กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นปรับทัพใหม่ สู่ Net Zero

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

‘ญี่ปุ่น’ เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อนอย่างหนักตลอดทศวรรษที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของประเทศเผชิญกับพายุขนาดใหญ่พัดกระหน่ำใส่ เกิดเหตุน้ำท่วมซ้ำซาก เดือดร้อนกันถ้วนหน้า

ในบรรดาผู้ได้รับผลกระทบ ‘กองกำลังป้องกันตนเอง’ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ถูกระบุว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อนค่อนข้างหนัก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ๆ รัวๆ ทำให้ไม่สามารถนำเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ออกจากคลังแสงได้ มีทั้งน้ำท่วมและดินถล่มปิดเส้นทาง รวมถึงยังทำให้ระบบการสื่อสารใช้การได้ไม่สมประกอบ

มากไปกว่านั้น แทนที่จะได้ปฏิบัติภารกิจทางการทหาร แต่กองกำลังป้องกันตนเองต้องมาช่วยประชาชนจากภัยพิบัติกันอยู่บ่อยๆ (แบบเดียวกับที่คนไทยคุ้นตา) แถมยังต้องใช้เวลาในการทำงานส่วนใหม่นี้นานขึ้นตามปริมาณภัยพิบัติที่พบบ่อยขึ้น ซึ่งก็ลดทอนประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่หลักลง หรือแทนที่จะได้ไปอบรมในหลักสูตรทางการทหาร กิจกรรมตรงนี้ก็ต้องถูกตัดออกไป ไม่สามารถพัฒนาบุคลากรให้ดีขึ้นได้

จากปัญหาที่เจออยู่ ประเมินว่ากลยุทธ์ทางการทหารที่เคยวางๆ กันไว้คงเอามาใช้ในอนาคตไม่ได้ เมื่อสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงเพราะภัยพิบัติ อีกทั้งคลังแสงหลายๆ แห่ง เช่น จังหวัดนางาซากิ คานางาวะ และโอกินาวะ มีความเสี่ยงมากขึ้นจากคลื่นพายุซัดฝั่ง น้ำท่วม และการกัดเซาะชายฝั่ง หรือในภาพกว้าง ผลกระทบไม่ได้หมายความถึงความมั่นคงของญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพันธมิตรทางทหารของประเทศจะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น กองกำลังของอินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ที่ตอนนี้กำลังลำบากไม่ต่างกันเพราะการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของทั้งโลกยังเป็นไปอย่างล่าช้า

เมื่อองค์กรที่ต้องดูแลความมั่นคงของชาติเกิดความไม่มั่นคงเสียเองก็คงไม่ดีแน่ๆ ซึ่งนั่นก็นำมาสู่การปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ในกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น

ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น ได้ออกมาประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ว่า หน่วยงานนี้จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 ซึ่งจะเน้นไปที่การพัฒนา วิจัย ผลิตและจัดหา พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นการทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรเพื่อกำหนดทิศทางให้สอดคล้องกัน ตัวอย่างเช่น ในญี่ปุ่นมีฐานของสหรัฐฯ ตั้งอยู่ ก็ต้องปรับมาใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนทัพพันธมิตรร่วมกัน และก็คงไม่มีประโยชน์หากเราเปลี่ยนแล้ว แต่เพื่อนเรายังเคลื่อนทัพด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่

ในทางกายภาพ มีเรื่องการย้ายกองบัญชาการ และปรับยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้ทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น

หรือในด้านงานช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติ ก็ปรับให้นำกองกำลังที่เกษียณแล้ว หรือรับสมัครอาสาสมัครมาทำงานแทน โดยกองกำลังป้องกันตนเอง มีหน้าที่เพียงกำกับดูแล แต่จะไม่เสียกำลังพลไปกับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมากอย่างที่แล้วๆ มา

อย่างไรก็ดี การปรับตัวและเตรียมความพร้อมให้กับกองกำลังป้องกันตนเอง แม้อาจมองได้ว่า เป็นการตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกอย่างมีส่วนร่วมไปพร้อมๆ กับการขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero กับหน่วยงานอื่นๆ ก็ตาม แต่สุดท้าย หากมนุษยชาติยังคงห้ำหั่นทำสงครามกันอยู่ ต้นตอของปัญหาโลกร้อนก็ไม่ถือว่าถูกกำจัดลงจริงๆ

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/brandthink.me/photos/a.1767934240198787/3609927332666126/