Does a Smart City Need a Smart Mayor?

Share

Loading

โดย ดร.เอกชัย สุมาลี
คณาจารย์ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่ผ่านมานี้ ได้มีการนำเสนอประเด็นที่หลากหลายเกี่ยวกับเมืองผ่านการดีเบตให้ประชาชนได้ทราบ ตั้งแต่ปัญหาน้ำท่วม การจราจรติดขัด ไปจนถึงปัญหาความปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในกรุงเทพฯ นับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจของทหารในปี 2557 หรือเมื่อเกือบแปดปีที่แล้ว

ตลอดระยะเวลาแปดปีที่มีการแทรกแซงทางการเมือง ประชาชนต่างกระตือรือร้นที่จะติดตามการดีเบตเกี่ยวกับอนาคตของกรุงเทพมหานคร ถึงแม้จะบ่นเกี่ยวกับการจัดและความยากลำบากการจัดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ก็ได้แสดงวิสัยทัศน์และนโยบายในการแก้ไขปัญหาและความกังวลของประชาชน และช่วยอธิบายให้ประชาชนได้มองเห็นในแง่ดีที่จะทำอย่างไรสำหรับการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร

จากการสังเกตของดร.เอกชัย นั้นมีความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งครั้งนี้กับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นั่นคือ:

  1. การสื่อสารกับประชาชนผ่านโซเชียลมีเดีย
  2. การมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม
  3. นโยบายที่มุ่งเน้นดิจิทัล (Digital-oriented policy)
  4. นโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาข้อมูล (Data-oriented policy development)

การเปลี่ยนแปลงในการรณรงค์ทางการเมืองสำหรับผู้ว่าฯ เหล่านี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ที่กลายเป็นกระแสนิยมในการบริหารเมืองในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม คำนี้“การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” ซึ่งปรากฏออกมาเป็นครั้งแรกที่ผู้สมัครได้นำมาเป็นกลยุทธ์ในหาเสียงจริงและยังช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครให้เป็นผู้ชนะอีกด้วย

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ได้มีการพูดคุยกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคุณสามารถดูวิดีโอได้ที่ช่อง YouTube

เมื่อแนวคิดของสมาร์ทซิตี้ปรากฏขึ้นครั้งแรก มันได้สื่อถึงกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนและแนวคิดด้านการลงทุนที่สูง อย่างไรก็ตาม มันกลับกลายเป็นวิวัฒนาการของนโยบายสาธารณะและระบบการจัดการที่ตรงไปตรงมาอย่างมากซึ่งเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเน้นที่ต้นเหตุของปัญหาในเมืองมากขึ้น

ปัจจุบันนี้ การมีส่วนร่วมและการสื่อสารทางสังคมนั้นสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งที่จริงแล้ว มันแทบจะเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในปัจจุบันสำหรับนักการเมืองทุกคนที่จะมีสถานะหรือการตั้งค่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ได้ใช้เพียงแค่เพื่อประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อสื่อสารนโยบาย ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ ทิศทาง และกลยุทธ์ไปยังสาธารณชน หรือประชาชนตลอดจนใช้ในการรับฟังเสียงและข้อกังวลของประชาชน

ท้ายที่สุด แนวคิดพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะก็คือ การเชื่อมโยงเมืองกับผู้คนผ่านเทคโนโลยีหรือสื่อต่างๆ อีกทั้งเทคโนโลยียังกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการหลีกเลี่ยงกระบวนการทำงานของระบบราชการ ด้วยเทคโนโลยีง่ายๆ ที่นำมาใช้นั้นสามารถอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ เชื่อมต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบันทึกข้อข้องใจเกี่ยวกับสถานที่สาธารณะที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ความซับซ้อนของปัญหาเมืองที่เราเผชิญอยู่ในขณะนี้ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ว่าฯ ของเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรวมตัวกันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ระดับกรุงเทพฯ ซึ่ง ผู้ว่าฯ จำเป็นต้องมีความตระหนักถึงปัญหา และสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการระบุแนวทางในการตอบสนองต่อปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที

ยุคของ “รู้สึกสังหรณ์ใจ (“gut feeling” )” ของความเป็นผู้นำเมืองได้ผ่านไปแล้ว เทคโนโลยีนั้นได้เปลี่ยนแปลงและยกระดับความคาดหวังของสาธารณชนเกี่ยวกับบริการของเมืองและคุณภาพชีวิต ทุกวันนี้ สาธารณชนต้องการหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่สามารถแสดงถึงความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาเมืองของเจ้าหน้าที่ ผู้คนหลายคนนั้นเคยได้รับประโยชน์จากความสะดวกสบายของบริการดิจิทัลที่เข้าถึงผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ และพวกเขาก็คาดหวังที่จะได้รับจากบริการภาครัฐเช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงจำเป็นต้องมีผู้ว่าฯ ที่ฉลาดและเก่งรอบด้าน ซึ่งเทคโนโลยีนั้นเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ทว่า ต้องมีการผสมผสานทั้งนโยบาย การจัดการ และความสามารถทางเทคนิคที่ลงตัว เพื่อให้เกิดศักยภาพในการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของเมืองในปัจจุบันอย่างเต็มที่

แหล่งข้อมูล

https://scii.chula.ac.th/blog/does-a-smart-city-need-a-smart-mayor/