ประเทศไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ย 255 ล้านต้นต่อปี โดยเป็น ภาคการขนส่ง ราว 29% แนวคิด โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) จึงเป็นสิ่งที่ภาคขนส่งหันมาให้ความสำคัญ ในการจัดการกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศ
ในช่วงปี 2560 -2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทย มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ย 255 ล้านต้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี จากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ โดยการผลิตไฟฟ้าปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดราว 36% รองลงมา คือ การขนส่ง และ อุตสาหกรรม สัดส่วนใกล้เคียงกันที่ราว 29%
ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS เผยว่า สำหรับไทย ในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุก เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนสูงที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษมากที่สุดด้วย จากฐานข้อมูล Enlite จำนวนผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทยในปี 2564 สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1 ผู้ประกอบการขนส่งทางถนน ซึ่งใช้พาหนะรถบรรทุกสี่ล้อ หกล้อ และรถหัวลาก มีจำนวน 13,187 ราย มีรายได้รวมราว 525 แสนล้านบาท
2 ผู้ประกอบการสนับสนุนส่งออกนำเข้า เช่น นายหน้า ดำเนินการพิธีการศุลกากร (ชิปปิ้ง มีจำนวน 4,627 ราย มีรายได้รวมราว 425 แสนล้านบาท
3 ผู้ประกอบการด้านคลังสินค้า มีจำนวน 724 ราย มีรายได้รวมราว 5.2 หมื่นล้านบาท
4 ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางทะเล มีจำนวน 212 ราย มีรายได้รวมราว 3.1 หมื่นล้านบาท
5 ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศ มีจำนวน 70 ราย มีรายได้รวมราว 2.1 หมื่นล้านบาท
ปี 2565 ไทยมีรถบรรทุกจดทะเบียน 1.2 ล้านคัน
ด้านพาหนะในการให้บริการขนส่งทางบทหรือรถบรรทุกสินค้า ณ กันยายน 2565 ประเทศไทยมีจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนสะสมอยู่ที่ 1,217,179 ค้น ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 9 ลักษณะตามการใช้งาน จากการแบ่งของกรมการขนส่งทางบก ได้แก่
ลักษณะที่ 1 กระบะบรรทุก มีจำนวน 630,739 คัน
ลักษณะที่ 2 ตู้บรรทุก มีจำนวน 98,752 คัน
ลักษณะที่ 3 บรรทุกของเหลว มีจำนวน 22,920 คัน
ลักษณะที่ 4 บรรทุกวัสดุอันตราย มีจำนวน 11,207 คัน
ลักษณะที่ 5 บรรทุกเฉพาะกิจ มีจำนวน 99,272 คัน
ลักษณะที่ 6 รถพ่วงมีจำนวน 110.929 คัน
ลักษณะที่ 7 รถกึ่งพ่วง มีจำนวน 131,112 คัน
ลักษณะที่ 8 รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว มีจำนวน 1,584 คัน
ลักษณะที่ 9 รถลากจูง มีจำนวน 102,648 คัน
โดยรถบรรทุกในลักษณะที่ 1-5 และลักษณะที่ 9 เป็นรถที่มีการใช้เครื่องยนต์ที่มีการปลดปล่อยก๊าซจากการไหมั ขณะที่รถบรรทุกลักษณะที่ 6-8 เป็นเพียงรถพ่วงเพื่อบรรทุกสินค้าเท่านั้น
ทำไมต้อง โลจิสติกส์สีเขียว
โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) เป็นการจัดการกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า วัตถุดิบ และข้อมูลสารสนเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของโซ่อุปทาน ทั้งไปข้างหน้าและย้อนกลับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด ได้แก่ การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การเลือกที่ตั้งและการจัดการคลังสินค้า การจัดซื้อและจัดหาสินค้า การพยากรณ์อุปสงค์ กรขนถ่ายวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการดำเนินการด้านคำสั่งซื้อ การบริการลูกค้า และโลจิสติกส์ย้อนกลับ
โดย Green Logistics นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนและทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่งและกระจายสินค้า รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในยุคการค้าเสรีอีกด้วย
ข้อดีของการบริหารจัดการด้วยแนวคิด Green Logistics
1) ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลง เช่น การใช้รถพลังงานไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายต่อปีดลดลงประมาณ ร้อยละ 69.87 เนื่องจากค่าซ่อมบำรุง และต้นทุนพลังงานถูกลง (ข้อมูลจาก : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)
2) จ่ายภาษีถูกลง เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการ และนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น กรมการขนส่งทางบกมีการลดภาษีป้ายรายปีให้ครึ่งหนึ่ง สำหรับรถบรรทุกที่ใช้พลังงานทดแทน
3) เป็นจุดเด่นและช่วยขยายโอกาสทางการค้า เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้น หากบริษัทไม่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อาจจะถูกกีดกันทางการค้าได้
ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลไทยมีความพยายามในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy ถูกจัดไว้ในนโยบายขับเคลื่อนที่สำคัญ และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญ มีกิจกรรมสนับสนุนมากมาย เช่น กิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้า BCG ผ่านช่องทางออนไลน์ เข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศ/ต่างประเทศ
ดังนั้น หากผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยปรับตัวเข้าสู่ Green Logistics มากขึ้น จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านช่องทางต่างๆ ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
นวัตกรรมขนส่งสีเขียว
Green Transportation หมายถึง นวัตกรรมการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด เช่น ระบบไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสีย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลอยขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศ
ปัจจุบันในประเทศไทยนั้นมีตัวอย่าง Green Transportation ให้เห็นค่อนข้างมาก เช่น
รถเมล์พลังงานไฟฟ้าโดย ขสมก.
ไปรษณีย์ไทย จับมือ ปตท. นำร่องใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อส่งพัสดุ
Swap & Go บริการเช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าโดย ปตท.
การใช้รถมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าในการจัดส่งพัสดุ Delivery Service
การใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซล หรือก๊าซธรรมชาติในรถบรรทุก
การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) เช่น กล่องพัสดุ พลาสติกกันกระแทก ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก
บริการขนส่งในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการใช้ยานพาหนะ EV มากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดมลพิษทางอากาศแล้ว ไฟฟ้านับเป็นพลังงานที่มีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับน้ำมัน จึงสามารถช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้อีกด้วย
6 แนวทาง สู่ Green Logistics
- การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Model Shift)
การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากรูปแบบที่มีการปลดปล่อยมลภาวะสูง เช่น การขนส่งทางถนน ด้วยรถบรรทุก ไปสู่รูปแบบการขนส่งสินค้าที่ปลดปล่อยมลพิษน้อยกว่า เช่น การขนส่งทางรางด้วยรถไฟ
- การขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation)
การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า (Load efficiency) โดยการรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายเข้าด้วยกัน เพื่อให้ลดพื้นที่ว่างในการขนส่งสินค้าในแต่ละคราว รวมทั้ง ลดการขนส่งเที่ยวเปล่าและการบรรทุกสินค้าให้เต็มรถ (Backhaul&Full Truck Load) แต่ก็ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดเพราะการที่รถบรรทุกน้ำหนักเกินพื้นถนนรองรับได้ ก็ถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
- การรวมและการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า (Unification and Relocation of Cargo Bases)
การจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า เพื่อลดระยะทางในการขนส่งและรอสินค้าของผู้ซื้อหรือผู้สั่งออเดอร์ทั้งหมด (Lead Time) และลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า(Delivery Time) ซึ่งจะทำให้การปลดปล่อยมลพิษจากการขนส่งสินค้าลดลงตามระยะเวลาที่ขนส่งด้วย ทั้งนี้ รวมถึงการรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้า แล้วจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกันด้วย
- เทคโนโลยี
การใช้ทคนโลยีในการลดก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ และมลพิษ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ดักจับมลพิษจากท่อไอเสีย การใช้เครื่องวัดความเร็ว (tachometer) เพื่อตรวจสอบการให้บริการของยานพาหนะ Eco-Wrapping เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากกระดาษมาเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- โครงสร้างพื้นฐาน
การสร้างและการดูแลบำรุงรักษา ฟื้นฟูสภาพโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง เช่น ถนน สถานีขนส่งสินค้า สถานีรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าในภาพรวมเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ซึ่งในอนาคตจะมีส่วนในการรับส่งข้อมูลที่ใช้ดำเนินการในกิจกรรมขนส่งสินค้าด้วย
6.นโยบายภาครัฐ การสร้างความร่วมมีอระหว่างประเทศ
การออกนโยบายและการสร้างความร่วมมีอระหว่างประเทศระหว่างภาครัฐของประเทศต่างๆ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษในภาคการขนส่ง ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร
แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2024/04/09/hydrogen-powered-vehicles-energy-of-the-future/