ความสำเร็จครั้งใหม่ ของประเทศจีนที่พัฒนา “ระบบโดรน” ใช้ในการงานอุตุนิยมวิทยา เน้นสำรวจการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
จีนพัฒนาระบบโดรนใหม่ที่ใช้ในการอุตุนิยมวิทยา สามารถสำรวจการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ตรวจจับเมฆ ฝน ลม และละอองลอยในอากาศบนเส้นทางบินได้ในระยะไกล
ระบบโดรนดังกล่าว ซึ่งมาพร้อมศักยภาพการบรรทุกปริมาณมาก มีระยะเวลาทำการนาน ใช้ค่าบำรุงรักษาต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เสร็จสิ้นเที่ยวบินแรกในเวลา 75 นาที จากท่าอากาศยานในมณฑลส่านซี (Shaanxi) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นับเป็นการพิสูจน์ความปลอดภัยและขีดความสามารถของเครื่องมือทางอากาศของระบบ
สถาบันในเครือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศแห่งชาติจีน (China Aerospace Science and Technology Corporation: CASC) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบโดรนใหม่นี้ ระบุว่า เครื่องจักรดังกล่าวประกอบด้วยหลายฟังก์ชันการทำงานใหม่ อาทิ การตรวจจับแบบคู่ด้วยเลเซอร์-คลื่นไมโครเวฟ การตรวจจับร่วมแบบแอกทีฟ/พาสซีฟ และการตรวจจับระยะไกลในพื้นที่
เที่ยวบินแรกที่ประสบความสำเร็จถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned aerial vehicle: UAV) ที่ผลิตโดยจีน ที่ถูกนำมาใช้ในการตรวจจับระยะไกลซึ่งเน้นการใช้งานหลากหลายสำหรับการดัดแปรสภาพอากาศ อันมีส่วนช่วยลดทอนภัยพิบัติและปกป้องระบบนิเวศ
แหล่งข้อมูล
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/นวัตกรรมรักษ์โลก/828526