กระทรวงอุตฯ ดัน อุตฯสมัยใหม่ ใช้ AI ช่วยทำงาน-เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Share

Loading

รัฐบาลพร้อมสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ เดินหน้าอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ใช้ AI ช่วยทำงาน ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก การขับเคลื่อน Green Productivity เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน

การยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก การขับเคลื่อน Green Productivity เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้และนโยบายด้าน Social Responsibility ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน ด้านการจัดการกับกากอุตสาหกรรม การปล่อยน้ำเสีย และมลพิษทางอากาศ ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ และพร้อมสร้างโอกาส

ซึ่งประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะก้าวไปสู่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ที่เป็นประตูเชื่อมต่อไปยังประเทศเศรษฐกิจสำคัญ โอกาสจากความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายด้านทรัพยากร โดยอุตสาหกรรมเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม การตอบโจทย์กติกาสากลในหลากหลายมิติ และการกระจายโอกาส และรายได้สู่ชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้มุ่งเน้นขับเคลื่อนนโยบาย 6 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย

1.การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นอุตสาหกรรมที่จะเป็นอนาคตของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ลดการปล่อยมลพิษ (รถยนต์ไฮบริด) แต่ยังให้การดูแลและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมด้วย เพื่อให้ผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่สามารถอยู่คู่กันไปได้ รวมถึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ

โดยเร่งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในประเทศเพื่อยกระดับการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค ที่สำคัญทั่วประเทศ

2.การพัฒนาอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจนำอุตสาหกรรม” โดยปรับรูปแบบอุตสาหกรรมให้เชื่อมโยงกับเทรนด์โลกและภาคเศรษฐกิจอื่น รวมทั้งนำมาตรฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ เช่น เกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

โดยมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลในภูมิภาค Halal Hub ควบคู่กับการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อและเป็นฐานลูกค้ามุสลิมรายได้สูงของไทย ตลอดจนการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมศักยภาพและเชื่อมโยงกับภาคบริการ อาทิ อุตสาหกรรมรีไซเคิล อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รวมถึงการผลักดันอุตสาหกรรม Soft Power ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยเป็นเครื่องยนต์สร้างการเติบโตและรายได้ให้กับประเทศ

3.การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ขับเคลื่อน Green Productivity ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกอบอุตสาหกรรม อย่าง น้ำเสีย อากาศเสีย กากอุตสาหกรรม เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก  ผ่านการกำกับ ควบคุม ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายอย่างเข้มงวด เพี่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2-Emission) /คาร์บอนฟุตพรินท์ รวมทั้งมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียว/เมืองอุตสาหกรรมสีเขียวที่เทียบเคียงได้กับระดับสากล และจัดการปัญหามลพิษ เช่น PM2.5 การปล่อยก๊าซเรือนกระจก น้ำเสียและขยะ/กากอุตสาหกรรม

4.มุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้การบริการ การขออนุมัติ อนุญาต และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับปรุงฐานข้อมูลภาคอุตสาหกรรมให้เป็นระบบ พร้อมให้บริการในรูปแบบ One Stop Service ที่สามารถเข้าถึงและใช้งานง่าย มีความโปร่งใส เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ซึ่งในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการระบบ i-industry และ i-single form เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการรวบรวมข้อมูลและบริการด้านการดำเนินการอุตสาหกรรม

5.การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพ ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำผ่านกลไกของหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน ปรับลดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน อาทิเช่น กองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ ภายใต้โครงการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ  ในส่วนของ SME D BANK ก็จะมีโครงการสินเชื่อ SME GREEN PRODUCTIVITY วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับผลิตภาพสีเขียวให้กับ SME ของประเทศ

6.การเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สถานการณ์น้ำท่วม จากภาวะลานีญาและเอลนิโญ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อ่อนไหวสูงที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ที่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถของ AI Technology กับความเชี่ยวชาญของมนุษย์

รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างทันท่วงทีด้วย

และโดยบริษัท LIV-24 จำกัด ถือเป็นผู้ผลิตโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ โดยนำมาออกแบบเป็นระบบป้องกันภัยด้านต่าง ๆ เช่น การเตือนอัคคีภัย กล้องอัจฉริยะตรวจจับความผิดปกติ การดูแลระบบ เครื่องจักรต่างๆ ระบบขนส่ง การจัดการน้ำเสีย และการจัดการพลังงาน โดยมีการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์ควบคุมส่วนกลางที่สามารถดูแลได้แบบ 24 ซึ่งถือว่าจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการควบคุมความปลอดภัยในลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยมากขึ้น

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/environment/1140502