Google เจอปัญหา “คอนเทนต์สแปม การทำ SEO และ AI” เสิร์ชเจอแต่ขายของ!

Share

Loading

เครื่องมือค้นหาของกูเกิล (Google Search) กำลังแย่ลง จาก คอนเทนต์สแปม การทำ SEO และ AI นักวิจัยตั้งคำถาม ผู้ใช้งานเสิร์ชแล้วเจอแต่ขายของ

Google Search กำลังมีปัญหา จากสแปม การทำ SEO และ AI

สำนักข่าว Business Insider รายงานว่า เสิร์ชเอนจินหรือเครื่องมือค้นหายอดฮิตอย่าง Google (กูเกิล) กำลังประสบปัญหาย่ำแย่หนัก เพราะทุกวันนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา Google Search เต็มไปด้วยคอนเทนต์สแปม หรือเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ อันเป็นผลมาจากการทำการตลาด โดยเฉพาะการทำ SEO  (Search engine optimization) หรือการทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานค้นเจอโพสต์นั้นๆเป็นอันดับแรกๆ และยังมีเนื้อหาที่ผลิตโดย AI (เอไอ) เกลื่อนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานประสบความลำบากมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ

ผู้ใช้งาน Google Search ค้นหาแล้วเจอแต่ขายของ

นักวิจัยในเยอรมนีทำการศึกษาด้วยการค้นหารีวิวสินค้าที่มีการเสนอให้ทดลองและแนะนำการซื้อ ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีในการศึกษารีวิวเหล่านั้นมากกว่า 7,400 รีวิวบนเว็บไซต์ค้นหาหลักทั้ง Google บิง และดักดักโก พวกเขาพบว่า เครื่องมือค้นหาเหล่านั้นมีปัญหาตรงที่มักจะมีลิงก์ช่วยขายของคู่ค้าปรากฏขึ้นมา  ซึ่งลิงก์เหล่านี้มักจะถูกใส่เอาไว้เพื่อให้ลูกค้าสามารถกดเข้าไปดูและสั่งซื้อสินค้าได้เลย และปัญหาก็คือ มันทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานลดลง

ตามปกติแล้ว คนที่ใช้งานเครื่องมือค้นหามักจะไว้ใจเว็บไซต์นั้นๆอยู่แล้วว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดี และลิงก์ขายของเหล่านั้นก็เลยได้ผลพลอยได้ในเรื่องความน่าไว้วางใจไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน มันก็สร้างความตึงเครียดระหว่างเจ้าของลิงก์ขายของ ผู้ให้บริการเว็บไซต์เครื่องมือค้นหา และผู้ใช้งาน

นอกเหนือไปจากการตลาดแล้ว ปัจจุบันนี้ยังมีเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เกลื่อนอินเทอร์เน็ตไปหมด นักวิจัยระบุว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากเว็บไซต์เครื่องมือค้นหาก็ดูเหมือนจะเลวร้ายลงไปอีก

โฆษกของกูเกิลเปิดเผยกับ Business Insider ว่า ผลการศึกษาดังกล่าวมองคอนเทนท์รีวิวสินค้าแบบแคบๆ ดังนั้นมันจึงไม่ได้สะท้อนคุณภาพในภาพรวมทั้งหมดของเครื่องมือค้นหาของกูเกิล และกูเกิลได้เปิดใช้งานตัวปรับปรุงอย่างเจาะจง เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่า ปัญหาของบรรดาเว็บไซต์เครื่องมือค้นหาควรจะได้รับความสนใจมากกว่านี้ และนับจนถึงตอนนี้ นักวิจัยก็ยังไม่พบว่า มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังชัดเจน

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/847171