จบทุกข้อสงสัย “รถยนต์ไฟฟ้า” ทุกประเภท เป็นเทคโนโลยีสีเขียว จริงหรือไม่?

Share

Loading

ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยคือ รถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้สะอาดหรือรักษ์โลกกว่าเครื่องยนต์ทั่วไปมากนัก เมื่อพิจารณาถึงการผลิตแบตเตอรี่ นี่จึงเป็นเหตุให้ สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการขนส่งที่สะอาดกำลังแก้ไขปัญหานี้ในสมุดปกขาว โดยพวกเขาแสดงให้เห็นว่าการปล่อยมลพิษตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์นั่งไฟฟ้าขนาดกลางนั้นต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินมากพอสมควร

ข้อโต้แย้งหนึ่งที่มักนำมาต่อต้านการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle; EV) คือการยืนยันว่ารถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้สะอาดกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในมากนัก เมื่อคำนึงถึงการผลิตแบตเตอรี่และการผลิตไฟฟ้า

เพื่อหักล้างกับข้อโต้แย้งนี้ สภาระหว่างประเทศว่าด้วยการขนส่งที่สะอาด (The International Council On Clean Transportation; ICCT) องค์กรเอกชนในยุโรป ที่เคลื่อนไหวสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ได้ตีพิมพ์สมุดปกขาวเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของเครื่องยนต์สันดาปและรถยนต์นั่งไฟฟ้า โดยคำนึงถึงการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์และแบตเตอรี่ การบำรุงรักษา การใช้เชื้อเพลิง และการผลิตเชื้อเพลิง/ไฟฟ้า ซึ่งผลการศึกษาพบว่ารถยนต์ไฟฟ้าลดการปล่อยมลพิษได้เป็นอย่างมาก แม้แต่ในประเทศที่การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน และเพิ่งจะนำระบบพลังงานไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนรถยนต์ ยังคงเพิ่งจะเริ่มต้นดำเนินการในระยะแรกก็ตาม

รถยนต์ไฟฟ้าช่วยลดการปล่อยมลพิษได้อย่างมาก

ตามข้อมูลที่แสดงไว้ในอินโฟกราฟิกข้างต้น พบว่าในปัจจุบันการปล่อยมลพิษตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์นั่งไฟฟ้าขนาดกลางที่จดทะเบียนนั้นต่ำกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินที่เทียบเคียงได้มาก โดยอัตราการลดการปล่อยมลพิษมีตั้งแต่ 19-34% ในอินเดีย 37-48% ในจีน 60-62% ในสหรัฐอเมริกา จนถึง 66-69% ในยุโรป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน และวิวัฒนาการตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้านั้น

นอกจากนี้ ในขณะที่การแยกคาร์บอนออกจากการผลิตพลังงานยังดำเนินต่อไป ช่องว่างการปล่อยมลพิษระหว่างรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV (Battery Electric Vehicle; BEV) และรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปคาดว่าจะกว้างขึ้นอย่างมากสำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนในปี 2573

ทั้งนี้ BEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว ไม่มีเครื่องยนต์แต่อย่างใด และใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในแบตเตอรี่ซึ่งมาจากการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น ทำให้ไม่มีการปลดปล่อยมลพิษและ CO2 จากรถยนต์โดยตรงดังนั้นรถยนต์ประเภทนี้จึงเป็นหมุดหมายหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษเลย (Zero Emission)

นอกจากนี้ ในสมุดปกขาวฉบับล่าสุดของ ICCT ยังแนะนำว่า การจดทะเบียนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปใหม่ควรจะยุติลงในกรอบเวลา 2573–2578 เมื่อพิจารณาจากอายุการใช้งานเฉลี่ยของรถยนต์ 15–18 ปี เฉพาะเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดคาร์บอนในบรรดารถยนต์ทั่วโลกได้ในระดับลึกภายในปี 2593 เท่านั้น ที่ควรจะได้รับการผลิตและจดทะเบียนภายในปี 2573-2578 พร้อมกันนี้ได้ชี้ว่า รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหมุนเวียนและไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen-เชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดแห่งอนาคต) ตามลำดับ เป็นเพียงสองเทคโนโลยีที่สามารถบรรลุการลดการปล่อยมลพิษในการขนส่งทางถนนทั่วโลกได้ นั่นคือบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement-ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี 2563) ขณะเดียวกัน รายงานนี้ยังพบว่าไฮบริดและไฮบริดปลั๊กอินสามารถใช้เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงในระหว่างการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนผ่านนี้ได้ แต่ไม่ได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็นจำนวนมากในระยะยาว

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/08/02/ev-real-green-tech/