แผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

Share

Loading

สำหรับในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไม่เฉพาะเพียงผู้คนเท่านั้น แต่เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

โดย Smart  City หรือเมืองอัจฉริยะนั้น คือการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชน ในการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองที่ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

เป้าหมายของเมืองอัจฉริยะ

1 Smart Economy คือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง กระบวนการในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือ และกลไกทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ

2 Smart Living คือการยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

3 Smart People คือการที่เมืองมีสภาพแวดล้อม อันส่งเสริมให้ผู้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีสิ้นสุด

4 Smart Governance คือการที่ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

5 Smart Energy คือการมีเมืองระบบการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีพลังงานที่เพียงพอ และใช้พลังงานอย่างคุมค่า ตลอดจนยังมีพลังงานทางเลือก

6 Smart Environment คือการที่เมืองมีระบบจัดการของเสีย และติดตามสภาพแวดล้อมได้ทันท่วงที โดยสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

7 Smart Mobility คือเมืองที่มีความสะดวกในระบบขนส่ง โลจิสติก และมีการใช้พาหนะที่ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเดินทางปลอดภัย

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้น จะมีอยู่ 2 แนวทางคือ

1 การฟื้นฟูเมืองเดิมด้วยเทคโนโลยีด้านการคมนาคมขนส่งพลังงานและดิจิทัล ในการปรับเปลี่ยนเมืองเดิมให้หน้าอยู่ขึ้น โดยขับเคลื่อนด้วยกลไกความร่วมมือของรัฐกับเอกชน

2 การพัฒนาเมืองใหม่ โดยก่อสร้างพื้นที่เมืองใหม่ทั้งหมด พัฒนาสาธารณูปโภคที่อยู่อาศัยให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุนและการวิจัยนวัตกรรม โดยขับเคลื่อนที่ภาคเอกชนเป็นหลัก

โดยสำหรับในประเทศไทยเอง ภายใต้แผนการสร้างเมืองอัจฉริยะของสำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) จึงได้มีพัฒนาแผนการสร้างเมืองอัจฉริยะโดยเริ่มจาก 7 จังหวัดนำร่อง คือ

  • กรุงเทพมหานคร
  • ภูเก็ต
  • เชียงใหม่
  • ขอนแก่น
  • ชลบุรี
  • ระยอง
  • ฉะเชิงเทรา

และจะยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย นั้นก็คือ…เกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นใน 30 จังหวัด ในปี 2565

ดังนั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า การสร้างเมืองอัจฉริยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเป็นสิ่งที่ทำให้เมืองมีความน่าอยู่ ทันสมัย และประชาชนในเมืองอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ตลอดจนยังเป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจและสังคมไทย นำพาประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเท่าทันและเท่าเทียมเวทีโลก

เรียบเรียงโดย
Security Systems Magazine

เครดิตรูปภาพ
https://pixabay.com/