Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ย้อนกลับไปปี 2019 มีข่าวดังว่า นักวิชาการด้านดนตรี และ นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เตรียมนำบทเพลงในตำนานอย่าง ‘ซิมโฟนีหมายเลข 10’ ของ ‘บีโธเฟน’ มาแต่งต่อให้เสร็จสมบูรณ์ โดยจะใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาช่วยประพันธ์ด้วย ล่าสุดมีการประกาศว่า บทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 10 หรืบทเพลงซิมโฟนีที่ 10 ของบีโธเฟนนี้ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ย้อนกลับไปยาว ๆ อีกในปี 1817 ทาง Royal Philharmonic Society ณ กรุงลอนดอน ได้มอบหมายให้บีโธเฟน แต่งบทเพลงซิมโฟนีที่ 9 และ 10 ออกมา ในครั้งนั้นบีโธเฟน ได้แต่งซิมโฟนีที่ 9 จนสำเร็จ ซึ่งก็จบลงด้วยเพลงคุ้นหูอย่าง “Ode to Joy” นี้เอง ทว่าตอนนั้นบีโธเฟนมีสุขภาพทรุดโทรมมาก จนสุดท้ายได้เสียชีวิตในปี 1827 ก่อนที่จะได้แต่งซิมโฟนีที่ 10 จนจบ เหลือไว้เพียงภาพร่างตัวโน้ตที่กระจัดกระจาย
ตั้งแต่นั้นมา เพลงซิมโฟนีที่ 10 ของบีโธเฟน จึงกลายเป็นเหมือนตำนานที่ขาดหาย เนื่องจากไม่มีใครสามารถสานต่อเพลงบทนี้ได้เหมือนกับบีโธเฟนอีกแล้ว กระทั่งเข้าสู่ช่วงครบรอบ 250 ปี เพื่อระลึกถึงการจากไป จึงได้มีการร่วมมือกันระหว่างสถาบัน Karajan กับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก AI Startup Playform ที่นำโดย Ahmed Elgammal
ทางทีมงานได้ใช้เวลากว่าสองปี ในการฝึก AI ให้เรียนรู้งานดนตรีของบีโธเฟน ทั้งวิธีการแต่งเพลง กับศึกษาตัวโน้ตจากบทเพลงซิมโฟนีที่ 10 ที่ถูกทิ้งเอาไว้ รวมถึงได้คีตกวีและนักเปียโนชื่อดังมาร่วมสอนด้วย ในฝั่งมนุษย์เอง ก็ต้องคอยศึกษว่า ภาพสเก็ตช์ตัวโน้ตของซิมโฟนีที่ 10 บีโธเฟนมีเจตนากับผลงานชิ้นนี้อย่างไร
งานสำคัญของ AI คือ การหาวิธีเติม ‘ช่องว่าง’ โดยต้องอาศัยข้อมูลจากท่วงทำนองสั้น ๆ จากตัวโน้ตไม่กี่ตัว มาขยายเป็นโครงสร้างที่ยาวขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้น ในส่วนนี้ก็มีการอาศัยการเรียนรู้จากบทเพลงซิมโฟนีที่ 5 ของบีโธเฟน พร้อมกับเข้าใจรูปแบบดนตรีต่าง ๆ อย่าง Scherzo, Trio หรือ Fugue ไปด้วย และเรียนรู้วิธีเชื่อมโยงเพลงสองส่วนเข้าด้วยกัน กำหนดได้ว่าเครื่องดนตรีใดจะเล่นในส่วนใดบ้าง
วันเวลาผ่านไป ทีมงานก็สามารถสาธิตผลงานจาก AI ครั้งนี้ต่อหน้านักวิชาการด้านดนตรี ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับบีโธเฟน และนักข่าวได้ จนในที่สุดก็ได้ผลการทดสอบ ที่เพียงพอต่อการเล่นบทเพลงซิมโฟนีที่ 10 ขอบีโธเฟนแล้ว โดยมีนักวิชาการด้านดนตรียังตกตะลึง ถึงขนาดไม่สามารถบอกได้ว่า AI เป็นผู้แต่งส่วนใด แต่ยกเว้นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับเบโธเฟน (หรือแฟนพันธ์แท้) ที่ยังพอแยกแยะได้อยู่
ท้ายนี้บทเพลงบทเพลงซิมโฟนีที่ 10 ของบีโธเฟนที่ถูกสานต่อนี้ จะมีการจัดวงแสดงสดในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ด้วย โดยจัด ณ เมือง Bonn ประเทศเยอรมนี บ้านเกิดของ Ludwig van Beethoven หรือ ‘บีโธเฟน’ คีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมันชื่อดังของโลกนี้เอง
แหล่งข้อมูล
https://www.techhub.in.th/completed-beethoven-tenth-symphony-by-machine-learning/