ตามไปดู SIRIUS Model ต้นแบบ “ศูนย์พัฒนาปัญญาเลิศ” (เด็ก Gifted)

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

การจัดการศึกษาในอดีต เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบของการสอนตามหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาทางวิชาการ หรือที่เรียกว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 20 หรือ Traditional Classroom

โดยในปัจจุบันได้มีแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงธรรมชาติ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และศักยภาพของผู้เรียน หรือที่รู้จักกันในชื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งไทยและต่างประเทศ

เพราะในบางครั้ง กระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบ Traditional Classroom หรือ Lecture-Based Learning อาจทำให้เกิดการมองข้ามเยาวชนที่มีศักยภาพและความสามารถพิเศษ หรือเด็ก Gifted โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ การขาดความต่อเนื่องด้านพัฒนาการของเยาวชนดังกล่าว

เยาวชนที่มีศักยภาพและความสามารถพิเศษ หรือเด็ก Gifted หมายถึง เด็กที่แสดงออกซึ่งความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน อาทิ วิทยาศาสตร์ สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษา การเป็นผู้นำ ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง ดนตรี กีฬา และความสามารถทางวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือหลายสาขา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีอายุระดับเดียวกัน และอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

บริบทดังกล่าว ตรงกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism ภายใต้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Piaget (1936) ที่ได้ทำการเชื่อมโยงกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism กับเด็กปัญญาเลิศ

Susan Pass (2004) กล่าวว่า ตามสถิติทั่วโลกมีเด็กปัญญาเลิศ (Gifted) หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษประมาณร้อยละ 5 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเด็กปัญญาเลิศมักมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเด็กปกติทั่วไปที่อยู่ในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด

เช่นเดียวกับ อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ (2551) ที่ได้ทำการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษของประเทศไทย โดยเฉลี่ยแล้วมีอยู่ไม่น้อยกว่าสถิติในประเทศอื่นๆ คือประมาณร้อยละ 3 มีแววที่จะเป็นเด็กอัจฉริยะในแต่ละสาขา แต่ไม่ได้ถูกค้นพบ

เพราะเด็กเหล่านี้จะอยู่รวมอยู่กับเด็กปกติกระจายอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ทุกโรงเรียนจะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ บางครั้งการค้นหาทำได้ยากและบางคนกว่าจะค้นพบได้ก็สายเกินไป

การจัดการศึกษาสำหรับเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษ จึงเป็นดัชนีบ่งชี้แนวโน้มการพัฒนาประเทศ

เห็นได้จาก การจัดการศึกษาสำหรับเยาวชนกลุ่มดังกล่าวในต่างประเทศ ที่ถือเป็นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูง โดยอานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมต่อไปก็คือคือเรื่องของสิทธิความเท่าเทียมและมนุษยธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป (อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2552)

สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และออสเตรเลีย

ที่พบว่า เด็กเหล่านี้จำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องเลิกเรียนกลางคัน เนื่องจากไม่สามารถอยู่ในระบบการศึกษาแบบชั้นเรียนทั่วไปได้ เพราะต้องเรียน ฟัง และอ่าน ในสิ่งที่ตนเองเข้าใจแล้ว (ทรรศนัย โกวิทยากร, 2551)

นอกจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และออสเตรเลียแล้ว จากงานวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (เฉลียวศรี พิบูลชล, 2551) ยังพบว่า มีประเทศอื่นๆ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษ

อาทิ เยอรมนี สิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน เวียดนาม และรัสเซีย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เมือง Sochi ประเทศรัสเซีย ได้มีการจัดตั้ง SIRIUS Educational Center ขึ้น เพื่อคัดกรอง พัฒนา และสนับสนุนความเชี่ยวชาญของเด็กที่มีความสามารถพิเศษใน 3 ด้านคือ

  • 1 ศิลปะ ประกอบด้วยดนตรี ได้แก่ เปียโน เครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องตี การออกแบบและกำกับท่า ได้แก่ บัลเลต์ และนาฏศิลป์ และการวาดภาพ
  • 2 กีฬา ประกอบด้วยฟิกเกอร์สเก็ต ฮ็อกกี้น้ำแข็ง และหมากรุก
  • 3 วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา (อ้างอิงจาก จอมหทยาสนิท พงษ์เสฐียร, 2559)

SIRIUS Educational Center หรือศูนย์พัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยงบประมาณสนับสนุนของกองทุนการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ หรือ Talented and Success Educational Fund ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557)

โดยความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักกีฬา และศิลปินสาขาต่างๆ ของรัสเซีย โดยมีประธานาธิบดีวลาดิเมีย ปูตินเป็นประธาน

SIRIUS ได้ทำการคัดเลือกเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-17 ปีจากทั่วประเทศจำนวน 600 คน โดยแบ่งเป็นศิลปะ 200 คน กีฬา 200 คน และวิทยาศาสตร์ 200 คน

เพื่อเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ 24 วัน โดยคุณครู โค้ช และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทั้งในและต่างประเทศจำนวน 100 คน

ภายใน 24 วันที่เด็กและเยาวชนอยู่ในค่าย SIRIUS นอกจากจะได้รับการพัฒนาศักยภาพตามสาขาที่แต่ละคนถนัดแล้ว

ยังจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะในอีก 2 สาขาที่เหลือจนครบโปรแกรม โดยเมื่อสิ้นสุดค่าย เด็กและเยาวชนทั้ง 600 คนจะผ่านขั้นตอนการเรียนรู้ครบทั้ง 3 ด้านดังกล่าว

และนอกจากจะที่เด็กๆ จะได้เข้ารับการอบรมตามตารางสอนที่เคร่งครัดในแต่ละวันแล้ว เด็กและเยาวชนในค่ายยังได้รับการสนับสนุนด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียนและได้รับการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในค่ายอย่างเต็มที่

ซึ่งนอกจากที่พักหรูระดับโรงแรม 5 ดาวและห้องพยาบาลแล้ว SIRIUS Educational Center มีห้องสมุด ศูนย์ ICT โรงอาหาร สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล วอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล เทนนิส แบดมินตัน ลานสเก็ตน้ำแข็ง ห้องหมากรุก โรงภาพยนตร์ ไปจนกระทั่งถึงคอฟฟี่ช็อป ไนท์คลับ สปา และโปรแกรมทัวร์เมือง Sochi

จึงกล่าวได้ว่า SIRIUS สามารถเป็นต้นแบบสำคัญอันหนึ่งในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพและศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษเชิงบูรณาการ หรือศูนย์พัฒนาปัญญาเลิศ (Gifted Center) ได้เป็นอย่างดีนั่นเองครับ

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/09/08/sirius-model-gifted-center/