ทีมวิจัยจาก King Abdullah University of Science and Technology ในซาอุดิอาระเบียคิดค้น ‘กระจกอัจฉริยะ’ เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็น Wi-Fi ช่วยประหยัดพลังงานและเพิ่มประโยชน์การใช้สอย
ทีมนักวิจัยจาก King Abdullah University of Science and Technology (KAUST) ในซาอุดีอาระเบีย ผุดไอเดีย “กระจกอัจฉริยะ” เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นสัญญาน Wi-Fi แทนการใช้ Wi-Fi เสียบเต้าปลั๊กแบบเดิม ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน และเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้กับกระจกของหน้าต่างทั้งตึกบริษัท
นวัตกรรมดังกล่าวใช้หน้าต่างกระจก ซึ่งติดตั้งด้วย Dual-cell Liquid Crystal Shutters (DLSs) เปลี่ยนขั้วของแสงอาทิตย์ เพื่อส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทน Wi-Fi แบบเดิม
ระบบสองส่วนนี้ประกอบด้วยโมดูเลเตอร์ (Modulator) คือ อุปกรณ์ควบควบคุมสัญญาณ ที่ใช้ระบบฝังตัวในกระจก เช่น ในหน้าต่างสำนักงานขนาดใหญ่
กระจกทำหน้าที่เป็นตัวกรองเพื่อเข้ารหัสสัญญาณไปยังแสงที่ส่องผ่าน จะใช้พลังงานเพียงหนึ่งวัตต์ในการทำงาน และระบบนี้สามารถส่งข้อมูลในอัตรา 16 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งยังไม่ได้ทดสอบใช้งาน
ในอนาคต ทีมวิจัยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลจากกิโลบิตต่อวินาทีเป็นเมกะบิตต่อวินาที และกิกะบิตต่อวินาที ตามลำดับ
ทั้งนี้ ปัญหาคือ ถ้าความถี่ของการเปลี่ยนแปลงต่ำเกินไป สายตามนุษย์จะรับรู้ได้ ผ่านการกระพริบตาถี่ ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ทีมวิจัยมุ่งไปที่โพลาไรเซชัน (Polarization) เป็นปรากฏการณ์การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของแสง แสดงสมบัติความเป็นคลื่นของแสง ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้พนักงานในออฟฟิศทำงานได้โดยที่ไม่ต้องถูกรบกวนจากแสง
และทั้งหมดนี้คือ ไอเดียสุดเจ๋งของกระจกอัจฉริยะ ที่สามารถเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็น Wi-Fi ได้ หากกระจกนี้ถูกพัฒนาจนสำเร็จและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่มีตึกขนาดใหญ่อย่างมาก
เนื่องจากในปัจจุบันตึกใหญ่ ๆ มักใช้กระจกบานใหญ่ติดตั้งทั้งตึก เพื่อประหยัดค่าโครงสร้าง เพิ่มความสวยงามด้านออกแบบ และช่วยลดความร้อนภายในตึก กระจกอัจฉริยะจะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนในการบริหารธุรกิจได้ไม่มากก็น้อย
แหล่งข้อมูล