ภัยจากไวรัสโควิดจากตัวช่วยแพทย์คัดกรองผู้ติดเชื้อในปอดที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และ ลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิผล

Share

Loading

ปัญญาประดิษฐ์ที่ตรวจจับปอดติดเชื้อจากภาพเอ็กซเรย์

แอพลิเคชันอินสเปคทรา ซีเอ็กซ์อาร์ คือระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยแพทย์ในการวินิฉัยความผิดปกติในทรวงอกจากภาพถ่ายเอกซเรย์ ที่พัฒนาโดยบริษัทเพอเซ็ปทราร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล วันนี้อินสเปคทราช่วยแพทย์ในหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ในการตรวจจับภาวะผิดปกติในทรวงอก รวมไปถึงการช่วยคัดกรองการติดเชื้อในปอดของผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานอินสเปคทราได้จากทุกแห่งทั่วประเทศ เพียงเปิดแอพลิเคชัน อัพโหลดภาพ ก็สามารถรอรับผลวินิจฉัยจากปัญญาประดิษฐ์ได้ พร้อมใช้งานแล้วทั่วไทย หรืออาจใช้บริการผ่านการติดตั้งในระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลหน้าด่านได้โดยไม่ต้องเพิ่มขั้นตอนการทำงาน สำหรับโรงพยาบาลหน้าด่านที่กำลังรับมือกับผู้ป่วยจำนวนมากที่มารับการตรวจ COVID-19 หรือโรงพยาบาลที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนามสามารถติดต่อเพอเซ็ปทราเพื่อขอรับบริการได้

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองอาการติดเชื้อในปอดของผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่หนักขึ้น เป็นระรอกที่ 3 และพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 นั้นมีอาการติดเชื้อในปอดมากขึ้นกว่าการระบาดในระรอกที่ 1 และ 2 ซึ่งส่งผลให้เกิดอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นหากมีผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 การตรวจเช็คอาการติดเชื้อในปอดได้อย่างรวดเร็วและให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลง

วิธีการคัดกรองการติดเชื้อในปอดนั้นสามารถทำได้ด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ด้วยจำนวนเครื่องถ่ายที่มีอยู่อย่างจำกัด ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ และต้นทุนการถ่ายภาพที่สูง ดังนั้นการถ่ายภาพรังสีทรวงอกจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้แทนได้เนื่องจากมีประสิทธิภาพการคัดกรองที่สูง รวดเร็ว ปลอดภัยแก่ ผู้ป่วย และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ อีกทั้งยังมีตัวช่วยที่สำคัญอย่าง AI ที่จะมาช่วยแพทย์ให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น และตรวจคัดกรองได้มีประสิทธิภาพ และพบอาการในช่วงเริ่มต้นได้ไวมากขึ้น

พิสูจน์ความแม่นยำด้วยภาพเอ็กซเรย์คนไทยกว่า 400,000 ภาพ

อินสเป็คทราถูกเทรนด้วยภาพเอกซเรย์จากทั่วโลกขนาด 1.5 ล้านภาพ และภาพจากโรงพยาบาลในเมืองไทยกว่า 400,000 ภาพ เราทดสอบความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ด้วยภาพจากโรงพยาบาลศิริราช และพบว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถตรวจพบสภาวะที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในภาพเอกซเรย์ปอด เช่น Lung Opacity, Nodule [1] ได้ด้วยความแม่นยำที่เทียบเท่ากับรังสีแพทย์

* ความแม่นยำใช้วิธีการวัดแบบ AUC หรือ Area under the Receiver Operating Characteristic Curve ซึ่งมีคะแนนเต็ม 1.0

เมื่อนำภาพปอดของผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีการคอนเฟิร์ม positive ด้วยวิธีการ PCR แล้ว จำนวนทั้งหมด 59 ภาพ จากผู้ป่วย 44 ราย มาใช้ในการทดสอบ ระบบอินสเป็คทราสามารถพบความผิดปกติในปอดของผู้ติดเชื้อทุกราย โดยปัญญาประดิษฐ์จะแจ้งเตือนสภาวะที่เกี่ยวข้องสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ดังที่แสดงในตารางข้างต้น ทำให้วินิจฉัยเบี้องต้นได้ว่ามีภาวะปอดอักเสบ

[1] Guan WJ, et al. N Engl J Med. 2020 Feb 28. doi: 10.1056/NEJMoa2002032

ตัวอย่างเคสที่ AI ตรวจพบของผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น ระบบอินสเปคทรายังมี Feature ในการตรวจจับตำแหน่งที่อาจจะมีความผิดปกติ แพทย์สามารถกดดูแผนภาพได้หลังจากที่อัพโหลดภาพ ภาพข้างล่างนี้แสดงตัวอย่าง heatmap ที่ปัญญาประดิษฐ์สร้างขึ้นเพื่อระบุตำแหน่งของสภาวะที่ผิดปกติ

Case Study 1 This patient has rt-PCR tested positive COVID-19 and CXR shows negative pneumonia on Day 3 after hospitalisation.

Case Study 1 The same patient was CXR performed again on Day 5 and found minimal development of opacity on the lower left lung.

Case Study 2 This patient had fever and two days of odynophagia later tested positive test for SARS-CoV-2 RNA. Her film suggests opacity in the right lower lope on the day she was hospitalized.

Case Study 3 This patient was rt-PCR tested positive with COVID-19. After 3 days of hospitalisation, his CXR presents opacity on the right upper lung area.

Case Study 4 This patient presented with cough and high fever and was positive for COVID-19 on PCR testing. His CXR shows patchy consolidations, mainly distributed in the right lung and left lower lung zone.

Case Study 5 This patient was rt-PCR tested with positive COVID-19. However, after 13 days in the hospital, her chest film presents no sign of lung infection.

แหล่งข้อมูล

https://inspectra.perceptra.tech/covid-19/?fbclid=IwAR0K4jPTKd-nB2L2mtsKggwQA5dBevBjNgxNyre9DqdCCgPPTvOV_vgh2uQ