นวัตกรรม ป้องกันน้ำท่วม Erchong Floodways ไต้หวัน งบกว่า 1,500 ล้านบาท

Share

Loading

  • น้ำท่วม หรือ อุทกภัย เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจของใครๆหลายๆคน สร้างความเสียหายต่างๆอย่างมากมาย ทำให้มีนวัตกรรมหลากหลายอย่างงอกเงยขึ้นมา
  • ชวนมาดูนวัตกรรมป้องกันน้ำท่วม ของไต้หวัน ที่มีชื่อว่า Erchong Floodways แก้ปัญหาแม่น้ำตั้งสุ่ยล้น
  • งบกว่า 1,500 ล้านบาท จะช่วยรองรับน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่เมืองได้เป็นอย่างดี ช่วงน้ำน้อยพื้นที่ Floodways นี้ก็จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่

น้ำท่วม หรือ อุทกภัย เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจของใครๆหลายๆคน สร้างความเสียหายต่างๆอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ มาดูนวัตกรรมป้องกันน้ำท่วม ของไต้หวันกัน

Erchong Floodways ไต้หวัน งบกว่า 1,500 ล้านบาท

ต้องเล่าก่อนว่า กรุงไทเป ของประเทศไต้หวันนั้น ได้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำ Tamsui ซึ่งเป็นที่ไหลรวมกันของแม่น้ำ Dahan, Xiandian และ Keelung ก่อนไหลออกทะเลที่ช่องแคปไต้หวัน มีสภาพอากาศที่ประสบพายุไต้ฝุ่นบ่อยมากๆ จึงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงเกิดน้ำท่วม

และเมื่อปี 1963 ไต้ฝุ่นกลอเรีย ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่กรุงไทเป ทำให้เกิดแนวคิดในการสร้าง Floodways หรือเรียกอีกอย่างว่า ทางน้ำไหล เพื่อรองรับน้ำท่วมในอนาคต หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Erchong Floodways” เริ่มก่อสร้างปี 1979-1996

การก่อสร้างนั้น ทางการก็ได้ขุดพื้นที่รับน้ำครอบคลุมพื้นที่ 1,050 เอเคอร์ บนพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ Tamsui โดยคำนึงทิศทางการไหลของน้ำให้ไหลลงทะเลได้เร็วขึ้น และรื้อสิ่งปลูกสร้างที่ขวางทางน้ำออก เพราะในช่วงฤดูน้ำหลากหรือมีมรสุมพื้นที่ทางน้ำไหลนี้ จะช่วยรองรับน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่เมืองได้เป็นอย่างดี

หรือถ้าเป็นช่วงเวลาปกติ ที่ไม่ได้มีมรสุมอะไร เป็นช่วงน้ำน้อยพื้นที่ Floodways นี้ก็จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ สำหรับเป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชน มีสวนหย่อม สนามเด็กเล่น สนามกีฬา และเขตพื้นที่ฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นการออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้คุ้มค่าและเกิดความยั่งยืนสำหรับอนาคต

เพราะการบริหารจัดการน้ำท่วมนั้น เป็นอะไรที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ทางรัฐเองที่จะช่วยเหลือจะปกป้องประชาชนให้รอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ ก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การป้องกัน หรือถ้าหากตั้งรับได้ยากจริงๆ ก็ต้องมีวิธีรับมือให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มากที่สุด เพราะ วิกฤตทางธรรมชาตินั้น เป็นอะไรที่ควบคุมได้ยากมากๆ

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/852568