VTOL เทคโนโลยีโดรนรุ่นใหม่ ต่อยอดการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับในอนาคต

Share

Loading

หากพูดถึงการใช้โดรน เช่นการถ่ายภาพมุมสูง ด้วยทั่วไปแล้วจะทำให้เรานึกถึงการใช้โดรนยอดฮิตแUบ Multi-Rotor เช่น Phatom 4 หรือ โดรนตระกูล Mavic มาถ่ายภาพจากมุมสูง ในขณะที่โดรนเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อพื้นที่ปฏิบัติการขยายครอบคลุมพื้นที่กว้างมากขึ้น ระยะเวลาในการปฏิบัติงานจะต้องถูกยืดให้สามารถทำงานได้นานขึ้น หรือข้อมูลที่ต้องการไม่ใช่เป็นเพียงแค่รูปภาพหรือวิดีโอ การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องการ

ปัจจุบันจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศจีนคือผู้นำทางด้านเทคโนโลยีโดรนและอากาศยานไร้คนขับประเทศหนึ่งที่น่าจับตามองและติดตามความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ในปี 2003 บริษัท Chengdu Aircraft Industry Group (CAIG) หรือ Chengdu Aerospace Corporation (CAC) ผู้ให้กำเนิดเครื่องบินรบ J-10 Vigorous Dragon ซึ่งเป็นเครื่องบินรบหลายบทบาท (Multi-role) รุ่นที่ 4 (4th Generation) และเครื่องบินรบ J-20 Mighty Dragon ซึ่งเป็นเครื่องบินรบล่องหน (Stealth Fighter) รุ่นที่ 5 (5th Generation) ได้เริ่มต้นพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับสำหรับปฏิบัติการทางการทหาร โดยมีชื่อเรียกว่า “วิงลุง 1” (Wing loong |) ซึ่งในเวลาต่อมาถูกเรียกขานว่าเป็นอากาศยานไร้คนขับที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับ General Atomics MQ-1 Predator ของสหรัฐอเมริกา โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง CAIG และนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมอากาศยานชั้นนำทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักวิจัยเพื่อสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับต่อไปในอนาคต

หลังจากการเปิดตัวของ “วิงลุง 1” ในปี 2011 ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าอากาศยานไร้คนขับ “วิงลุง 1” มีทั้งสมรรถนะและความคล่องแคล่วทางอากาศพลศาสตร์แบบไร้ที่ติ นอกจากนั้นระบบควบคุมการบินอัตโนมัติซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับก็สามารถควบคุมอากาศยานในสภาวะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ CAIG และ “วิงลุง 1” ซึ่งเป็นผลผลิตในโครงการก็กลายเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาต่อยอดอากาศยานไร้คนขับเพื่อภารกิจทางทหาร “วิงลุง 2” และ “วิงลุง 3” ในเวลาต่อมา

เมื่อโครงการ “วิงลุง 1” สิ้นสุดลง นักวิจัยในโครงการต่างแยกย้ายกลับถิ่นฐานของตน บ้างก็กลับไปเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิศวกรรมชั้นสูง บ้างก็ทำงานเป็นนักวิจัยตามสถาบันต่างๆ ในกลุ่มนี้มีนักวิจัย 2 ท่านคือ Dr. Burt Goh และ Dr. Dean Xue ได้จับมือร่วมกันออกมาเปิดบริษัทพัฒนาอากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรม (Industrial UAV) ในปี 2015 โดยมีชื่อว่า Sichuan Aossci Technology Co., Ltd.

ความแตกต่างระหว่าง อากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรม และ โดรนสำหรับผู้บริโภคทั่วไปในหลายๆ มิติด้วยกันคือ

1 ขนาดและโครงสร้าง

เมื่อเทียบกับโดรนสำหรับผู้บริโภคแล้วอากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมจะมีขนาดใหญ่กว่ามากและจะมีโครงสร้างแบบปีกตรึง (Fixed Wing) โดยมีความยาวปีกตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป

2 ระบบขับเคลื่อน

ในขณะที่ระบบขับเคลื่อนส่วนใหญ่จะเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ในรุ่นใหญ่จะเป็นระบบ Hybrid ที่ใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับระบบเครื่องยนต์น้ำมัน

3 ระบบการควบคุมการบินอัตโนมัติ

ระบบการควบคุมอากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมจะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Fully Autonomous) โดยจะควบคุมจากระบบควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Station)

4 ความสามารถในการแบกรับน้ำหนัก

อากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมมีความสามารถในการแบกรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1 กิโลกรัมไปจนถึง 40กิโลกรัม จึงทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้หลากหลายเพื่อภารกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

5 ระยะเวลาในการบิน

เนื่องจากโครงสร้างที่เป็นแบบปีกตรึง เมื่ออากาศยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้าทำให้เกิดการสร้างแรงยกซึ่งช่วยในการแบกรับน้ำหนักของเครื่องบินและเป็นการประหยัดพลังงาน จึงทำให้อากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมนั้นสามารถบินได้นานขึ้น

ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ Dr. Burt Goh และDr. Dean Xue จากโครงการ “วิงลุง 1” ทางด้านการออกแบบโครงสร้างอากาศยานขั้นสูง เทคนิคการผลิตชิ้นส่วนคอมโพสิต และระบบปฏิบัติการควบคุมการบินอัตโนมัติ นักวิจัยทั้งสองท่านได้ถ่ายทอดปรัชญาการออกแบบ “วิงลุง 1” ลงไปในระบบอากาศยานไร้คนขับ เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับภารกิจด้านอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ โดยฝังความอัจฉริยะ (Intelligence) ความทนทานต่อสภาวะการใช้งาน (Survivability) และความน่าเชื่อถือของระบบ (Reliability) ลงไปในอากาศยานไร้คนขับซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่นดังนี้

ความสำเร็จของ Dr. Burt Goh และ Dr. Dean Xue ได้ถูกติดตามและอยู่ภายใต้การจับตามองของยักษ์ใหญ่วงการยานยนต์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาโดยตลอด โดยในปี 2020 บริษัท Geely Technology Group เจ้าของ Volvo Cars Group และ Lotus Group ได้เข้าซื้อกิจการของ Sichuan Aossci Technology Co., Ltd.และนำทัพในการร่วมกิจการกับบริษัท Terrafugia จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทในเครือผู้ผลิต Flying Car wร้อมกับบริษัท Velocopter GmbH จากเยอรมันนี ผู้นำทางด้านการพัฒนาอากาศยานส่วนตัว (Personal Air Vehicles) เพื่อขยายความสามารถของ Sichuan Aossci Technology Co., Ltd. และการพัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายโดยอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Air Mobility) สำหรับอนาคต

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ข้อมูลเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการตัดสินใจ การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลจากบริเวณพื้นที่ที่มีความกว้างมากๆ จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสม พร้อมกับระบบการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกสิ่งที่มาพร้อมกับการพัฒนาคือความต้องการทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับสารารณะ การนำระบบอากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ถือเป็นเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการแบบดั้งเดิมเพื่อให้การทำงานที่มีความง่ายและสนุกมากขึ้น เตรียมพบกับสุดยอดอากาศยานไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรมจาก Sichuan Aossci Technology ได้ที่บริษัท ดิจิตอล โฟกัส จำกัด เร็วๆนี้

บริษัท ดิจิตอลโฟกัส จำกัด
2782/4-6 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ กทม. 10240
Hotline : 02-136-8989
Fax : 02-733-9075
Email : sales@digitalfocus.co.th

digitalfocus.co.th