เจาะลึกการพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบรองรับ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

Share

Loading

ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดตั้ง 4 เสาหลักเพื่อ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมั่นคงยั่งยืน โดยประกอบด้วย

เสาที่ 1 แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรนา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นเครื่องมือกำหนดกรอบและขอบเขตการทำงานและแนวทางการขับเคลื่อน

เสาที่ 2 การจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานด้านน้ำมากกว่า 40 หน่วยงาน

เสาที่ 3 กฎหมาย (พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561) เป็นศูนย์กลาง กำหนดหน้าที่และอำนาจขอบเขตการบริหารจัดการน้ำ

เสาที่ 4 นวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีผลงานวิชาการมาใช้ขับเคลื่อนแผนแม่บททรัพยากรน้ำ เป็นการบริหารจัดการน้ำให้ทันสมัยเน้นการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบข้อมูลอย่างรวดเร็ว และถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์ วางแผนบริหารจัดการและติดตามประเมินผล

ในปัจจุบันพบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ยังไม่บูรณาการเพียงพอที่จะตอบบริบทปัจจุบันและไม่เพียงพอต่อการรับมือต่อความเสี่ยงในอนาคตที่มีความผันผวนสภาพอากาศ เพราะจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรายงานธนาคารโลก (World Bank Group, 2022) ได้รายงานความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Climate Risk Country Profile Thailand) ว่าในภาพรวมประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อภัยธรรมชาติอันดับที่ 81 จาก 191 ประเทศ โดยมีความเสี่ยงสูงต่อน้ำท่วมอันดับ 9 เสี่ยงสูงต่อภัยแล้งอันดับ 29 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดพายุหมุนเขตร้อน อันดับ 27 ในขณะที่ความสามารถในการรับมือหรือการจัดการน้ำต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก

เรียนรู้จากต้นแบบ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อมวิเคราะห์ช่องว่างระบบการบริหารจัดการน้ำของไทย

จากการศึกษาการบริหารจัดการนำแบบบูรณาการของต่างประเทศพบว่าในแต่ละประเทศมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำให้สอดรับกับบริบทของประเทศตนเอง รวมถึงมิติทางภูมิศาสตร์และมิติทรัพยากรนาที่เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพิจารณาแรงผลักดันที่มี (Pressure) และ Global Trend ต่างๆ เป็นแรงหนุนเสริมทางอ้อม ซึ่งทรัพยากรน้ำเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ขับเคลื่อนหลายภาคส่วนและรายสาขาต่างๆ (Sector)

ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและการปฏิรูปเชิงโครงสร้างหน่วยงาน/องค์กร หน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานคือเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานข้ามหน่วยงาน และลดความซ้ำซ้อนของการทำงานเพื่อประหยัดทรัพยากร (คนงบประมาณและเวลา) อาทิ

ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการตั้งกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการนำ (Ministerie van Infrastructuur en Waterstaat) มีอำนาจควบคุมการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการนำแบบบูรณาการและครบวงจรตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และพื้นที่พิเศษ และมีคณะกรรมการเดลต้า (Delta Commissioner) ทำหน้าที่ประสานงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำทุกระดับ

ประเทศญี่ปุ่น มีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการนำในระดับลุ่มน้ำ และมีคณะกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำ (the River Basin Comprehensive Water Resources Management Committee) เป็นหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่ประสานัการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคมของแต่ละลุ่มน้ำร่วมกับรัฐบาลกลาง

สาธารณรัฐเกาหลี มีกระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการที่ครอบคลุมประเด็นด้านน้ำในระดับประเทศและระดับภูมิภาคที่สำคัญไว้เกือบครบถ้วน และดำเนินการร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ภายใต้การกำกับของสถาบันน้ำแห่งชาติ (National Water Council) และมีการดำเนินงานในระดับภูมิภาคผ่าน 2 กลไกสำคัญ คือคณะกรรมการลุ่มน้ำ (River Basin Committees) ทั้ง 4 ลุ่มน้ำ และสำนักงานภูมิภาค (Local Authorities) ด้านการบริหารจัดการน้ำและด้านการป้องกันอุทกภัย

ฮาวทูปิดช่องว่างระบบการบริหารจัดการน้ำ 3 ระดับ

จากการทบทวนตัวชี้วัดการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันของประเทศไทยและกรณีศึกษากับต่างประเทศ กรอบการวิเคราะห์เชิงระบบการบริหารจัดการน้ำ และประเด็นจากการรับฟังข้อคิดเห็นช่องว่างจากผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ สามารถนำมาวิเคราะห์ ตามหลักการธรรมาภิบาลน้ำ (Water Governance) ของ OECD และสรุปเป็นช่องว่างระบบการบริหารจัดการน้ำของประเทศ 3 ลำดับจากการประเมิน ได้แก่

ระดับประเทศ

มีจำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานกลางอย่าง สทนช. เพื่อบูรณาการแล้วแต่ยังคงเป็นช่องว่างของการบริหารจัดการน้ำเชิงระบบที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบการทำงานที่ใช้ Digital Transformation มากยิ่งขึ้นที่จะทำให้เกิด Smart Management System อาทิ หน่วยควบคุมด้านน้ำ (Regulator) มีหลายหน่วยงานตั้งแต่ระดับกรมจนถึงระดับนโยบายประเทศ การบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการน้ำยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังคงแบ่งแยกทรัพยากรน้ำตามแหล่งน้ำ (น้ำฝน น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน) ซึ่งขัดกับหลักความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของทรัพยากรน้ำพื้นฐานตามวัฏจักรน้ำ (Water Cycle)

ดังนั้น การบริการจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาทั้งในมิติด้านการจัดสรร การใช้การพัฒนา การบริหารจัดการการบำรุงรักษา การพื้นฟูการอนุรักษ์ และสิทธิในน้ำ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ ถึงปลายน้ำ ก็เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารทรัพยากรน้ำให้มีความประสานสอดคล้องกันในทุกมิติอย่างสมดุลและยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์แก่การบริหารสาธารณูปโภคและประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ตามเจตนารมณ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ. น้ำ พ.ศ. 2561 ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ เพราะแต่ละพื้นที่ยังมีการบริหารจัดการโดยยึดหลักกฎหมายเฉพาะของตนเองเป็นหลัก

ระดับพื้นที่/ลุ่มน้ำ

มีคณะทำงานน้ำในระดับพื้นที่แต่ต้องมีกระบวนการ/ กลไกการเชื่อมต่อการทำงานในการออกแบบนนโยบายในระดับจังหวัดเช่นกัน รวมทั้งในองค์กรระดับพื้นที่ต้องมีเรื่องระบบกองทุนเข้ามาหนุนเสริมงบประมาณการทำงานในระดับปฏิบัติการในพื้นที่

ระดับชุมชน

หน่วยงานในระดับนี้ต้องมีความรู้ความสามารถ และงบประมาณรวมทั้งประเด็นการทำงานโดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียยังคงเป็นช่องว่างจากทั้งเรื่องคนและงบประมาณ อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องนโยบายและมาตรการ (Water Policy/Measures) ยังคงเป็นประเด็นทั้ง 3 ระดับเช่นกัน และมีลักษณะคล้ายกันคือต้องมีมาตรการที่เป็นนวัตกรรมเสริมสร้างการทำงานและเกิดการบริหารจัดการน้ำ

ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำตามหลักธรรมาภิบาลและความมั่นคงด้านน้ำ

จากผลการวิเคราะห์ตามหลักธรรมาภิบาลน้ำ (Water Governance) และกรอบการประเมินตามที่ออกแบบระบบการบริหารจัดการน้ำนั้นสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการบริหารจัดการนำตามหลักธรรมาภิบาลและความมั่นคงด้านน้ำที่ดียิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัย เพื่อขับเคลื่อนและนำไปสู่การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้

  • ตัวอย่างของรูปแบบการบริหารจัดการน้ำของต่างประเทศต้องมีการเปรียบเทียบเชิงโครงสร้างการกระจายตัวของโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ ลุ่มน้ำสาขา การกระจายโครงสร้างประชากร ผังเมือง
  • กระบวนการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำ ต้องคำนึงถึงเชิงระบบเพื่อไม่แก้ปัญหาหนึ่งและสร้างปัญหาหนึ่งอาจต้องหาจุดคานงัดของระบบที่เป็นแก่นของปัญหาเชิงระบบ
  • ต้องมีระบบการตรวจสอบการทำงานเชิงตัวชี้วัดน้ำตัวชี้วัดทางอ้อมที่เป็นการบ่งบอก Water Performance อาทิประเด็น Water-Energy-Food NEXUS เศรษฐกิจ เป็นต้น และระบบการตรวจสอบนี้มีเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการทำงานและการปรับปรุงเชิงระบบมากกว่ามุ่งเน้นการตรวจสอบ
  • ต้องคำนึงถึงระบบ/ระเบียบราชการเชิงโครงสร้างของประเทศประกอบเนื่องจากออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำแล้ว แต่อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ออกแบบได้เนื่องจากโครงสร้างของประเทศไม่อำนวยอาจต้องออกแบบการลดข้อจำกัดเหล่านี้อย่างที่ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่นดำเนินการ อาทิ กระบวนการงบประมาณแผ่นดิน เป็นต้น
  • รูปแบบองค์กรการบริหารจัดการทักษะของคนในระบบ ต้องมีระบบ Mentor หรือ Coach เพื่อสร้างกลุ่มคนที่มีรูปแบบการทำงานแบบนวัตกรรม จนนำไปสู่องค์กรทางนวัตกรรม และสร้างระบบการบริหารจัดการนำที่เป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริง

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2023/07/11/water-management-with-syatem-innovation/