ข่าวดี! วัคซีนไร้เข็ม Made in Thailand ไทยลุ้นได้ใช้ปี 65

Share

Loading

พัฒนาการของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้รับการคิดค้นและพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในส่วนของประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ ไปจนถึงวิธีการฉีดที่ล่าสุดได้มีการคิดค้น วัคซีนไร้เข็ม ขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วในต่างประเทศ ทว่า ในประเทศไทยเพิ่งมีข่าวดีประกาศออกมาว่า “โควิเจน วัคซีนโควิดไร้เข็ม นวัตกรรมใหม่เหมาะสำหรับคนกลัวเข็มฉีดยา เตรียมขออนุมัติขึ้นทะเบียนกับ อย. ลุ้นฉีดในไทยปี 2565 นี้”

ก่อนที่จะไปรู้รายละเอียดของ วัคซีนไร้เข็ม Made in Thailand เราอยากอัปเดตให้ทราบกันถึงหลากหลายรูปแบบของวัคซีนโควิด-19 ที่พร้อมพัฒนาสู่รูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยา ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 2021 จนมาในวันนี้ ในหลายประเทศได้มีการคิดค้นวัคซีนโควิดไร้เข็มในหลากหลายรูปแบบ และนำมาปรับใช้แล้ว

รู้จักหลากหลายรูปแบบของ วัคซีนไร้เข็ม ที่คิดค้นและพัฒนาใช้แล้วทั่วโลก

โดยจากเอกสารให้ความรู้ออนไลน์ เรื่อง “วัคซีนโควิด-19…การพัฒนาสู่รูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยา” ในเว็บไซต์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวงการแพทย์ได้ข้อสรุปแล้วว่าเครื่องมือที่จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคระบาดนี้ได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง คือ วัคซีนป้องกันโควิด จากนั้นมาการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ก็ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

จนในขณะนี้มีวัคซีนโควิด-19 ออกใช้แล้วหลายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติทะเบียนอย่างสมบูรณ์ (full authorization) หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้กรณีฉุกเฉิน (emergency use authorization) ล้วนเป็นชนิดฉีดผ่านเข็มฉีดยา

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าในการฉีดวัคซีนผ่านเข็มทำให้เจ็บปวดบริเวณที่ฉีดซึ่งหลายคนไม่ชอบหรือมีความกลัวเข็มฉีดยา ยิ่งต้องมีการฉีดกระตุ้นในครั้งที่สองจะเพิ่มความไม่สะดวกที่ต้องเดินทางมาสถานพยาบาลอีก ทำให้บางคนมารับวัคซีนในครั้งที่สองไม่ตรงตามกำหนดหรือไม่มาเลย

นอกจากนั้นการฉีดวัคซีนผ่านเข็มฉีดยายังเสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะฉีดและการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มฉีดยา และวงการแพทย์ยังยอมรับว่าการเร่งรีบพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้การพัฒนาตำรับยามีข้อจำกัด อาจมีความคงตัวไม่ดีจึงต้องแช่แข็ง จึงมีความยุ่งยากในการขนส่งและเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งบางหน่วยงานขาดความพร้อมในการจัดเก็บวัคซีนด้วย

จากข้อจำกัดบางอย่างของวัคซีนโควิด-19 ชนิดฉีดผ่านเข็มดังกล่าวข้างต้น จึงมีการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 สู่รูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยา ซึ่งเทคโนโลยีการให้ยารวมถึงวัคซีนแบบไม่ใช้เข็มฉีดยาได้มีการพัฒนามานานและนำออกมาใช้แล้ว ในกรณีวัคซีนโควิด-19 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาสู่รูปแบบไม่ใช้เข็มฉีดยา เช่น วัคซีนชนิดฉีดแบบไร้เข็ม วัคซีนชนิดให้ทางจมูก วัคซีนชนิดกิน วัคซีนชนิดแผ่นติดผิวหนัง ซึ่งวิธีการให้วัคซีนเหล่านี้ไม่ทำให้เจ็บ จึงคาดว่าจะเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในผู้ที่กลัวเข็มฉีดยา

การให้วัคซีนในรูปแบบที่กล่าวมา (ยกเว้นชนิดฉีดแบบไร้เข็ม) สามารถเรียนรู้และให้วัคซีนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยบุคลากรสาธารณสุข จึงเพิ่มความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสถานพยาบาล ช่วยให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการรับวัคซีนครั้งที่สองเป็นไปได้มากขึ้น ทำให้โครงการป้องกันโรคระบาดประสบความสำเร็จสูง

ในการให้วัคซีนรูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยาอาจนำมาใช้โดยสมบูรณ์ คือ ให้ครั้งแรกและให้ครั้งที่สองเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือนำมาใช้เฉพาะการให้ครั้งที่สองเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีนครั้งแรกโดยการฉีดผ่านเข็มมาแล้ว วัคซีนที่นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยามีทั้งวัคซีนชนิดใหม่และวัคซีนที่นำมาใช้แล้ว คาดว่าวัคซีนโควิด-19 รูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยานี้อาจมีบทบาทมากภายหลังพ้นการระบาดครั้งใหญ่ไปแล้ว

โดยวัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบที่ไม่ใช้เข็มฉีดยา มีตั้งแต่

  • วัคซีนชนิดฉีดแบบไร้เข็ม (ให้แบบ needle-free jet injection) ตัวอย่างเช่น DIOS-CoVax เป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ COVIGEN เป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ
  • วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอวัคซีนชนิดให้ทางจมูก Pfizer COVID-19 vaccine เช่น AdCOVID เป็นวัคซีนชนิดที่มีอะดีโนไวรัสเป็นพาหะ (adenoviral vector vaccine)
  • วัคซีนชนิดกิน COVI-VAC เป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) เช่น VXA-CoV2-1 เป็นวัคซีนชนิดที่มีอะดีโนไวรัสเป็นพาหะ
  • วัคซีนชนิดสูดทางปาก (orally inhaled vaccine) bacTRL-Spike เป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ OraPro-COVID-19 ชนิดที่มีอะดีโนไวรัสเป็นพาหะ เช่น ChAdOx1 nCov-19 เป็นวัคซีนชนิดที่มีอะดีโนไวรัสเป็นพาหะ
  • วัคซีนชนิดแผ่นติดผิวหนัง Imperial’s saRNA vaccine เป็นวัคซีนชนิดอาร์เอ็นเอ (saRNA หรือ self-amplifying RNA) เช่น PittCoVacc เป็นวัคซีนชนิดซับยูนิต (S1 subunit vaccine)
เปิดตัว วัคซีนไร้เข็ม ผลิตโดยคนไทย นวัตกรรมใหม่สำหรับคนกลัวเข็ม ลุ้นฉีดในไทยปี 65

ดังที่เกริ่นมาข้างต้นแล้วว่า “วัคซีนไร้เข็ม” เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น และได้ใช้จริงแล้วในหลายประเทศ แล้ว แต่ข่าวดีที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด คือ โควิเจน (COVIGEN) เป็น “วัคซีนโควิดไร้เข็ม” ชนิด DNA พัฒนาโดยบริษัทไบโอเนท-เอเชีย (จำกัด) ร่วมทุนกับไทย-ฝรั่งเศส และบริษัทเทคโนวาเลีย กำลังยื่นขออนุมัติขึ้นทะเบียนกับ อย. หากผ่านแล้ว คาดว่าจะได้ใช้จริงในปี 2565 นี้ โดยการให้วัคซีนโควิเจน (COVIGEN) ให้วัคซีน 2 โดส ฉีดห่างกัน 28 วัน

ในตอนนี้ วัคซีนไร้เข็ม โควิเจน ได้ผ่านการทดสอบในขั้นตอนฉีดเข้ามนุษย์ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครในออสเตรเลีย ช่วงอายุ 18-75 ปี โควิเจน เป็นการฉีดยาไร้เข็ม พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) ร่วมกับมหาวิทยาอื่นๆ โดยใช้วัคซีนโควิดประเภทดีเอ็นเอ (DNA) ที่พัฒนาโดยบริษัท BioNet และบริษัท Technovalia ส่วนอุปกรณ์ฉีดยาเป็นของบริษัท Pharmajet

อุปกรณ์ฉีดโควิดไร้เข็ม จะอัดของเหลวเข้าผิวหนัง ใช้เวลาส่งวัคซีนเข้าสู่เซลล์ประมาณ 0.1 วินาที ซึ่งเพียงพอที่จะกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน “วัคซีนโควิดไร้เข็ม” โควิเจน นี้จะใช้เป็นวัคซีนทางเลือกในประเทศที่ขึ้นทะเบียนแล้ว โดยเริ่มใช้ที่ออสเตรเลียในปีนี้ และหากผ่านการอนุมัติจาก อย. ของไทยก็จะได้ใช้ในปีนี้เช่นกัน

โควิเจน ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทย 650 ล้านบาท จากงบเงินกู้ปี 2563 ความคืบหน้าล่าสุดอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 และ 2 ในประเทศไทย โดย “วัคซีนโควิดไร้เข็ม” มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด19 ที่ได้รับมาตรฐานเช่นเดียวกับวัคซีนโควิดแบบฉีดชนิดอื่น แตกต่างกันตรงวิธีใช้ ลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากเข็ม ทั้งแผลบวมแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบมากอันดับต้นๆ ของการฉีดวัคซีนโควิดในปัจจุบัน

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2022/05/28/needle-free-jet-injection-made-in-thailand/