AI อาจจะทำให้โลกในอนาคตไร้การโกหก

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

การโกหก ถือเป็นวิธีการหลักของเหล่ามิจฉาชีพ ในการที่จะปฏิบัติการบางอย่าง ซึ่งแน่นอนว่าหากเราไม่รู้ว่ากำลังถูกโกหกอยู่ อัตราความไม่ปลอดภัยของเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ว่าในเชิงจิตวิทยา จะมีเทคนิคทางจิตวิทยามากมายเพื่อใช้ในการจับพิรุธคนโกหก รวมไปถึงยังมีเครื่องมือจับเท็จที่ถูกนำเอามาใช้ควบคู่กัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าวิธีการเหล่านี้ยังไม่ได้มีความแม่นยำมากพอ โดยเฉพาะในงานระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องการความแม่นยำแบบเต็มร้อย การประเมินสถานการณ์ผิดพลาดถือเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้

ดังนั้น การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์สำหรับการ “จับโกหก” ก็จะยังคงไม่หยุดนิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ความหวังในการจับโกหกที่มีความแม่นยำอาจจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในไม่ช้านี้

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

AI ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ และจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีการนำเอา AI มาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความ ซึ่งการเกิดขึ้นของ AI ถือเป็นการยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (TAU) ของ อิสราเอล ระบุว่า คณะนักวิจัยชาวอิสราเอลได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รูปแบบใหม่ ที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนากล้องและซอฟต์แวร์ที่จะช่วยตรวจจับการโกหกในหลาย ๆ สถานการณ์

โดยทางมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ เปิดเผยว่า…คณะนักวิจัยใช้เทคโนโลยีตัวใหม่นี้ตรวจจับการโกหกของผู้เข้าร่วมการทดลอง ได้แม่นยำสูงถึงร้อยละ 73 โดยมีผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงบนวารสาร เบรน แอนด์ บีเฮฟวีเออร์ (Brain and Behavior) ว่า คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สามารถแบ่งพฤติกรรมเวลาที่คนโกหกออกเป็น 2 กลุ่ม

คนกลุ่มแรกจะขยับกล้ามเนื้อแก้มเมื่อโกหก ส่วนกลุ่มที่สองจะขยับคิ้วในเวลาที่เขาโกหก ซึ่งจากการศึกษานี้จะใช้นวัตกรรมการพิมพ์สติกเกอร์บนพื้นผิวอ่อนนุ่มซึ่งมีขั้วไฟฟ้า โดยเป็นนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ในการตรวจสอบและวัดความเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท

การทดลองจับพฤติกรรมบนใบหน้า

ด้วยสมมุติฐานที่ว่า “กล้ามเนื้อบนใบหน้าจะบิดตัวเมื่อเราโกหก” ดังนั้น ทีมวิจัยจึงได้มีการติดสติกเกอร์แผงวงจรเอาไว้ที่แก้มและคิ้วของผู้ทดลองจำนวนหนึ่ง และให้พวกเขานั่งตรงข้ามกันในขณะที่สนทนากัน พวกเขาสามารถพูดทั้งความจริงและเรื่องโกหกได้

ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามจะต้องพยายามจับโกหกของอีกฝ่ายซึ่งถือเป็นเรื่องยากลำบากมาก ในขณะที่สัญญาณไฟฟ้าบนแผงวงจรที่ติดอยู่บนใบหน้าสามารถจับโกหกได้ดีกว่าในอัตราที่สูงถึง 73% ทีมนักวิจัยกำลังทำงานเพื่อพัฒนาแผงวงจรไฟฟ้าและอัลกอริธึม AI เพื่อตรวจจับการหดตัวของกล้ามเนื้อให้ดียิ่งขึ้น และในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องใช้ตัวนำไฟฟ้าต่อไป

แต่จะใช้เพียงซอฟต์แวร์วิดีโอที่สามารถตรวจจับการโกหกจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็จะถูกนำมาปรับใช้กับกล้องคุณภาพสูง หรือแว่นตาอัจฉริยะ ร่วมกับการวิเคราะห์ประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพของ AI ก็จะทำให้สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ เช่น ในธนาคาร สนามบิน และสถานีตำรวจ รวมไปถึงการสัมภาษณ์พนักงานในบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น

ปฏิวัติเทคโนโลยีจับเท็จ

ปัจจุบัน การใช้เครื่องจับเท็จนั้นถือว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ เพราะเกือบทุกคนสามารถที่จะรู้วิธีในการควบคุมความตื่นเต้น ทำให้ชีพจรกลับมาเต้นเป็นปกติได้ จึงทำให้พวกเขาสามารถที่จะหลอกเครื่องจับเท็จได้ ดังนั้น การใช้เครื่องจับเท็จ จึงเป็นวิธีการที่ศาลยังไม่ให้การยอมรับในการพิจารณาคดี

แต่ถ้าหากวันหนึ่ง AI สามารถที่จะอ่านพฤติกรรมบนใบหน้าได้อย่างแม่นยำ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าโลกแห่งอนาคต การโกหกจะไม่สามารถซ่อนเร้นได้อีกต่อไปก็ได้

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.komchadluek.net
https://petmaya.com/

เครดิตรูปภาพ
https://pixabay.com/