นักดาราศาสตร์เผยก๊าซมีเทน ช่วยบ่งชี้สิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น

Share

Loading

มีเทนเป็นหนึ่งในก๊าซสำคัญที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อม เช่น ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ บนโลกของเรานั้นก๊าซมีเทนส่วนใหญ่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิต ซึ่งจุลินทรีย์ที่ผลิตก๊าซมีเทนก็จะมีในพื้นที่ชุ่มน้ำ นาข้าว หรือในลำไส้ของสัตว์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างถ่านหิน น้ำมัน ที่เป็นเศษซากของสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ทว่าสัดส่วนของก๊าซมีเทนที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช่ชีวภาพบนโลกนั้นมีน้อย

เมื่อเร็วๆนี้ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ก๊าซมีเทนอาจเป็นสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หากค้นพบก๊าซชนิดนี้ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์หินที่โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ โดยดาวเคราะห์ดวงนั้นอยู่ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่ร้อนเกินไปและไม่เย็นเกินไปสำหรับน้ำในสถานะของเหลวบนพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนั้น คล้ายๆกับโลกของเราที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และตั้งอยู่โซนที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าก๊าซมีเทนยังเป็นหนึ่งในก๊าซไม่กี่ชนิดที่ตรวจจับได้ง่ายโดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ และเชื่อว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ จะให้คำตอบนี้ได้ เมื่อได้ทำงานร่วมกับกล้องโทรทรรศน์ใหม่อื่นๆ

นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะเข้าใจบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบมากขึ้นโดยใช้การรวมพลังทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเหล่านั้นในการตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีของดาว เคราะห์ที่อยู่ห่างไกลได้จากมุมมองของโลก

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2359875