EA เผย ไทยต้องเป็นผู้ขายเทคโนโลยีบ้าง แต่ติดที่โครงสร้างประเทศไม่เอื้อ

Share

Loading

EA เจ้าของบมจ. พลังงานบริสุทธิ์ กล่าวว่า ไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตเทคโนโลยี จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ขายเทคโนโลยีบ้าง ไม่ใช่ซื้อลูกเดียว แต่ติดที่โครงสร้างประเทศไม่เอื้อ

วันที่ 30 มีนาคม 2566 กรุงเทพธุรกิจ ได้เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

ในช่วงของการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว โดยวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลก

คุณอมร ทรัพย์ทวีกุล บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ได้แสดงความคิดเห็นในด้านการดำเนินธุรกิจของตนไว้ว่า การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวมันมีต้นทุน หากจะให้ภาคธุรกิจรับผิดชอบผู้เดียวมันก็ไม่ได้ การซื้อขายส่วนใหญ่ เราอยากให้ไทยเป็นผู้นำในการขายบ้าง ไม่ใช่รับซื้อเทคโนโลยีเข้ามาอย่างเดียว คนไทยมีความสามารถที่ไม่ได้แสดงออกมาอีกเยอะ

แล้ว EA ทำอะไรได้บ้างเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว

EA มีธุรกิจเด่น ๆ 3 ธุรกิจ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน, ปาล์มน้ำมัน (Bio Diesel) และแบตเตอรี่

ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ก็จะมีพลังงานสะอาด 2 อย่างที่ผลิตและจ่ายออกไป คือโซลาร์เซลล์และพลังงานลม ส่วนใหญ่ส่งจ่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (EGAT)

ปาล์มน้ำมัน เรามองเห็นประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจไทย เลยปรับมาทำให้เป็น Green Diesel น้ำมันที่จะไม่ปล่อยมลพิษมากเกินไป สามารถนำไปทำ Bio-Jet Fuel ได้ เช่น น้ำมันสำหรับเรือสำราญ น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี Bio PCM การออกแบบวัสดุ เช่น การก่อสร้างอาคาร ให้สามารถกักเก็บพลังงานไว้ในตัวเอง ซ่อนพลังงานที่ได้รับหรือดูดซับความร้อนได้ ทำให้การใช้พลังงานภายในอาคารลดน้อยลง สามารถใช้ได้ อาทิ ซีเมนต์ ฝ้า หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้า เพื่อปกป้องอุณหภูมิภาคนอก ทำให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน

แบตเตอรี่ EA เป็นเจ้าของ MINE ที่ร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาขนส่งสาธารณะในไทยให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ยานยนต์ EV อาทิ รถเมลล์ไฟฟ้า (MINE BUS), เรือไฟฟ้า (MINE Smart Furry), หัวรถจักรไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้น

เราต้องเลิกเป็น Buyer และเปลี่ยนมาเป็นผู้ขายเทคโนโลยีของเราเองบ้าง แต่ติดตรงที่ประเทศไทยไม่เอื้อที่จะสร้างเทคโนโลยีของเราเองไปขายได้ ดังนั้น เราต้องกลับมาศึกษาโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงมันให้เป็นไปได้

EA ให้ความสำคัญด้านโลจิสติกส์มากกว่า ทำไม?

ในกลุ่มธุรกิจทั้งหมด EA ให้ความสนใจกับโลจิสติกส์มากที่สุด เพราะเราเน้นขายให้กับผู้ซื้อรายใหญ่อยากภาคเอกชนพาณิชย์มากกว่ากลุ่มปัจเจกบุคคล

ยกตัวอย่าง เราเน้นที่เจ้าของคอนโด เราไม่เน้นลูกบ้านของคอนโด เพราะหากเรามุ่งขายให้กับเจ้าของคอนโด พนักงานใต้การควบคุมของเขาจะต้องใช้งานของ ๆ เราอยู่ดี ต่างกับภาคปัจเจกบุคคลที่มีรสนิยมหรือความชอบไม่เหมือนกัน ซึ่งเราไม่สามารถสร้างความหลากหลายได้มากขนาดนั้นสำหรับสินค้าขนาดใหญ่แบบนี้

นอกจากนี้ EA ยังมีส่วนในการผลิต EV Charging Station ซึ่งมันยังคงเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย เพราะเราเพิ่งเปลี่ยนผ่านการใช้เทคโนโลยีนี้ไม่นาน ปัญหาอยู่ที่ความเพียงพอที่ไม่พอกับความต้องการการใช้งาน โดยเฉพาะหากมองในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโดต่าง ๆ เริ่มมีปัญหาแท่นชาร์จไม่พอ

เช่น คอนโดหนึ่งมีที่จอดรถ 600 คัน แต่มีแท่นชาร์จ 50 แท่นเรารถชาร์จทิ้งไว้ แต่เต็มตอนตี 2 เราต้องรีบวิ่งมาเอารถออก เพื่อให้คนอื่นได้ใช้ และต้องวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น เจ้าของคอนโดคือผู้ผูกขาดที่ต้องมองความต้องการให้ออก

EA มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องของการผลิตแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ของ EA เมื่อหมดสภาพการใช้งานจะต้องนำกลับมาเพื่อรีไซเคิลและเปลี่ยนให้เป็นแบตเตอรี่ตัวใหม่ด้วยวัสดุภายในที่ยังกลับมาใช้ใหม่ได้ และที่สำคัญ แบตเตอรี่ทุกตัวของ EA จะต้องสามารถติดตามได้ว่ามันเปลี่ยนมือไปอยู่ที่ใคร เปลี่ยนไปกี่มือ เพื่อที่จะได้นำกลับมารีไซเคิลได้ถูกต้อง

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/keep-the-world/energy/836964