แก้ปัญหาวิกฤต ‘การขนส่งสินค้าเกษตร’ ด้วยนวัตกรรม Cold Chain Logistics

Share

Loading

ด้วยวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาทวีความรุนแรงขึ้น รวมไปถึงไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปในพื้นที่ควบคุมสีแดงเข้มที่จำกัดการเดินทางเข้า-ออก ทำให้ธุรกิจขนส่งต้องเผชิญกับปัญหาการขนส่งพัสดุล่าช้า จนมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในแบรนด์ของผู้ให้บริการ คลังสินค้าและศูนย์กระจายพัสดุมีจำนวนพัสดุตกค้าง ไม่สามารถนำส่งถึงมือลูกค้าได้ ก่อให้เกิดปัญหาในระบบการขนส่งอย่างมาก โดยเฉพาะกับ การขนส่งสินค้าเกษตร หรือของสด

นี่เป็นเพียงตัวอย่าง วิกฤตการขนส่งสินค้า ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในปัญหาโลจิสติกส์ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ธุรกิจการขนส่งสะดุด ยิ่งในวันที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้า ยิ่งมีความจำเป็นอย่างมาก ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องคิดหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับวิกฤตนี้อย่างเร่งด่วน

จนกระทั่ง นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการงานขนส่งสำหรับรถบรรทุก และงานขนส่งแบบเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน NOSTRA LOGISTICS ePOD ระบบติดตามการขนส่งและโลจิสติกส์อัจฉริยะบนมือถือ ได้ให้ข้อมูลระบบการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถมาตอบโจทย์การรับมือกับปัญหา การขนส่งสินค้าเกษตร ลดความเสียหายของสินค้าระหว่างขั้นตอนการจัดส่งอย่างได้ผล

ยิ่งตลาดออนไลน์และตลาดสินค้าส่งออกโต Cold Chain Logistics ยิ่งตอบโจทย์ทุกภาคส่วนได้จริง

เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกันว่า Cold Chain Logistics คืออะไร วรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ พร้อมสั่งสมประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญมาตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ระบบแผนที่ หรือระบบภูมิสารสนเทศ GIS ตลอดจนมีโซลูชั่นที่ตอบรับทุกความต้องการทางธุรกิจ เช่น การเลือกพื้นที่ให้บริการและการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้ง (Site Selection) การใช้ GIS วางแผนด้านการขนส่ง (Logistic Solution) เป็นต้น

“จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าตั้งแต่ปี 2561 ธุรกิจ Cold Chain Logistics หรือ การขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในประเทศไทยมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 5% ของตลาดธุรกิจโลจิสติกส์ทั้งหมด”

“และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 8% หรือคิดเป็นมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมาจากการส่งออกสินค้าการเกษตร ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ตลาดมีความต้องการสูงขึ้น”

“บวกกับปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงและมีการสั่งสินค้าประเภทอาหารสดออนไลน์ให้จัดส่งถึงบ้านมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการขนส่งต้องปรับตัวหันมาให้บริการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics เพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด”

“เห็นได้จากตัวเลขของกรมการขนส่งทางบกรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารด้วยรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิมีจำนวนถึง 1,500 ราย และมีรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิจำนวน 9,800 คันทั่วประเทศ”

ได้เวลาพลิกปัญหา เป็นโอกาสรอดได้ด้วยนวัตกรรม

การบริการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Cold Chain Logistics มีบทบาทสำคัญอย่างมากกับสินค้าเกษตร เนื่องด้วยสินค้าประเภทนี้จำเป็นต้องมีเงื่อนไขการขนส่ง คือ

1 สินค้าต้องถูกขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภคภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อลดความเสียหายจากการขนส่ง

2 หีบห่อที่เหมาะสมในการขนส่ง เนื่องจากมีผลต่อคุณภาพสินค้า ช่วยลดความสูญเสียและการระเหยของน้ำ รวมทั้งลดอัตราการเน่าเสียได้อย่างมาก

3 การบริหารการกระจายสินค้าที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้ความเสียหายของสินค้าลดลง

แต่ทว่าที่ผ่านมา กลับพบตัวเลขประมาณการณ์การขนส่งแบบการควบคุมอุณหภูมิอยู่ในระดับต่ำไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับการขนส่งแบบปกติในประเทศ เนื่องจากการใช้รถขนส่งแบบการควบคุมอุณหภูมิ หรือ รถห้องเย็นนั้นยังมีจำนวนน้อย เพราะต้นทุนสูงกว่าการขนส่งปกติ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางที่สูงกว่าจากระบบการควบคุมอุณหภูมิและการซ่อมบำรุง

กอปรกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้การส่งสินค้าเข้าไปในพื้นที่ควบคุมสีแดงเข้มที่จำกัดการเดินทางเข้า-ออก ตามมาตรการล็อคดาวน์

ธุรกิจขนส่งจึงต้องประสบปัญหาการขนส่งพัสดุล่าช้า คลังสินค้าและศูนย์กระจายพัสดุมีจำนวนพัสดุตกค้าง ไม่สามารถนำส่งถึงมือลูกค้าได้ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะในการขนส่งของสด สินค้าทางการเกษตร อย่างชัดเจน

จากกรณีปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่หลายรายเริ่มปรับตัว โดยเพิ่มการลงทุนในการใช้รถห้องเย็นเพื่อเพิ่มการบริการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่สินค้าประเภทอาหารหรือสินค้าเกษตรเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ขนส่งสินค้าประเภทยาและเวชภัณฑ์ได้อีกด้วย

Cold Chain Logistics นวัตกรรมปลดล็อค การขนส่งสินค้าเกษตร ที่ธุรกิจขนส่งไทยต้องมี

การใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบ Cold Chain Logistics เช่น ระบบให้ความเย็นแบบประหยัดพลังงาน การใช้ระบบติดตามการขนส่ง และระบบการตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่ต้นทางจนถึงการส่งมอบสินค้า นับเป็นนวัตกรรมที่เป็นโซลูชั่น หรือทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตการขนส่งในช่วงนี้ได้อย่างตรงจุด

เพราะสามารถตรวจ ติดตาม และประเมินคุณภาพสินค้าได้ตลอดระยะเวลาการขนส่ง ช่วยลดความเสียหายของสินค้า ในขณะที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้เป็นอย่างมาก

โดยต้นแบบของผู้ให้บริการนวัตกรรมระบบ Cold Chain Logistics คือ NOSTRA LOGISTICS ที่ตระหนักถึงปัญหาระบบการขนส่งในทุกรูปแบบ จึงได้วางแผนพัฒนาเทคโนโลยีโซลูชันด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง เพื่อสนับสนุนการจัดการ Cold Chain Logistics

และด้วยโซลูชันของ NOSTRA LOGISTICS ที่มีเครื่องมือบริหารจัดการงานขนส่งและติดตามตำแหน่งด้วยอุปกรณ์กล่องจีพีเอส (GPS Tracking) หรือสามารถใช้ระบบติดตามจีพีเอสที่มีบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและติดตั้งแอปพลิเคชัน NOSTRA LOGISTCIS ePOD ระบบติดตามการขนส่งอัจฉริยะบนมือถือ สามารถวางแผนและกำหนดเส้นทางขนส่งสำหรับจุดส่งสินค้าจำนวนมากในแต่ละวันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ติดตามตรวจสอบตำแหน่งที่รถวิ่งหรือจอดอยู่อย่างแม่นยำ สนับสนุนการเชื่อมต่อเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆ ได้

เช่น อุณหภูมิภายในห้องเย็น ประตูรถ ฝาน้ำมัน ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถติดตั้งระบบตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มเติมได้ด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) เช่น กล้องวิดีโอในรถยนต์แบบออนไลน์ที่เรียกว่า MDVR (Mobile Digital Video Recorder) สำหรับบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างการขับรถขนส่งสินค้าไปยังปลายทาง จึงทำให้ผู้ให้บริการขนส่งสามารถส่งมอบสินค้าควบคุมอุณหภูมิถึงปลายทางได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่ผู้ประกอบการกำหนดได้เอง

สุดท้ายแล้ว จุดเด่นของการบริหารการขนส่งของ NOSTRA LOGISTICS ด้วยนวัตกรรม Cold Chain Logistics คือ

  • ควบคุมกระบวนการขนส่งได้ทุกขั้นตอน
  • เชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลงานขนส่งของลูกค้าผู้ใช้บริการระบบ ทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • บริหารคลังสินค้าและการกระจายสินค้าได้อย่างแม่นยำ
  • ลดความเสียหายและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ
  • ผู้ใช้บริการระบบนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลการขนส่งแบบออนไลน์ Real-time ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อการตรวจสอบสถานการณ์ขนส่ง วางแผนหรือปรับเปลี่ยนคำสั่งในงานขนส่ง ดูรายงานสรุป รวมถึงมีข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลงานขนส่งย้อนกลับ (Traceability)
  • เพิ่มมาตรฐานให้แก่ธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มความมั่นใจในการส่งมอบงานแก่ลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/08/10/cold-chain-logistics-solutions-in-crisis/