Google เปิดตัว ‘MusicLM’ เอไอสร้างเสียงเพลงจากคีย์เวิร์ด

Share

Loading

Google ซุ่มพัฒนา ‘MusicLM’ เอไอสร้างเสียงเพลงจากคีย์เวิร์ดที่มนุษย์ป้อน คาดว่า จะมาสู้ศึกกับ Jukebox ของบริษัท OpenAI

นอกจากเราจะมีเอไอช่วยสร้างภาพประกอบจากข้อความอย่าง มิดเจอร์นีย์ (Midjourney) ล่าสุดทาง กูเกิล เปิดเผยข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับ มิวสิกเอลแอม (MusicLM) ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถรังสรรค์เสียงเพลงและเสียงดนตรีตามข้อความบรรยายที่ป้อนเข้าไป

ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีเอไอที่สามารถสร้างเสียงดนตรีจากคีย์เวิร์ดได้ อย่างเช่น AudioML ของ Google และ Jukebox ของ OpenAI หากแต่ MusicLM มีจุดเด่นคือ ไอเอจะมีฐานข้อมูลเพลงอยู่ในระบบกว่า 28,000 เพลง ดังนั้น ไอเอจะสามารถสร้างเสียงเพลงได้หลากหลายแนว มีโทนอารมณ์ของเสียงเพลงเหมาะสมกับข้อความที่มนุษย์ป้อนเข้าไป คล้ายกับการทำงานของไอเอสร้างภาพ

เอไอไม่เพียงแต่สามารถรวมแนวเพลงและเครื่องดนตรีเข้าด้วยกันเท่านั้น แต่ยังเขียนเพลงโดยใช้แนวคิดเชิงนามธรรม (abstract concept) ที่ปกติแล้วคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ยาก

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการการผสมผสานระหว่างดนตรีแดนซ์และเร็กเก้ ด้วยการป้อนคีย์เวิร์ด “แนวอวกาศ หลุดโลก” เข้าไป และสั่งเพิ่มว่า ดนตรีจะให้ความรู้สึกพิศวงและน่าเกรงขาม MusicLM สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ รวมถึงเทคโนโลยีนี้ยังสามารถสร้างเมโลดี้โดยอิงจากเสียงฮัม เสียงผิวปาก หรือคำอธิบายของภาพวาด โหมดเนื้อเรื่องสามารถต่อคำอธิบายต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างชุดดีเจหรือเพลงประกอบได้

แต่อย่างไรก็ตาม MusicLM ยังมีปัญหาเช่นเดียวกับไอเอเจ้าอื่น ๆ คือ การแต่งเพลงในรูปแบบประหลาด และเสียงร้องมักจะฟังไม่เข้าใจ แต่โดยรวมถือว่าสามารถทำงานได้ดีกว่าที่คิด โดยเฉพาะการทำอะไรซ้ำ ๆ นาน ๆ ที่มนุษย์อาจทำได้ยาก

ขณะนี้กูเกิลกำลังอยู่ในช่วงวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติม ยังไม่เปิดให้ใช้บริการ เนื่องจากกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะกลัวว่าเอไอจะไปดึงทำนองหรือเพลงที่ใกล้เคียงกับเพลงที่มีเจ้าของผลงาน และยังคงต้องรอขอใบอนุญาตสำหรับการทำเพลง เพราะไม่อย่างนั้น หากมีข้อผิดพลาดก็อาจจะไปซ้อนทับอย่างคดีของมิดเจอร์นีย์ที่ถูกศิลปินฟ้องร้อง เนื่องจากเอไอนำส่วนประกอบของภาพวาดมาใช้ในผลงาน

ปัจจุบันมีการใช้เอไอในการทำเพลงอยู่บ้างแล้ว เช่น ศิลปินอย่าง Holly Herndon และ Arca ที่ใช้อัลกอริธึมในการผลิตอัลบั้มและเพลง คาดว่า MusicLM คงจะได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์และให้ได้ลองเข้าไปใช้งานในเร็ว ๆ นี้

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1050712