SCG + Rondo Energy = “แบตเตอรีดินเหนียว”

Share

Loading

SCG ร่วมกับ Rondo Energy พัฒนาผลิตวัสดุกักเก็บความร้อน (Thermal Media) ซึ่งสามารถกักเก็บความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส

โดย Thermal Media เป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่ความร้อน (Heat Battery) ผ่านการนำ “พลังงานแสงอาทิตย์” มาเก็บเป็นความร้อน เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม

John O’ Donnell ผู้ก่อตั้ง Rondo Energy กล่าวว่า ในปัจจุบัน นอกจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว เรายังมี “แบตเตอรี่ความร้อน” ที่สามารถสร้างความร้อนด้วยพลังงานสะอาด ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้

“จากการที่อุตสาหกรรมในปัจจุบันมักสร้างความร้อนจากการใช้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 25% ของโลก” John O’ Donnell กระชุ่น

“แบตเตอรี่ความร้อน” คือการถ่ายเทความร้อนเข้ามาเก็บใน “อิฐทนไฟ” (Refractory Brick) เพื่อเก็บความร้อนในแบตเตอรี่

เมื่อต้องการใช้งานพลังงานความร้อน ระบบจะปล่อยลมเข้าไปเพื่อให้ “อิฐทนไฟ” ปล่อยความร้อนออกมา โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) ในการควบคุมระดับความร้อน

โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Rondo Energy ได้ประกาศความร่วมมือกับ SRIC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SCG เพื่อผลิต “อิฐทนไฟ” ป้อนโรงงานผลิต Heat Batteries

ซึ่งในเบื้องต้นจะสามารถผลิตได้ 2.4GWh ต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 90 GWh ต่อปีในอนาคต ซึ่งถ้าหากทำสำเร็จ กำลังการผลิตนี้จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนได้ถึง 12 ล้านตันต่อปี ซึ่งเท่ากับปริมาณคาร์บอนของรถถึง 4 ล้านคัน

ทั้งนี้ พลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากกังหันลม หรือโซลาร์เซลล์ มีราคาถูกกว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ความไม่เสถียรของพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์

ผนวกกับ Protocol ที่เชื่อมต่อพลังงานสะอาดเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตยังขาดการพัฒนาที่ดี

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ว่ากระบวนการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามต้องใช้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอ หรือในบางกรณีจำเป็นต้องใช้ความร้อนตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

John O’ Donnell ผู้ก่อตั้ง Rondo Energy ในเมือง Alameda รัฐ California ระบุว่า “ภาคการผลิตใช้พลังงานของโลกมากที่สุด ความร้อนที่ใช้ในการผลิตสินค้า คิดเป็น 1 ใน 4 ของพลังงานที่ได้จากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติทั้งหมดในโลก”

“สาเหตุหลักก็คือ พลังงานหมุนเวียนจากลมและแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ผลิตได้ไม่คงที่ จึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุที่คาดไม่ถึง คือดินเหนียว มาทำหน้าที่เป็น แบตเตอรีกักเก็บความร้อน” John O’ Donnell กล่าว และว่า

คล้ายกับการที่โรงงานมีแผงลวดทำความร้อนแบบเครื่องปิ้งขนมปังฝังเอาไว้ใต้พื้นโรงงาน

“ดินเหนียวเป็นวัสดุที่โลกใช้มานานกว่า 200 ปีแล้ว ครั้งนี้จึงถือว่าเป็นนำเอาวัสดุที่เคยเป็นที่นิยมจากยุคหิน สู่ยุค 80 มาใช้ผลิตในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสำหรับยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 21” John O’ Donnell กล่าว และว่า

หลักการทำงานของ “แบตเตอรีดินเหนียว” ก็คือ จะมีการฝังลวดเหล็กไว้ภายในก้อน “อิฐทนไฟ” เพื่อสร้าง และเหนี่ยวนำความร้อน

ส่วน “ก้อนอิฐ” ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงที่ซับซ้อน เพื่อกระจายความร้อนอย่างสม่ำเสมอ และกักเก็บพลังงานไว้นานหลายวัน John O’ Donnell กล่าว และว่า

“อิฐทนไฟเพียงก้อนเดียว สามารถกักเก็บพลังงานได้มากเท่ากับชุดแบตเตอรีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla Model X เลยทีเดียว”

โดยในการสร้างคลังกักเก็บพลังงานหนึ่งจุด จะใช้ “อิฐดินเหนียว” หรือ “อิฐทนไฟ” ซ้อนกันประมาณ 3,000 ชิ้น

ทั้งนี้ คลังกักเก็บความร้อนจากก้อนอิฐสามารถทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งภาคธุรกิจสามารถนำความร้อนดังกล่าวไปใช้ได้ในการผลิตอาหาร เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อีกด้วย

ผลงานแบตเตอรีดินเหนียวของบริษัท Rondo Energy ถูกนำไปใช้ครั้งแรกปี 2023 ที่โรงงานเชื้อเพลิงชีวภาพ ในรัฐ California

John O’ Donnell ทิ้งท้ายว่า การทดแทนระบบเผาไหม้ด้วยการใช้พลังงานจากสายลมและแสงแดด จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ถึงครึ่งหนึ่ง

ณ ปัจจุบัน ฐานการผลิตขนาดใหญ่สำหรับ “แบตเตอรีก้อนอิฐ” ตั้งอยู่ในประเทศไทย คือที่ SCG ที่มีแผนการสร้างโรงงานแบตเตอรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

และกำลังอยู่ในกระบวนการเจรจากับบริษัท EDP ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ เพื่อทำหน้าที่จัดหา “พลังงานความร้อนไร้คาร์บอน” ให้กับอุตสาหกรรมไทย และอุตสาหกรรมโลกต่อไปด้วย

SCG + Rondo Energy = “แบตเตอรีดินเหนียว” ได้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดพลังงานจาก “ดินเหนียวธรรมดาๆ” กำลังก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของอนาคตของพลังงานสะอาดโลกครั้งใหม่ในอีกไม่นานนี้

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2024/09/10/thermal-energy-storage-refractory-brick/