“สรรค์สร้างชุมชนนวัตกรรมด้านการจัดการขยะ ด้วย Smart Trash Bin for Smart City : STB4SC”

Share

Loading

ปัจจุบันปัญหาจำนวนขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม

และปัญหาโลกร้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของเราทุกคน อาทิ ขยะที่เกิดจากการบริโภค การส่งเสริมท่องเที่ยวการเติบโตของสินค้า บริการ นโยบายส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยมีข้อมูลเชิงปริมาณที่บ่งบอกถึงประเภทและปริมาณขยะโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาณขยะ

(1.) ขยะย่อยสลายได้ 46 %

(2.) ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ 42 %

(3.) ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล 9 %

(4.) ขยะพิษหรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 3 %

ซึ่งหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล กำลังดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวฯ

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร           เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยมีการพัฒนานวัตกรรม ระบบ Smart Trash Bin for Smart City : STB4SC” ขึ้น เพื่อช่วยในกระบวนการวางแผนและบริหารจัดการเก็บขยะ วิเคราะห์เส้นทางการเก็บขยะตามจุดต่าง ๆ ที่มีการแจ้งเข้ามาใน Monitor ของเทศบาล โดยมีการเริ่มนำร่องในชุมชนน้ำอูนรุ่งเรือง เทศบาลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยเมื่อทำการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ ในรอบ 1 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า สามารถลดระยะทางและระยะเวลาได้ถึง 53 % อนึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเทศบาลพรรณานิคม ได้มีการเชิญผู้นำชุมชนอีก 7 ชุมชนประชุมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในภาพรวมทั้งหมด 8 ชุมชน    พร้อมทั้งจะมีการนำกิจกรรมการคัดแยกขยะและขยะเปียกทำปุ๋ยกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งอีกไม่นานจะมีการนำนวัตกรรมด้านการคัดแยกขยะและเพิ่มมูลค่าในชุมชน โดยการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันระหว่างคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีและวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนและวิสาหกิจชุมชนต่อไปในอนาคต ผ่านการ “สรรค์สร้างชุมชนนวัตกรรมด้านการจัดการขยะ ด้วย Smart Trash Bin for Smart City : STB4SC”

คุณสมบัติพื้นฐาน
  • ออกแบบมาโดยใช้หลักการใช้งานที่ง่าย เหมาะสำหรับชุมชนและชาวบ้าน
  • แจ้งเตือนปริมาณขยะเต็ม ผ่านระบบที่ Run On Server
  • การแจ้งเตือนสามารถติดตามได้ผ่าน Monitor (PC & Mobile) และ line notify
  • การติดตั้งฐานข้อมูลลงใน Server ครั้งเดียวและสามารถขยายพื้นที่ในการดำเนินการได้แบบไม่จำกัดจำนวนชุมชน
  • มี dashboard เพื่อรายงานสถิติแบบเรียลไทม์

ประโยชน์การใช้งาน
  • สามารถวิเคราะห์และวางแผนเส้นทางการเก็บขยะในชุมชนได้
  • สามารถวิเคราะห์และวางแผนปริมาณขยะในชุมชนได้
  • แจ้งเตือนเมื่อปริมาณขยะในจุดนั้นเต็ม ผ่าน Application Line Dashboard
  • รถเก็บขยะและพนักงานเก็บขยะสามารถทราบในแต่ละจุดโดยไม่ต้องจอดรถและลงไปเปิดดูปริมาณขยะในถังขยะ ลดการจอดและลดระยะเวลา
  • สามารถแจ้งได้ทุกพื้นที่โดยการจัดการที่ง่ายและรวดเร็ว
  • รองรับการใช้งานผ่าน Web browser ทั้ง PC และ Smart Phone iOS / Android

คณะทำงาน

คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยา แก้วอาษา  คณบดี

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัณหวัจน์   ทองแดง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

3. ดร.มีแสน แก่นชูวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฯ

4. นายอภิชาต ราชคำ              

5. นางเยาวภา ราชคำ           

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม

1. ดร.อภิรักษ์ ทูลธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ