ปกติ Crypto Currency จะมีจุดเด่นที่เหมือนกันแทบทุกตัว คือ อาศัยเทคโนโลยี Blockchain และเป็น Decentralized คือ ไร้คนกลางมาควบคุม ซึ่งเป็นคนละขั้วสกุลเงินประเทศต่าง ๆ ในโลก
คำว่ามีคนกลางมาควบคุม นั้นแปลว่าที่จริงแล้วเงินนั้น ไม่ใช่เงินของเรา เพราะ
A คนกลางสามารถกำหนดข้อห้ามหรือเงื่อนไข หรือกฎหมาย ในการโอนโยกย้ายเงิน เช่น ถ้าเกินยอดเท่านี้ต้องชี้แจง หรือ มีขั้นตอน มีระเบียบในการโอนข้ามสกุลหรือข้ามประเทศ
B ถ้าธนาคารที่เราฝากเงินไว้ เจ๊งไป เงินเราก็สูญ
C ถ้าประเทศเจ้าของสกุลเงินล้มละลาย เงินสกุลนั้น (และเงินเรา) ก็ไร้ค่า
D คนกลางนั้น (ธนาคาร หรือ รัฐบาล) อาจจะอายัดบัญชีเราเมื่อไหร่ก็ได้ (เงินอยู่ในมือเขา)
E หากเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ ค่าเงินก็ตกต่ำ ทั้ง ๆ ที่เราก็ทำงานหนักเท่าเดิม ฉลาดเท่าเดิม
F และอีกหลายอย่าง ๆ ที่เป็นเงื่อนไข ข้อจำกัด ฯลฯ
ที่ทราบจากสื่อ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสร้างบาทคอยน์ ให้อิงบนพื้นฐาน Blockchain
แต่แน่นอนว่าเขาจะเลือกแนวทาง Centralized คือ ธนาคารกลางมาควบคุม (มากกว่าจะเลือก Decentralized)
ถ้าเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ผมเห็นว่าจะพอเป็นประโยชน์ (เพิ่มเติมจากที่ทราบจากสื่อทั่วไป) ในการนำ “บาทคอยน์” ไปปรับใช้ มีดังนี้
1 เงินงบประมาณแผ่นดิน ให้แจกจ่ายจากสำนักงบประมาณ/กรมบัญชีกลาง ออกไปยังหน่วยราชการต่าง ๆ ในรูปของบาทคอยน์
2 การจ่ายเงินจัดซื้อจัดจ้างจากโครงการของรัฐ การจ่ายเงินเดือน การจ่ายสวัสดิการ ให้จ่ายเป็นบาทคอยน์ และแน่นอนว่า เอกชน และ ข้าราชการ ต้องมีกระเป๋าเงินดิจิทัล มาเก็บบาทคอยน์
3 ให้สร้าง Blockchain nodes ไว้หลายแห่ง เช่น กระทรวงละ 1 โหนด (เป็นอย่างน้อย) เพื่อป้องกันการโจมตี ไม่ควรอยู๋ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลคนเดียว หรือ แค่กระจายไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์เพียง 2-3 ก็ยังไม่พอ
4 นำข้อดีของ Decentralized เข้ามาผสม โดยส่งเสริมและอนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าร่วมตั้ง Blockchain node ของ บาทคอยน์
5 ให้มี Blockchain layer 2 ของ บาทคอยน์ เพื่อให้ทำธุรกรรมได้รวดเร็ว แบบเดียวกับ Lighting Network ของ Bitcoin (เขาเพิ่งอัพเกรด) เป็นต้น
6 ธุรกรรมทั้งหมด ให้บันทึกลงใน Blockchain ของ บาทคอยน์ กระจายสำเนาอยู่ทุกโหนด และสามารถตรวจสอบเรียกดูรายการใช้จ่ายได้หมด
7 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชน สาธารณะชน สามารถเขียนโปรแกรมเข้ามาเรียกสรุปดูรายการใช้จ่ายภาครัฐได้ตลอดเวลาแบบ real-time
สามารถทราบบัญชีกระแสเงินสด รายรับจ่าย ได้ตลอดเวลา
8 ใช้บาทคอยน์เป็นช่องทางจ่ายเงินสู่กระเป๋าเงินของประชาชน และ ผู้ประกอบการ ที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ เยียวยาด้านต่าง ๆ
9 และแน่นอนว่า ก็ต้องขอความยินยอม ให้ภาครัฐสามารถตรวจติดตาม สถานะด้านการเงิน ของท่าน เพื่อให้ภาครัฐเขาประเมินได้ว่าใครจำเป็น หรือ ไม่จำเป็น ต้องได้รับสวัสดิการ หรือ การเยียวยานั้น ๆ
หากนำการเบิกจ่ายงบประมาณ ไปอยู่บน Blockchain ทั้งหมด ก็เป็นประโยชน์ที่ผมพอจะเห็นได้บ้าง (อาจมีมากกว่านี้)
แต่คิดไปคิดมา มันยากและต้องลงทุนมหาศาลจริง ๆ หากจะทำ Centralized Bahtcoin !! ไม่อย่างนั้น มันก็จะไม่มั่นคง และถูกโจมตีได้ง่าย
หากเอาเรื่อง supply ของเงินไปทำ Blockchain แบบ Centralized มันฝืนธรรมชาติ ผู้รู้ หากเห็นต่าง หรือ รู้ละเอียดกว่าผม แนะนำได้นะครับ
แต่ถ้า บาทคอยน์ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้ Blockchain
มันก็จะกลับไปเหมือนรูปแบบเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น eMoney หรือ โอนเงินกันธรรมดาผ่าน Prompt Pay
หมายเหตุ ผมไม่ได้เป็นผู้เกี่ยวข้องวงใน (หรือวงนอก) ใด ๆ กับเงินบาทดิจิทัล ไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกใด ๆ จากคนของธนาคารแห่งประเทศ หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น
ที่เสนอ หรือ เขียนมาทั้งหมด จะเรียกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว วิสัยทัศน์ส่วนตัว หรือ อะไรก็ได้ ท่านพิจารณาสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปปรับใช้ หรือ ขบคิด ก็แล้วกัน
แหล่งข้อมูล
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5113512521995679&id=100000109451445&sfnsn=mo