รัฐบาลประกาศ Smart City เมืองอัจฉริยะแล้ว 36 พื้นที่ 25 จังหวัด วางแผนตั้งเป้าเพิ่มอีก 15 เมือง เชื่อมั่นดึงดูดการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมืองกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเมืองต่าง ๆ ของประเทศไทยให้เข้าสู่การเป็นเมือง Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ
ซึ่ง กรกฎาคม 2566 นี้ รัฐบาลทำสำเร็จประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 36 เมือง ใน 25 จังหวัด เชื่อมั่นภายในปี 2566 พัฒนาเมืองอัจฉริยะเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 15 เมือง ผ่านการส่งเสริมการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน คาดว่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนได้มากกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายด้าน Smart City อย่างต่อเนื่อง ตามหลักการพัฒนา 5 เสาหลัก ได้แก่
1 พัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมายในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ สำหรับการดำเนินงานนำร่อง
2 ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
3 สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ
4 ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
5 ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล
ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) รวมถึงภาครัฐและเอกชนหลายส่วน จะร่วมกันจัดงาน “Thailand Smart City Expo 2023” ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากทุกภาคส่วน
โดยการทำ Smart City นั้น มีการแบ่งหมวดหมู่เทคโนโลยีออกเป็น 7 ด้าน คือ
- Smart Telecom
- Smart Energy
- Smart Living
- Smart Industry & Retail
- Smart Mobility
- Smart Environment
- Smart Healthcare
ซึ่งจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำกว่า 300 บริษัท เป็นประโยชน์ต่อดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งข้อมูล