รู้จัก เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV

Share

Loading

นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ ที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 2020  ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ ‘ไม่ดี’ ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

นี่อาจจะเรียกว่าเป็น กรรไกรตัด DNA  ซึ่งถืออาจจะเป็น ความหวังของการกำจัดไวรัสในร่างกายให้หมดไปในที่สุด แม้ว่าจะมีกระบวนการอีกมากเพื่อตรวจสอบว่าเทคนิคนี้จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่

ในปัจจุบันยา HIV ที่มีอยู่นั้นสามารถหยุดยั้งไวรัสได้แต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้

ทำความรู้จักเทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 2020 ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ “ไม่ดี” ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

เรื่องราวของประเด็น โรค HIV มีอยู่ในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลานานเกินกว่า 30 ปี ครั้งหนึ่งโรคนี้เคยเป็นโรคที่ทั่วโลกให้ความตระหนัก และขีดเส้นใต้ให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นโรคเชื้อไวรัส ที่อาจจะเกาะกินชีวิตให้เสื่อมโทรมและไวรัสจะค่อยๆกัดกินชีวิตลงได้ 

HIV กับ เอดส์ต่างกันอย่างไร?

หลายๆคนอาจจะยังมีข้อสงสัยว่า HIV กับ โรคเอดส์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใดเวลาพูดถึงคำคำหนึ่ง และ คำอีกคำจะต้องเข้ามาเกี่ยวกันพันตลอด โดยหากจะแยก 2 คำนี้ออกมาให้เห็นความชัดเจนขึ้น

HIV: เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่โจมตีเซลล์ในร่างกายของเรา ไวรัสชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวที่คอยทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งหากปล่อยไว้ไวรัสตัวนี้จะทำให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ในอนาคต

โรคเอดส์ (AIDS) : เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ซึ่งเกิดจากการปล่อยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายไป หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ส่งผลให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอที่จะปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก จึงมีโอกาสติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม หรือเชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น และเชื้อจะพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้ในที่สุด โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 8-10 ปีนับตั้งแต่ได้รับเชื้อ

ทำความรู้จัก เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา , นักวิจัยกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่ อาจจะกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากร่างกายได้  โดย CRISPR-Cas9 จะทำหน้าที่คล้าย “กรรไกร” เข้าไปตัดดีเอ็นเอ DNA ส่วนที่ไม่ดีออกจากเซลล์ หรือทำให้เอชไอวี หมดฤทธิ์ แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อร่างกายของมนุษย์จริงหรือไม่

เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9) ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2555 หรือเมื่อปี 2012   โดย ศ.เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และ ศ.เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน นักชีวเคมีและพันธุศาสตร์ ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2020

หลักการของ  เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA   คือการตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม โดยใช้คริสเปอร์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเลียนแบบสารพันธุกรรมในระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับแคสไนน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถตัดสาย DNA โดยคริสเปอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวนำทางแคสไนน์ ไปยังดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดี เพื่อให้แคสไนน์ตัดสายดีเอ็นเอออกจากเซลล์ หรือทำให้หมดฤทธิ์

เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA กับ ยาต้านไวรัส HIV นั้น มีข้อแตกต่างกันตรงที่  ยาต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อได้ แต่ยังไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด แต่กรรไกรตัด DNA นั้น เป็นการตัด ส่วนที่ไม่ดี ออกจากเซลล์

เทคโนโลยีนี้คือการตัดต่อยีนที่มีความแม่นยำสูง ที่ผ่านมา คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9)  ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและสามารถรักษาโรคทางพันธุกรรมบางโรคได้แล้ว เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคตาบอดจากพันธุกรรม

แต่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมส์ ซึ่งรายงานเรื่องโครงการทดสอบในครั้งนี้ระบุว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ในตอนนี้เป็นเพียง “ข้อพิสูจน์ของแนวคิด” เท่านั้น ยังไม่ใช่วิธีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในวงกว้าง

ทั้งนี้ ผลการทดสอบเบื้องต้นกับอาสาสมัคร 3 คน ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยี “คริสเปอร์ – แคสไนน์” มาแล้ว 48 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

ณ เข็มนาฬิกาปัจจุบัน ผู้ป่วย HIV ส่วนใหญ่ต้องการยาต้านเชื้อไวรัสตลอดชีวิต หากหยุดรับประทานยา เชื้อที่อยู่ในสภาวะแน่นิ่งสามารถตื่นขึ้นอีกครั้งและก่อปัญหาได้

มีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับ “การรักษาจนหาย” หลังจากที่พวกเขาเข้ารับการรักษามะเร็งแบบรุนแรงจนกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อบางส่วนออกไป แต่การรักษาแบบนี้ไม่ใช่วิธีการที่แนะนำสำหรับการรักษา HIV

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/849163