จะเป็นอย่างไร ถ้าเราไปไม่ถึง Net Zero? ชวนอ่านเรื่องผลกระทบจากวิกฤตภูมิอากาศที่ไม่ใช่แค่ ‘อากาศร้อน’

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ตอนนี้ เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงได้ยินคำว่า ‘Net Zero’ ‘ลดโลกร้อน’ และคำว่า ‘เป้าหมาย’ กันบ่อยมาก ๆ เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงของการประชุม COP26 หรือการประชุมที่ผู้นำทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และงานนี้ก็มีความสำคัญกับการคงอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสอีกด้วย

ซึ่ง Net Zero (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ก็คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลง รวมถึงการกำจัดส่วนที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศไปแล้วเพื่อสร้างสมดุลให้แก่สภาพภูมิอากาศของโลกเรา โดยไทยเองก็เพิ่งมีการขยับเป้าหมายนี้เข้ามาอยู่ภายในปี 2065 (จากเดิมที่มีการประกาศว่าจะเป็น Net zero ภายในครึ่งหลังของศตวรรษ) แต่จะเป็นอย่างไร หากโลกเราไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้? วันนี้ เราอยากชวนคุณมาร่วมหาคำตอบของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวันที่เราไม่สามารถคุมค่าอุณหภูมิเฉลี่ยไว้ได้อีกต่อไป

อุณหภูมิเปลี่ยน โลกเปลี่ยน

แน่นอนว่าหากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มขึ้น หลาย ๆ ประเทศก็จะต้องพบเจอกับวันที่ร้อนกว่าเดิม แต่บางประเทศ (โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น) ก็อาจได้รับผลกระทบหนักกว่าประเทศอื่น ๆ และอาจจะต้องเผชิญกับจำนวนวันร้อน ๆ มากกว่าที่เคยมีมา ซึ่งหากอุณหภูมิของโลกเพิ่มมาอีก 1.5 องศาเซลเซียส ผู้คนกว่า 14% อาจต้องพบเจอกับคลื่นความร้อนสุดขั้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงเวลา 5 ปี

ซึ่งในปีนี้ หลายคนก็คงได้ยินข่าวที่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความร้อน และอุณหภูมิที่สูงทุบสถิติเดิม ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ แถมยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราอีกด้วย นอกจากนี้ อากาศที่ร้อนและแห้งขึ้นจะทำให้หลายพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดแคลนน้ำและภัยแล้ง ที่มีความเชื่อมโยงกับเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร

นอกจากนี้ งานศึกษายังระบุว่า หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นมาอีก 2 องศาเซลเซียส หลาย ๆ พื้นที่รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อาจจะต้องเผชิญกับพายุฝนที่จะเกิดบ่อยขึ้นและมีความรุนแรงมากกว่าเดิม รวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของธารน้ำแข็งและการขยายตัวของมวลน้ำ ซึ่งจะทำให้หลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศหมู่เกาะ อย่าง วานูอาตู คิริบาส ตูวาลูได้รับความเสี่ยงสูงทั้ง ๆ ที่ปล่อยคาร์บอนออกมาเพียงน้อยนิด ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) คาดการณ์ว่าภายใน 50 – 100 ปีนี้ ประเทศตูวาลูก็อาจจมหายไปทั้งประเทศ

ผลกระทบที่ไม่ใช่แค่เราที่รู้สึก

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวที่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เพราะมีสัตว์หลายชนิดที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติที่เราก่อ เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลกระทบต่อการอพยพ และการขยายพันธุ์ของผีเสื้อโมนาร์ช ซึ่งเป็นผีเสื้อที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก ๆ หรือแม้แต่อุณหภูมิน้ำที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถทำให้ตัวอ่อนของฉลาม Epaulette ใน Great Barrier Reef ฟักออกมาก่อนกำหนด และมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลง

นอกจากนี้ สัตว์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำเพาะเจาะจงก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะหากเราเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบที่ร้อน เราก็จะต้องกระเถิบไปอยู่ในพื้นที่อื่น กลายเป็นว่าถิ่นที่เราสามารถอยู่อาศัยได้นั้นแคบลงกว่าเดิม และนี่คืออีกหนึ่งปัญหาใหญ่ในทะเล เพราะว่าน้ำที่อุ่นขึ้นจะกักเก็บออกซิเจนได้น้อยลง จนทำให้เกิดโซนน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ หรือแทบจะไม่มีอยู่เลย (Hypoxia zone) และจะส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตของสัตว์ทะเล หากพวกมันไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

อีกสิ่งหนึ่งที่เราอาจไม่คาดคิดมาก่อนก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น สามารถเป็นตัวเร่งให้สัตว์รุกรานต่างถิ่น (invasive species) สามารถแพร่กระจายได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ต้น Purple Loosestrife พืชรุกรานในอเมริกา ที่มีฤดูกาลเติบโตที่ยาวนานขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ซึ่งพืชชนิดนี้เติบโตเร็วมาก ๆ จนเริ่มรุกราน และแย่งทรัพยากรรวมถึงที่อยู่อาศัยของพืชพื้นถิ่นที่ปรับตัวได้ช้ากว่า จนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบนิเวศในที่สุด

แน่นอนว่าผลกระทบหลาย ๆ อย่างที่เราได้กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของสิ่งที่อาจเกิดขึ้น หรือกำลังเกิดขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือจริง ๆ แล้วผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีจุดเริ่มต้นมาจากกิจกรรมของมนุษย์ กลับมีความเชื่อมโยงกับทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ในแบบที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน ดังนั้น สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ การลดก๊าซเรือนกระจกลง เพราะตอนนี้ มันไม่ใช่สิ่งที่เราควรทำอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำเพื่อรักษาโลกใบเดียวที่พวกเรามีอยู่

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/1523107561151019/posts/4218340894960992/