เจาะเศรษฐกิจ ‘ซูเปอร์แอป’ คีย์ซัคเซสโอกาส ‘ธุรกิจ’ ในไทย

Share

Loading

‘ปับลิซีส เซเปียนท์’ วิเคราะห์ ‘ไทย’ มีความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และมีโอกาสเติบโตของธุรกิจ จาก เศรษฐกิจซูเปอร์แอป โดยช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจที่เกิดจาก ซูเปอร์แอป (Superapp) ในไทยมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ซูเปอร์แอป คือ แอปพลิเคชันขนาดใหญ่ของธุรกิจนานาประเภทบนมือถือที่ครอบคลุมทุกบริการและโซลูชันอันหลากหลายรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานทำกิจกรรมทุกอย่างได้ครบจบภายในแพลตฟอร์มหรือระบบนิเวศเดียว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยโตโดดเด่น

ปับลิซีส เซเปียนท์ บริษัทผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยกำลังพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง มียอดตัวเลขของเศรษฐกิจด้านดิจิทัลสูงเกือบ 1 ใน 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม โดยคาดว่าจะมีมูลค่า 53 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 และมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ 15%

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 90% มีผู้ใช้เกือบ 90% ทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งอัตราความนิยมใช้งานประเภทดิจิทัลที่สูงมากขึ้น ผนวกกับความต้องการใช้บริการต่างๆ ผ่านช่องทางบนมือถือก่อนช่องทางประเภทอื่น (Mobile-first services) มากขึ้นนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยได้เปรียบเชิงกลยุทธ์หากจะพัฒนาและใช้ประโยชน์จากซูเปอร์แอป เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และสร้างประสิทธิภาพระบบให้ดียิ่งขึ้น

ไทเลอร์ มิวนอซ หุ้นส่วนอาวุโสประจำภูมิภาคอาเซียนที่ ปับลิซีส เซเปียนท์ กล่าวว่า การใช้ ซูเปอร์แอป ที่องค์กรได้รวบรวมบูรณาการบริการที่หลากหลายไว้ในแพลตฟอร์มเดียวนี้แล้ว ช่วยองค์กรลดต้นทุนของการให้บริการสำหรับลูกค้าปลายทาง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่มากมายนอกเหนือจากบริการหลักที่องค์กรมีอยู่

“เราเห็นว่า ซูเปอร์แอป จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องไปกับยุทธศาสตร์การเร่งใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเพื่อเปิดรับการขยายของภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน”

คีย์ซัคเซสเศรษฐกิจซูเปอร์แอป

มีคำแนะนำ 3 เรื่อง ที่ช่วยองค์กรกำหนดแนวทางอันเหมาะสม และประสบความสำเร็จในซ Superapp ของตนเอง ดังนี้

1. ระบุเป้าหมายแห่งชัยชนะด้วยผลิตภัณฑ์ซึ่งเหมาะกับตลาดที่แท้จริง รูปแบบธุรกิจที่มีศักยภาพ อยู่ที่การสร้างวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ ที่จะใช้ขับเคลื่อนโครงการ Superapp ขององค์กร ไม่ว่าจะเพื่อการเจริญเติบโตหรือการปกป้องส่วนแบ่งการตลาด

ขณะที่ องค์กรต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ รวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างๆ ภูมิทัศน์พันธมิตรเป้าหมาย แนวทางของความร่วมมือกับพันธมิตร โมเดลทางธุรกิจ กฎระเบียบที่มีผลกระทบกับธุรกิจ

ด้านเทคโนโลยี ต้องพิจารณาถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมและความสามารถแพลตฟอร์ม ซึ่งจะกำหนดอุปกรณ์ประกอบหลักประเภทต่างๆ และช่วยตัดสินใจต่อไปได้ว่าจะสร้าง ซื้อ หรือนำอะไรกลับมาใช้ใหม่อย่างไร ซึ่งจะกำหนดรูปแบบเทคโนโลยีพื้นฐานที่องค์กรต้องจัดหา

2. กำหนดเส้นทางสร้าง MVP อาศัยผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กรและความร่วมมือกับพันธมิตรกลุ่มต่างๆ และทดสอบกับตลาดที่รวดเร็ว บูรณาการแบบองค์รวม ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เชื่อมโดยงจุดสัมผัสต่างๆ ตลอดการเดินทางของลูกค้า ใช้สถิติเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนในเชิงรุกมาช่วยระบุจุดปัญหาและช่องว่างต่างๆ ขณะที่เป็นการจัดมอบบริการที่ลูกค้าต้องการและมีคุณค่า

MVP คือ การเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งต้น (Minimum Viable Product: MVP) ที่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้งานได้ เพื่อสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็วและทดสอบแนวคิดซ้ำๆ เพื่อรวบรวมคำติชมและปรับปรุงในเวลาเดียวกัน

3. ใช้ AI และ ML สร้างประสบการณ์ที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้งาน ในการสร้าง Superapp ที่ประสบความสำเร็จนั้น องค์กรต่างๆ จะต้องเข้าใจพฤติกรรมและความชื่นชอบของลูกค้า เพื่อสร้างคำแนะนำและบริการที่เหมาะให้แต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น อันจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและความภักดีของลูกค้า ซึ่งสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงประวัติการซื้อของลูกค้า พฤติกรรมการเรียกดู คำค้นหา และตัวชี้วัดอื่นๆ และจะส่งผลช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเตรียมตัวสร้างระบบการแนะนำแบบเฉพาะตัว (Hyper-personalized recommendation systems) ที่ตรงกับลูกค้ามากขึ้น โดยจะสามารถทำนายรูปแบบการบริโภคของลูกค้า และการวิเคราะห์กิจกรรมของลูกค้าได้อีกด้วย

เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวและสะดวกสบายที่ตรงกับความต้องการของพวกเขามากขึ้น เฟรมเวิร์ก Superapp สามารถเข้าถึงเครื่องมือประเภทต่างๆ สำหรับงานหรือบริการเฉพาะได้ จึงเป็นโซลูชันที่เหมาะสมในการยกระดับประสบการณ์ชั้นเยี่ยมของผู้ใช้ผ่านมือถือและโลกดิจิทัล

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1099651