“อีเอ” กับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ที่ไม่ได้อยู่เพียงแค่รถอีวี

Share

Loading

แบตเตอรี่ไฟฟ้านั้น ในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่ที่รถอีวีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถอยู่ใน รถบัส รถบรรทุก รวมถึงเรือได้อีกด้วย หรือแม้แต่ภาคครัวเรือนและภาคการเกษตรให้สามารถตอบโจทย์ความเป็นกลางคาร์บอนได้อย่างยั่งยืน

ฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยโครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนบริษัทพลังงานบุริสุทธิ์ จำกัด  หรือ EA กล่าวระหว่างพาผู้บริหาร กองบรรณาธิการ เนชั่น กรุ๊ป เยี่ยมชมกิจการ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ว่าโรงประกอบรถไฟฟ้า และบ่อชุบโลหะที่ใหญ่ในอาเซียนในภายใต้ บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี  ซึ่งมี 12 บ่อ ทำให้โรงงานมีมาตราฐานและคุณภาพที่สูง ซึ่งการผลิตแบตเตอรี่ รถอีวี หรือเรือไฟฟ้า มีขั้นตอนน้อยกว่าการผลิตเรือและรถแบบเดิมๆ ที่สามารถลดคาร์บอนในการผลิตได้ โดยภายในโรงงานระบบการขนส่งใช้รถบรรทุกที่เป็นรถไฟฟ้า  ซึ่งสามารถลดมลพิษและต้นทุนในการขนส่งได้อีกด้วย

ทั้งนี้ยังมี บริษัท อมิตา เทคโนโลยี เป็นบริษัทผลิตแบตเตอรี่เซลล์ลิเที่ยมโรงแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งอยู่ในช่วงกำลังขยายกำลังการผลิต ซึ่งโรงงาน ผลิต 1 กิกวัตต์ต่อปี โดยผลิตแบตเตอรี่ให้กับ รถอีวี รถบัสและรถบรรทุก รวมถึงเรือไฟฟ้า ทั้งนี้ยังผู้ริเริ่มติดตั้งสถานีชาร์จถึง 500-600 สถานี ทำให้ประเทศเกิด Eco system ภายในประเทศได้อย่างยั่งยืน

โดยโรงงานอมิตา ผลิตตั้งแต่เซลล์แบตเตอรี่  ซึ่งได้สิทธิพิเศษจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มา 8 ปี สนับสนุนโรงที่ผลิตตั้งแต่เซลล์ เน้นยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ต้องใช้แบตเตอรี่ ภายในประเทศจึงได้รับภาษีน้อยลง ซึ่งทุกปีเปลี่ยนรถใหม่ประมาณ 1 แสนคันและมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการต้องการในการผลิตแบตเตอรี่ได้มากขึ้น “และการตั้งโรงงานในไทยยังเพิ่มประสิทธิภาพการจ้างงาน และใช้ซัพพลายเออร์จากไทยทำให้เม็ดเงินการลงทุนต่างๆไหลเวียนภายในประเทศ ไม่ใช่เหมือนทัวร์ศูนย์เหรียญ”

นอกจากนี้แบตเตอรี่นั้นไม่ได้ใช้กับในรถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งถูกใช้ในภาคพลังงานของไทย อย่าง การใช้โซล่าแบตเตอรี่ จัดเก็บพลังไฟฟ้าในแบตเตอรี่  เช่น พลังงานส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถใช้ไฟพลังงานสะอาดในช่วงเวลาที่สุงได้ ทำให้เกิด Cost Saving จึงตอบโจทย์ Net zero ของประเทศไทยที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนปี ค.ศ. 2030 ลง 40% และจำเป็นต้องลด 70% จากภาคพลังงานและขนส่ง

เมื่อพูดถึงโครงฐานพื้นฐานโดยไทยมีข้อดีในการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานของไฟฟ้า ดังนี้

1 มีจุดแข็งสายส่งแข็งแรงมาก ในการวางแผนระบบต่างๆภายในประเทศ

2 มีโรงไฟฟ้าอยู่เยอะทำให้มีความมั่นคงภายในประเทศ

ฉัตรพล กล่าวว่า ในภาคการเกษตรนั้นแบตเตอรี่ยังถูกใช้ในโดรนและถูกว่าในฟาร์มเกษตรอัจฉริยะอีกด้วยรวมถึงเครื่องมือที่ใช้รอบตัวไม่ว่าจะเป็นสกูล หรือสว่านต่างๆที่ใช้แบตเตอรี่อีกด้วย หรือการใช้และแบตเตอรี่ในภาคครัวเรือควบคู่กับโซล่าเซลล์จะสามารถกักเก็บพลังงานสะอาดสู้ค่าไฟได้แถมใช้พลังงานสะอาดได้อีกด้วย

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่เสื่อมจากรถยนต์นำมาใช้ต่อเป็น Storage ได้ และมีแผนในการขึ้นโรงงานรีไซเคิลซึ่งให้ความสำคัญกับการกำจัดแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อความยั่งยืนมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนั้นการที่จะลดคาร์บอนเป็นที่พูดถึงมากในทั่วโลกมีการออกมาตราการต่างๆ อย่าง มาตการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เป็นการจำการการปล่อยคาร์บอนในสินค้าที่กลุ่ม อียู (EU) กำหนดส่งผลให้หลายบริษัทในไทยเริ่มปรับตัวต่อข้อบังคับนนี้มากขึ้น และยังมีในส่วนของ  พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่จะค่อยๆ บังคับใช้นี้ จะทำให้ประชาชนตื่นรู้ตลอดเกี่ยวกับความยั่งยืนได้เป็นอย่างมากซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนควรมีการรับผิดชอบต่อโลกใบนี้

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1120955