ปตท. ได้รับการสนับสนุนการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกับ Foxconn

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

บอร์ดบีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ หนึ่งในนั้นคือกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด ที่เกิดจากความร่วมมือของ ปตท. กับ Foxconn รวมมูลค่ากว่า 36,100 ล้านบาท

ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ รวมมูลค่า 209,478 ล้านบาทประกอบด้วย

– กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ของบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด มูลค่า 36,100 ล้านบาท

– โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ของบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด มูลค่า 162,318 ล้านบาท

– กิจการผลิตเส้นใยและกิจการผลิตผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษของกลุ่มบริษัท คิงบอร์ด โฮลดิ้งส์ มูลค่ารวม 8,230 ล้านบาท

– การขยายกิจการผลิตไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น ของบริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด มูลค่า 2,830 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัท หลินยิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสเมนท์ จำกัด (Lin Yin International Investment) บริษัทในกลุ่มของบริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Hon Hai Precision Industry) หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป (Foxconn Technology Group) ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้ง มีสัดส่วนการลงทุนของ ARUN PLUS ที่ร้อยละ 60 และ หลินยิ่ง ร้อยละ 40 ตามลำดับ ตามแผนความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย โดย HORIZON PLUS มีเป้าหมายที่จะก่อตั้งโรงงานผลิต EV บนพื้นที่กว่า 350 ไร่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย มีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 4 ล้อ (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล) ออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2567 มีกำลังการผลิตที่ 50,000 คัน/ปี ในระยะแรก และจะขยายกำลังการผลิตไปถึง 150,000 คัน/ปี ภายในปี 2573 เพื่อให้สอดรับกับความต้องการใช้ EV ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอได้เห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ (BATTERY CELL) ระดับโมดูล (BATTERY MODULE) และกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY) ผ่านการเพิ่มระยะเวลาการให้สิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในกรณีที่ผลิตจำหน่ายในประเทศ จาก 2 ปี เป็น 5 ปี ทั้งนี้ กรณีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมและได้รับอนุมัติไปแล้ว สามารถแก้ไขโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่นี้ได้เช่นกัน

ปัจจุบัน มีโครงการได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ในกิจการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า จำนวน 16 โครงการจาก 10 บริษัท รวมเงินลงทุน 4,820 ล้านบาท และมีโครงการที่ได้รับส่งเสริม การลงทุนในกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY) รวม 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,746.1 ล้านบาท

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/BrandInsideAsia/photos/a.1505585296134824/6041066102586698/