ตามกระแส ‘พาสปอร์ตวัคซีน’ ทั่วโลก เครื่องมือสำคัญ ปลดล็อคเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

“การเดินทางทั้งในและระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไปตลอดกาล ต่อจากนี้ไป” คำกล่าวนี้ไม่ใช่แค่คำพูดลอยๆ ทว่า มีนัยสำคัญเพื่อสื่อสารว่าการเดินทางยุคนี้ นอกจากพาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน วีซ่าเพื่อขออนุญาตเข้าประเทศนั้นๆแล้ว ยังต้องมี พาสปอร์ตวัคซีน หรือ International vaccination certificate ที่ใช้ในการยืนยันว่าผู้เดินทางได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วติดตัวไปด้วย

เมื่อ พาสปอร์ตวัคซีน เป็นประเด็นที่ทุกประเทศต่างให้ความสนใจ นวัตกรทั่วโลกจึงกำลังพยายามคิดหาระบบพาสปอร์ตวัคซีนทั้งแบบกระดาษและแบบดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนสามารถพกติดตัวและแสดงข้อมูลได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งกว่าเดิม มาดูกันว่าตอนนี้ทั่วโลกมีพาสปอร์ตวัคซีนแบบไหนกันบ้าง

ทำความรู้จัก พาสปอร์ตวัคซีน จากประวัติศาสตร์โลก

ก่อนที่จะไปรีวิวพาสปอร์ตวัคซีนทั่วโลก รวมถึงอัปเดตกลไกการใช้พาสปอร์ตวัคซีนของไทย เรามีข้อมูลน่ารู้มาบอกกันก่อน เพราะเชื่อว่าหลายคนอาจคิดว่า ปรากฎการณ์การถือ พาสปอร์ตวัคซีน นี้ เป็นการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก แต่ในความเป็นจริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกรู้จักกับแนวคิดพาสปอร์ตวัคซีน

A yellow card issued by the International Refugee Organization at a German displaced-persons camp, 1951.Flickr/Chris Pawluk

เพราะองค์การอนามัยโลกเริ่มใช้พาสปอร์ตวัคซีนหรือที่เรียกว่า สมุดเล่มเหลือง (Yellow Card) มาตั้งแต่ปี 1969 สำหรับผู้ที่จะต้องฉีดวัคซีนไข้เหลืองหรือวัคซีนอื่นๆที่กำหนด ก่อนที่จะเดินทางเข้าประเทศบางประเทศ

ส่วนในประวัติศาสตร์โลก ถ้าจะกล่าวถึงการเกิดขึ้นของ พาสปอร์ตวัคซีน ต้องย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 ที่เกิดกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่า ผู้ที่เดินทางข้ามประเทศจำเป็นต้องใช้เอกสารที่เป็นหลักฐานแสดงว่าเขาได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดในสมัยนั้น นั่นคือ โรคไข้ทรพิษ หรือ Smallpox แล้ว

โดยเอกสารแสดงว่าผู้เดินทางได้ฉีดวัคซีนแล้วนั้น เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในทุกพรมแดน ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือระหว่างประเทศของ นิวยอร์ค อย่าง New York’s Ellis Island หรือ San Francisco’s Angel Island นอกจากนี้ยังรวมถึงที่พรมแดนของ สหรัฐอเมริกา กับแคนาดา หรือ แมกซิโก

หากอ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ El Paso ในปี 1910 จะมีการระบุชัดเจนว่าผู้เดินทางในยุคนั้น ต้องโชว์หนึ่งในสามหลักประกันนี้ นั่นคือ ใบรับรองว่าฉีดวัคซีน แถบสัญลักษณ์ที่แขน หรือรอยประทับที่รับรองว่าได้ผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษแล้ว

อย่างไรก็ดี การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษในช่วงเวลานั้น ไม่ได้ใช้วิธีฉีดด้วยเข็มฉีดยาเหมือนสมัยนี้ แต่เป็นการทำปฏิกริยากับผิวหนัง ให้เกิดเป็นตุ่มขึ้นมา เรียกว่าคล้ายกับการ ปลูกฝี ที่คนในสมัยก่อนคุ้นเคย

ในสมัยนั้น มีเรื่องบอกเล่ากันมาว่า บุคลากรสาธารณสุขของอเมริกาในยุคนั้น เมื่อจะตรวจสอบและเก็บข้อมูลเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของไข้ทรพิษ ก็มักจะเคาะประตูบ้าน เพื่อขอดูรอยการได้รับวัคซีนที่เป็นตุ่มขึ้นมาบนแขนของชาวอเมริกัน

แพทย์ชาวชิคาโกได้บันทึกไว้ในปี 1901 ว่า “การได้รับวัคซีนป้องกันโรค จำเป็นต้องสร้างเป็นกฎเกณฑ์เลยว่าตั้งแต่การสมัครเข้าเรียน หรือการใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับตราประทับลงในพาสปอร์ตให้ชัดเจนว่าฉีดวัคซีนแล้ว รวมถึง ผู้ที่มีตำแหน่งในบ้านเมือง ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์ ต่างต้องมีตราประทับรับรองว่าได้ฉีดวัคซีนแล้วทั้งสิ้นด้วย”

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่นั้นมา บนหน้าประวัติศาสตร์การสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ก็บันทึกลงไปว่าวิกฤตการระบาดของโรคไข้ทรพิษในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหลักฐานยืนยันในการฉีดวัคซีน หรือเป็นยุคแรกเริ่มของ พาสปอร์ตวัคซีน

ดังนั้น เช่นกันกับวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ ที่จำเป็นต้องมีหลักฐานยืนยันว่าประชากรโลกได้รับวัคซีนโควิด-19 กันแล้ว เพื่อปลดล็อคให้เศรษฐกิจโลกกลับมาและนำสู่จุดสิ้นสุดของวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้ให้ได้ในที่สุด

รีวิว พาสปอร์ตวัคซีน หลักฐานยืนยันการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องการ

จาก Facebook : NIA Academy ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “จับตามองความเคลื่อนไหว พาสปอร์ตวัคซีนทั่วโลก” ซึ่งได้รีวิวว่าตอนนี้ทั่วโลกมีพาสปอร์ตวัคซีนแบบไหนกันบ้าง

พาสปอร์ตวัคซีนแบบกระดาษ

ประชากรกว่าร้อยล้านคนทั่วโลกที่ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็มในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา จะได้รับเอกสารที่เป็นกระดาษหนึ่งใบเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรับวัคซีน สำหรับในบางประเทศพาสปอร์ตวัคซีนยังใช้เป็นเอกสารยืนยันสิทธิในการรับของสมนาคุณหรือโปรโมชั่นต่างๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับอาหารแจกฟรี ส่วนลดในการช้อปปิ้ง หรือแม้กระทั่งการชิงทุนการศึกษา

โดยเอกสารแบบกระดาษนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงได้ง่ายโดยเฉพาะกับประชาชนทั่วๆไป แต่แน่นอนว่าจุดอ่อนของพาสปอร์ตวัคซีนแบบกระดาษคือการบรรจุข้อมูลที่ทำได้ค่อนข้างจำกัด และปลอมแปลงได้ง่าย

นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดแบบฟอร์มเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกเหมือนสมุดเล่มเหลืองขององค์การอนามัยโลก ทำให้บัตรของแต่ละประเทศ หรือในบางกรณีประเทศเดียวกันแต่ต่างรัฐกัน มีหน้าตาแบบฟอร์มที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การตรวจสอบสถานะการข้ามรัฐหรือข้ามประเทศยังไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

Green Pass : อิสราเอล

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลเริ่มใช้ Green Pass สำหรับประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วรวมไปถึงผู้ที่เคยติดเชื้อและรักษาตัวจนหายแล้ว ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการเข้าร้านอาหาร สนามกีฬา สถานบันเทิงต่าง ๆ และแหล่งรวมตัวทางศาสนา

โดยผู้ที่ได้รับ Green Pass สามารถโชว์พาสปอร์ตผ่านแอปพลิเคชัน หรือดาวน์โหลด QR Code มาเก็บไว้ในมือถือ หรือใครที่ไม่สะดวกใช้สมาร์ทโฟนก็สามารถปริ๊นเป็นเอกสารที่มี QR Code ให้ร้านค้าแสกนได้เช่นกัน นอกจากนี้ผู้ที่มี Green Pass เมื่อกลับจากการเดินทางต่างประเทศแล้ว ยังได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องกักตัว 14 วันด้วย

Coronapas : เดนมาร์ก

สหภาพยุโรปมีแผนจะเปิดตัว Digital Green Pass ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน แต่นั่นก็อาจจะยังช้าไปสำหรับบางประเทศ ตัวอย่างเช่นประเทศเดนมาร์กที่ได้ออกตัวแซงหน้าประเทศอื่น ๆ ไปก่อนแล้ว ด้วยการประกาศใช้พาสปอร์ตวัคซีน Coranapas เป็นประเทศแรก

ทั้งนี้ ประชากรชาวเดนมาร์กที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือมีผลการตรวจเชื้อเป็นลบภายใน 72 ชั่วโมง หรือรักษาตัวหายจากการติดเชื้อภายใน 180 วัน จะได้รับพาสปอร์ตวัคซีนฉบับดิจิทัลนี้ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน หรือปริ๊นพาสปอร์ตออกมาจากเว็บไซต์

โดยในสัปดาห์แรกที่เปิดใช้งาน มีผู้เข้าใช้แอปและเว็บไซต์มากถึง 3.5 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่ราว 5.8 ล้านคน

ตามแผนของรัฐบาลของประเทศเดนมาร์ก ประชาชนที่มี Coronapas แล้ว จะสามารถนั่งทานอาหารในร้านอาหาร เข้าฟิตเนส สนามกีฬา และคอนเสิร์ตได้ รวมถึงธุรกิจภาคบริการอื่น ๆ ที่รัฐทยอยอนุญาตให้เปิดกิจการได้อีกครั้งก็จะให้บริการประชาชนกลุ่มที่มี Coronapas ก่อนเป็นกลุ่มแรก โดยระบบจะไม่เก็บข้อมูลว่าผู้ใช้แสกน QR Code ในร้านค้าไหนบ้าง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของประชาชน

VaccineGuard : เอสโตเนีย

เอสโตเนียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่สามารถรอ Digital Green Pass ของสหภาพยุโรปได้ และเริ่มใช้พาสปอร์ตวัคซีนของตัวเองตั้งแต่ 30 เมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับ Coronapas ของเดนมาร์กแล้ว VaccineGuard ของเอสโตเนียยังถือว่าใช้ได้ค่อนข้างจำกัด โดยยังไม่สามารถใช้จองโต๊ะในร้านอาหาร หรือเข้าสถานที่ทำกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวได้

ฟังก์ชั่นหลักของ VaccineGuard ณ ปัจจุบันนี้ จึงเป็นพาสปอร์ตวัคซีนสำหรับใช้ในการเดินทางด้วยเรือข้ามไปยังประเทศฟินแลนด์โดยเฉพาะ เนื่องจากประชากรของเอสโตเนียกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต้องเดินทางข้ามฝั่งไปทำงานที่ฟินแลนด์ โดยส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ที่เฮลซิงกิ เมืองหลวงของฟินแลนด์ในช่วงระหว่างสัปดาห์ และเดินทางกลับบ้านที่เอสโตเนียในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยเรือเฟอร์รี่

Excelsior Pass : นิวยอร์ก

ในขณะที่รัฐอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกายังใช้บัตรแบบกระดาษอยู่ นิวยอร์กได้เริ่มใช้พาสปอร์ตวัคซีนดิจิทัลควบคู่กันไปกับระบบเดิมตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีคนโหลดแอปไปแล้วกว่า 4 แสนคน

ประชาชนที่ฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 14 วัน หรือมีผลการตรวจหาเชื้อเป็นลบภายใน 3 วัน หรือตรวจแบบ Rapid Test ภายใน 6 ชั่วโมง จะได้รับ QR Code ผ่านทางแอปพลิเคชัน และสามารถปริ๊นเป็นเอกสารจากเว็บไซต์เพื่อนำมาติดตัวไว้ได้ เมื่อเข้ารับบริการตามห้างร้านต่างๆ ร้านค้าเหล่านั้นจะใช้แอป Excelsior Pass Scanner ในการแสกน QR Code ของลูกค้าก่อนเข้าใช้บริการ ซึ่งระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลเพียงแค่ชื่อ วันเกิด และเครื่องหมายถูกสีเขียวสำหรับยืนยันสถานะเท่านั้น โดยรัฐยืนยันว่าระบบจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ หรือติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานแต่อย่างใด

พาสปอร์ตวัคซีนของไทย เครื่องมือสำคัญ ปลดล็อคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21

“พาสปอร์ตวัคซีน เป็นความหวังหนึ่งที่จะบุกเบิกให้ธุรกิจท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลายคนฝันถึงวันได้ออกไปท่องโลกโดยมีพาสปอร์ตที่ต้องพกติดตัวตามปกติและอาจต้องพก “พาสปอร์ตวัคซีน” เพื่อยืนยันว่าได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว” นี่คือสาส์นที่ทาง ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว ททท. (TATIC) ตีพิมพ์ไว้ในบทความล่าสุด

จึงสรุปได้อีกครั้งว่า พาสปอร์ตวัคซีน อาจกลายเป็นความจำเป็นสำหรับการเดินทาง ช่วยปลดล็อคการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในศตวรรษที่ 21 ได้จริง หลังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง

ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่เอกสารประกาศของกรมควบคุมโรค เมื่อวันอังคารที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา เรื่องแบบหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ประกาศดังกล่าวระบุถึงเป็นหน้าตาหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือที่เรียกว่า พาสปอร์ตวัคซีน

โดยพาสปอร์ตวัคซีนจะมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งหน้าปกมีข้อความด้านบนสุดที่แปลเป็นไทยว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถัดลงมาเป็นตราครุฑ ตามด้วยข้อความระบุว่า หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 บรรทัดถัดมาเป็นกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อระบุหมายเลข ส่วนด้านล่างจะมีชื่อผู้ถือพาสปอร์ต หมายเลขพาสปอร์ตหรือหมายเลขบัตรประชาชน

ส่วนด้านในพาสปอร์ตจะมีใบรับรองการฉีดวัคซีน ที่ระบุรายละเอียดของการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่ 2 วันที่ฉีด ผู้ผลิต หมายเลขลังวัคซีน วันที่ออกใบอนุญาต ลายเซ็นเจ้าหน้าที่ และตราประทับ

เอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดของพาสปอร์ตวัคซีนหลายข้อ หนึ่งในนั้น ระบุว่า วัคซีนที่จะฉีดได้นั้นจะต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องในไทยหรือผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเท่านั้น ส่วนอีกข้อระบุว่าผู้ถือพาสปอร์ตอาจต้องระวังไม่ให้มีรอยขีดฆ่า แก้ไข หรือข้อความไม่สมบูรณ์ ด้วย

และล่าสุด เพจไทยรู้สู้โควิด ได้โพสต์เกี่ยวกับ วัคซีนพาสปอร์ตไทย ให้เห็นกันแล้ว ว่าสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารตัวนี้ จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในการขอรับพาสปอร์ตวัคซีน International Vaccination Certificate อย่างไรบ้าง โดยทางเว็บไซต์สาลิกา ได้รวบรวมข้อมูลเป็นอินโฟกราฟิกที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายมาบอกกันด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา
https://www.salika.co/2021/06/08/vaccine-passport-updated-for-21st-century/?fbclid=IwAR1G561iThHa6IV7b9TQN6_O23HXx5sN_-z3uqVEs1KE4SPb0ewxdM3pI0Y