ขยะพลาสติกในทะเลลอยไปไหน? นักวิจัยในยุโรปหลายกลุ่มเร่งศึกษาพัฒนา การตรวจจับการเดินทางของขยะทะเลด้วยดาวเทียม

Share

Loading

มีการคาดการณ์ว่ามีขยะพลาสติกมากถึง 10 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลทุกปี หรือเทียบเท่ากับการทิ้งขยะพลาสติกปริมาณหนึ่งรถบรรทุกลงทะเลทุกนาที ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่มีใครรู้ว่าขยะเหล่านี้จะลอยไปที่ไหนและจะไปจบอยู่ที่ใด แต่หากว่าเราสามารถติดตามขยะเหล่านี้ด้วยดาวเทียมได้ล่ะ?

นี่คือคำถามที่นักวิจัยหลายกลุ่มจากยุโรปมี ซึ่งทางสถาบันวิจัย Deltares ในเนเธอร์แลนด์ก็ได้มีการเปิด Atlantic Basin Facility สระน้ำขนาด 650 ตารางเมตร ที่มีเครื่องทำคลื่นใต้น้ำที่จะสร้างคลื่นน้ำลึกเสมือนจริง ให้กลุ่มนักวิจัยภายใต้ Open Space Innovation Platform (OSIP) ได้มาทำการทดลอง และพัฒนาวิธีใช้ดาวเทียมในการติดตามขยะพลาสติก

ซึ่งพวกเขาก็ได้มีการใช้ขยะหลากหลายชนิด อย่าง ขวดน้ำ ถุง และก้นบุหรี่ ที่ถูกเก็บมาจากทะเลเพื่อเพิ่มความสมจริงในการศึกษาการกระจายตัวของขยะ และเริ่มจากการทดลองให้ขยะลอยไปโดยไม่มีคลื่น ก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มความแรงของคลื่น

โดยกลุ่มนักวิจัยจากสกอตแลนด์ได้ทดลองวิธีสำรวจจากระยะไกล (remote sensing) ในขณะที่กลุ่มจากสเปนเลือกใช้การตรวจจับสัญญาณการสะท้อน (GNSS reflectometry) และกลุ่มวิจัยร่วมจากแคนาดา และเนเธอร์แลนด์เลือกใช้วิธีการคำนวนทางฟิสิกส์แทน

“ตอนนี้เรากำลังประมวลข้อมูลที่ได้มาอยู่ ซึ่งมันดูดีทีเดียวเลย” Peter de Maagt วิศวกรที่ดูแลโครงการเผยพร้อมกล่าวเสริม “แต่เรายังต้องทำการวิเคราะห์ผลอีกเยอะ เราหวังว่าจะใช้เวลาที่เหลือในการเสาะหาว่าเรายังขาดข้อมูลอะไรอีกบ้าง”

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/1523107561151019/posts/4205352352926513/