สะพานข้ามยุค “Digital Buddy” สรรหาจิตอาสา Gen Z เทรนด์ทักษะดิจิทัลให้ผู้สูงวัย

Share

Loading

“Digital Buddy” สรรหาจิตอาสา Gen Z เทรนด์ทักษะดิจิทัลให้ผู้สูงวัย ลดช่องว่างระหว่างคน 2 Gen

อย่างที่รู้กันว่า ประเทศไทย เตรียมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ซึ่งกิจกรรมดีๆ อย่าง โครงการสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก โดยการสนับสนุนของ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เปิดรับสมัครน้องๆ นักศึกษาหรือผู้จบใหม่ ร่วมสมัครคัดเลือกเป็น “Digital buddy” ผู้ช่วยผู้สูงวัยอบรมทักษะทางดิจิทัล ชิงทุนการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยผู้สมัคร จะต้องนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ให้กับผู้สูงวัย ด้วยทักษะทางดิจิทัล ต่อหน้าคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือกร่วมกิจกรรม

โดยโครงการฯ ได้เปิดรับนักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี เพื่อเป็น “Digital Buddy” ของผู้สูงวัย เป็นหน่วยสนับสนุนร่วมบ่มเพาะจนเกิดต้นแบบที่เป็นองค์ความรู้กลับคืนสู่สังคม ซึ่งขณะนี้โครงการฯ เริ่มดำเนินการอบรมไปครึ่งทางแล้ว

บรรดา “Digital Buddy” ที่ได้รับเลือก อาทิ นภัสมนต์ ศรีนครา มหาวิทยาลัยมหิดล, เกวลิน ศรีรู้ญา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, วชิรวิทย์ หาสาฤทธิ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สิทธินนท์ เพชรเกลอ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา, ลภนพร สกุลเก่งศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ฯลฯ ทำงานไปแล้วครึ่งทาง ต่างคนต่างมุมมอง มีประสบการณ์และความสนุกสนานในโครงการฯ ดังกล่าวมาแบ่งปันกัน

โดยเราได้พูดคุยกับนักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี เกี่ยวกับแรงจูงใจในการมาสมัครครั้งนี้ ซึ่งน้องๆ หลายคนบอกกับเราว่า

“รู้สึกให้ความสนใจโครงการเพราะตัวเขาเองได้มีการสอนคุณแม่ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว เพราะมีความเข้าใจว่าในยุคปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น อยากช่วยลดช่องว่างเรื่องตรงนี้ให้เป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้สูงวัยมากยิ่งขึ้น พี่ๆ สูงวัยจะได้คุยกับลูกหลานรู้เรื่องได้มากขึ้น หรือจากการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงนี้ จะได้มีส่วนร่วมในการให้ผู้สูงวัยมีรายได้มากยิ่งขึ้น”

เมื่อถามว่า โซเชียลกับคนรุ่นใหม่ดูเป็นของเข้ากัน แต่โซเชียลกับผู้สูงวัย ทำไมถึงห่างไกลกัน คิดว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรให้ไปด้วยกันได้?

หนึ่งในตัวแทนของโครงการ บอกว่า ทัศนะโซเชียลของคนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่าที่ไม่เข้ากัน เป็นเพราะว่าเราโตมากันคนละยุค รุ่นพี่ๆ เขาดูเป็นยุคสร้างเทคโนโลยีต่างๆ แต่รุ่นหลังจากนั้นมันเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีมาอยู่แล้วใช้ชีวิตกับมันแบบไม่รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กจนเกิดเป็นความเคยชินทางการเรียนรู้ไปโดยไม่รู้ตัว และส่วนตัวก็คิดว่าที่โซเชียลกลับผู้สูงวัยถึงทำไมถึงห่างไกลกัน นอกจากเรื่องราวการเติบโตในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันแล้ว ก็อาจจะเป็นเพราะว่า ในก่อนที่จะมาถึงยุคนี้ ก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าปัจจุบันเทคโนโลยีจะมีผลต่อเรามากขนาดนี้ ถึงขณะเราสามารถทำงานออนไลน์หน้าจอจากที่ไหนก็ได้แล้วด้วยเเต่โชคดี ที่มีโครงการนี้ โครงการนี้ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ได้ดี วิธีการช่วยเหลือของบัดดี้อย่างคนรุ่นใหม่ ก็ต้องมีความใจเย็น วิธีบอก ก็จะบอกในลักษณะรูปภาพมากกว่า จะได้เข้าใจง่าย

นอกจากนี้ ตัวแทนเยาวชน ยังได้เสริมเรื่องของรายได้ ว่าเครื่องมือหรือเทคโนโลยีสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อยอดทำให้เกิดรายได้ได้ในโลกโซเชียล และที่ผ่านมาก็จะเห็นว่า จุดที่ทำให้พวกเขาทำไม่ได้น่าจะเกี่ยวกับการสื่อสารที่อาจจะไม่มีใครสอน หรือสอนแล้วถามเยอะก็จะหงุดหงิด ถ้าลองได้เข้าใจกันและกัน และพร้อมเรียนรู้ ผมว่าเราจะสามารถลดช่องว่างตรงนี้ได้

สำหรับการแก้ไข คิดว่าอาจต้องเริ่มต้นที่ความสนใจของตัวผู้สูงวัยด้วยส่วนหนึ่ง หากมีความสนใจไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร จะหารายได้ ต้องการเข้าใจลูกหลาน สร้างคอนเทนต์ หรือแบ่งปันเรื่องราวดีให้กับคนอื่น เมื่อเกิดความสนใจ ผู้สูงวัยก็จะเปิดใจมากขึ้นกับสื่อโซเชียล เมื่อเกิดความสนใจก็สามารถที่จะสอน โดยการค่อยๆ ทำ หรือให้ทำไปพร้อมๆ กัน และหมั่นทำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ลืม เมื่อเขาทำเป็นจะอย่างไรเขาก็จะสนุก และได้บรรลุเป้าหมายของตนเอง อย่างที่ทางกิจกรรมได้ให้ความรู้และจับมือทำนั่นเอง

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/society/2296127