SCGC ส่งต่อแนวคิด “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้” ผ่านโมเดล “2 สร้าง 2 เก็บ”

Share

Loading

SCGC ชวนติดตาม VDO Series “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้” ด้วยโมเดล “2 สร้าง 2 เก็บ” ที่ SCGC ร่วมแก้ปัญหาน้ำกับชุมชนตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี พร้อมบอกเล่าแล้ววันนี้ ผ่านมุมมองทีมสารคดีมืออาชีพจาก National Geographic Thailand

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC นอกจากจะเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยผลิตภัณฑ์ที่ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่ยังให้ความสำคัญกับการดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่มีการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการถอดบทเรียนพร้อมรวบรวมองค์ความรู้การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อชุมชนของ SCGC ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี สู่การขยายผลแนวคิด ‘เก็บน้ำดี มีน้ำใช้’ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ เพื่อสนับสนุนท้องถิ่นให้ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ทั้งหมดนี้ ถูกถ่ายทอดร้อยเรียงเป็นเรื่องราวโดยทีมงานสารคดีมืออาชีพจาก National Geographic Thaialand ให้คนไทยได้รับชมกันในเดือนแห่งสิ่งแวดล้อมโลก กับ 3 เรื่องราว ที่สรุปองค์ความรู้การจัดการน้ำกว่า 10 ปี

ชุมชนคนน้ำดี: ชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง – ชุมชนพลิกวิกฤตแล้ง สู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ

20 ปีก่อน ผืนป่ารอบชุมชนเขายายดาประสบปัญหาภัยแล้งยืดเยื้อ ผืนป่าขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ต้องซื้อน้ำเพื่อมารดสวน ต้นไม้บางสวนถึงกับยืนต้นตาย แต่ปัจจุบัน พวกสามารถเขาพลิกฟื้นความแห้งแล้งให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มี “ทรัพยากรน้ำ” อันอุดมสมบูรณ์

เขายายดา จ.ระยอง กินพื้นที่กว่า 28,937 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าที่มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ มีพระเอกที่นักเดินทางควรไปเห็นด้วยตาตัวเองให้ได้ ก็คือ “ต้นพระเจ้า 5 พระองค์” ต้นไม้โบราณอายุนับร้อยปีที่มีความสูงสุดสายตา แค่เพียงรากใหญ่โตก็มีความสูงเทียบเท่าคนหนึ่งคนได้แล้ว

เส้นทางเดินป่าแห่งนี้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนมาบจันทร์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติที่พรั่งพร้อมไปด้วยวิถีชีวิตแบบชาวสวน และมีการจัดการอย่างเป็นระบบ

วันดี อินทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ได้เล่าถึงโครงการ “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ” ภายใต้การสนับสนุนและให้คำแนะนำของ SCGC เพื่อการสร้างองค์ความรู้ การจัดน้ำของชุมชนรอบเขายายดา ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2550 เรื่อยมา โดยการเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงอยู่ร่วมกับคนในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่ มาให้คำแนะนำเพื่อให้ความรู้ และสร้างคนในชุมชนให้เป็นนักวิจัยท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้มีการเก็บข้อมูลและจดบันทึกอย่างเป็นระบบ พร้อมนำมาทำนายสถานการณ์น้ำได้อย่างแม่นยำ นำไปสู่การจัดการด้วยการสร้างกติกาการใช้แหล่งน้ำร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนเก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ป่าต้นน้ำในชุมชนแห่งนี้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านมีแหล่งน้ำใช้อย่างยั่งยืน สร้างผลผลิต มีกิน มีใช้ มีขาย ได้ตลอดทั้งปี คิดเป็นผลผลิตทางการเกษตรรวมทั้งสิ้น 79,382,695 กิโลกรัม/ปี และน้ำในลำธาร ให้ผลผลิตมากถึง 14.83 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี

นอกจากนี้ โครงการวิสาหกิจท่องเที่ยวยังทำให้ชุมชนสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น เดินป่าชุมชนชมแหล่งน้ำ พักแบบโฮมสเตย์ เที่ยวสวนผลไม้พร้อมชิมผลผลิตสด ๆ จากต้น ปั่นจักรยานชมพื้นที่รอบหมู่บ้าน และเส้นทางขับรถ ATV ผจญภัยรอบเขายายดา สร้างฝายชะลอน้ำ ใครสนใจอยากรู้จักชุมชนคนน้ำดีให้มากขึ้น ลองชมวิดีโอก่อนเก็บกระเป๋าไปเที่ยวได้เลย

2 สร้าง 2 เก็บ: โมเดลพลิกความแห้งแล้งสู่แหล่งน้ำยั่งยืนแห่งชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง

เบื้องหลังความสำเร็จของการฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำของชุมชนรอบเขายายดา มาจากจุดเริ่มต้นที่ผู้ใหญ่บ้าน วันดี อินทรพรม ในฐานะผู้นำชุมชน ได้รับทราบเรื่องราวโครงการสร้างฝายชะลอน้ำที่ประสบความสำเร็จของ SCG ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จึงได้ติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับทาง SCGC ในการพลิกฟื้นชุมชนแห่งนี้ในช่วงปี 2550 เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก SCGC ตอบรับเป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง ในการพลิกฟื้นชุมชนรอบเขายายดา หลังจากได้สำรวจพื้นที่แล้ว จึงเกิดโครงการ “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ” ซึ่งมีสาระสำคัญคือ “สร้างคน สร้างกติกา เก็บน้ำ เก็บข้อมูล” จนทำให้ SCGC และชุมชนรอบเขายายดาสามารถถอดรหัสการเก็บน้ำในพื้นที่ ก็คือ “ต้องหาทางเก็บน้ำฝนให้ได้มากที่สุด ด้วยการเพิ่มการดูดซับน้ำฝน ลดน้ำผิวดิน ชะลอการไหลของน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำให้ได้มากที่สุด” โดยการปลูกป่า 5 ระดับ สร้างฝายชะลอน้ำ และธนาคารน้ำใต้ดิน

จากความสามัคคีของทุกคนจึงส่งผลให้น้ำในลำธารให้ผลผลิตถึง 14.83 ล้าน ลูกบาศก์เมตร /ปี ทำให้ระบบนิเวศกลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต พบสัตว์ป่า 123 ชนิด และพรรณไม้มากกว่า 120 ชนิดพันธุ์ และยังช่วยลดโลกร้อน อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยตลอดปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.49 ตัน CO₂ / ไร่ และดูดซับ 5.41 CO₂ / ไร่ /ปี

ธนาคารน้ำใต้ดิน – นวัตกรรมภูมิปัญญาที่เปลี่ยนน้ำหลากจากหน้าฝนสู่ความชุ่มชื้นในหน้าแล้ง

ธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อ “เก็บน้ำหลากในหน้าฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง” ภายใต้โครงการ “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ” โดยการขุดหลุมเพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในระดับผิวดิน ช่วงฤดูฝนไว้ในใต้ดิน เพื่อเติมระบบน้ำใต้ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถก่อให้เกิดความชุ่มชื้น เพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้ในสวน หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ในหน้าแล้ง โดยประโยชน์ที่ได้รับจากธนาคารน้ำใต้ดิน คือการก่อให้เกิดความชุ่มชื้นต่อชั้นดิน ประหยัดน้ำในการรดน้ำต้นไม้บริเวณใกล้เคียง ลดน้ำท่วมขัง ได้ในช่วงหน้าฝน สามารถกักน้ำส่วนเกินให้มาเป็นความชุ่มชื้นในหน้าแล้ง และชุมชนยังสามารถใช้ประโยชน์ จากพื้นที่รอบ ๆ ผิวดินของธนาคารน้ำได้ปกติโดยไม่จำเป็นต้องเสียพื้นที่เพื่อทำจุดกักเก็บแหล่งน้ำเพียงอย่างเดียว

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/local/2411971