“พี่มิจ” ยุค 5G ใช้ Deepfake หลอกเงินออนไลน์

Share

Loading

ปัญหาการใช้ AI Deepfake ในแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่อกลุ่มผู้สนับสนุน “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้มีการ Generate และเผยแพร่ “ภาพผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิวดำ” ผ่านการทำแบบปลอมๆ ขึ้นมาโดย “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI (Artificial Intelligence) เพื่อกระตุ้นให้ชาว “แอฟริกัน-อเมริกัน” ลงคะแนนเสียงให้รีพับลิกัน

มาในตอนนี้ ได้มีการ Generate ภาพและเสียง หรือวิดีโอ ของผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ชักชวนผู้คน Add เข้า “กลุ่มไลน์” เพื่อรับคำแนะนำด้านการลงทุน ผิดก็แต่ว่า ภาพและเสียงที่ดูน่าเชื่อถือเหล่านี้ คือ AI: Deepfake ที่ “มิจฉาชีพ” หรือ “พี่มิจ” ยุค 5G ได้ Generate ขึ้น เพื่อหลอกเงินจากผู้หลงเชื่อ

Deepfake คือการใช้ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI (Artificial Intelligence) เพื่อภาพและเสียง หรือวิดีโอ ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยการดัดแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวของใบหน้า และร่างกาย ให้สอดคล้องกับพฤติกรรม หรือคำพูดของ “คนต้นแบบ” ด้วยคำสั่ง Prompt

“สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ระบุว่า การใช้ภาพและเสียง หรือวิดีโอ นักลงทุนผู้มีชื่อเสียง ในการหลอกลวงผู้บริโภคในรูปแบบนี้เคยมีมาก่อนแล้ว โดย “พี่มิจ” ยุค 5G ที่ดำเนินการหลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบนี้ มักมี Server อยู่ต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาตำรวจมักจับได้แค่เฉพาะกลุ่ม “บัญชีม้า” ปลาซิวปลาสร้อย

ที่ผ่านมา การใช้ AI: Deepfake เพื่อตัดต่อ และสวมรอยคนดัง เคยถูก “พี่มิจ” ยุค 5G  ระดับโลก ใช้ในการหลอกเงินเหยื่อมาแล้วมากมาย ทั้ง Facebook TikTok YouTube ไม่ว่าจะเป็น Mr.Beast ซึ่งเป็นช่อง YouTube ที่มีผู้ติดตาม “มากที่สุดในโลก” ซึ่งเพิ่งมีการจัดงานฉลองการมีผู้กดติดตาม 200 ล้านคน! ทำให้ “ใบหน้า” และ “น้ำเสียง” ของ Mr.Beast ได้กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีของ “พี่มิจ” ยุค 5G ในการ Generate AI: Deepfake เพื่อหลอกเงิน

Mr.Beast กล่าวว่า ต้องถามกลับไปว่า ทุกวันนี้ Platform สังคมออนไลน์ทั้งหลาย มีมาตรการอะไรบ้าง?

“พวกคุณ (หมายถึง Platform สังคมออนไลน์) พร้อมแล้วหรือยัง ที่จะรับมือกับ “พี่มิจ” ยุค 5G ที่ใช้ Deepfake ที่รังแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” Mr.Beast กระชุ่น

ทั้งนี้ ในทางกฎหมายแล้ว กรณี AI: Deepfake มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เหตุผลหลักก็คือ แต่ละประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกัน

ปัญหาใหญ่ก็คือ หากเกิดกรณีบริษัทสัญชาติอเมริกันถูกมิจฉาชีพปลอมแปลงเนื้อหาเพื่อหลอกเงินจากชาวอังกฤษ แต่โพสต์คอนเทนต์ในแพลตฟอร์มของจีน เราจะใช้กฎหมายอะไร หรือกฎหมายของชาติใดไปบังคับใช้กับกรณีนี้ เพราะการเลือกใช้กฎหมายระหว่างประเทศจัดการไม่ใช่เรื่องง่าย แม้อาจจะมีกฎหมายหมิ่นประมาท หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลในกรณีที่เสียงหรือภาพ และวิดีโอถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก็มีเพียงเท่านี้

ทั้งนี้ การที่จะกำหนดให้ “วิดีโอ Deepfake ทั้งหมด” เป็นสิ่งผิดกฎหมาย อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน เพราะหากทำเช่นนั้น ก็เท่ากับว่า บรรดาสเปเชียลเอฟเฟกต์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็จะผิดกฎหมายไปด้วย

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา “พี่มิจ” ยุค 5G ได้พากันใช้ AI: Deepfake กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางการยอมรับในวงกว้างจากทุกภาคส่วน ว่าในปัจจุบัน AI นั้น ทั้งทรงพลัง และมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น จนเกิดความกังวลว่า AI ในอนาคต จะสามารถ Generate วิดีโอขึ้นเอง แถม Generate ได้เก่งกว่าคนทำอีกด้วย

ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแนะนำวิธีการจับผิดวิดีโอ Deepfake แบบง่ายๆ เช่น การเสนอสิ่งของมีค่าให้โดยไม่ขออะไรตอบแทน หรือจะเป็นรูปแบบการออกเสียงต่างๆ รวมถึงการใช้ Grammar แบบผิดๆ

ส่วนในทางเทคนิคแล้ว ก็อาจจะจับผิด “วิดีโอ Deepfake” ได้ในหลายจุด ไม่ว่าจะเป็น กราฟฟิคบัญชีธนาคารที่ไม่มีมาตรฐานการวางบนหน้าจอ คล้ายกับไม่อยากให้เป็นจุดสนใจจริงๆ มากนัก

ซึ่งบ่งชี้ว่า “พี่มิจ” ยุค 5G ได้ใส่ชื่อบัญชีของตน ทับลงไปในวิดีโอต้นฉบับ เพื่อให้ผู้คนหลงเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมองหา “เครื่องหมายตรวจสอบสีน้ำเงิน” ที่สื่อสังคมออนไลน์หลาย Platform สร้างขึ้น เพื่อใช้ยืนยันตัวตนของบัญชีนั้นๆ

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2024/03/22/deepfake-online-money-scam/