AI vs AI นักวิจัยใช้ AI ตอบโต้ตัวมันเอง ที่สร้างข้อมูลปลอม ด้านวิทยาศาสตร์

Share

Loading

  • ทุกคนคงรู้กันว่าโลกของเราในตอนนี้มี AI เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การให้ช่วยหาข้อมูล การสร้างภาพเสมือน และอื่น ๆ
  • ซึ่งจะใช้ AI ผิดในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญมากก็ผิดกันได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ และ การทดลองต่าง ๆ เนี่ยสิ มันจะผิดพลาดไม่ได้
  • ป้องกันการผิดพลาดก็คือการใช้ AI ให้ตรวจสอบตัวมันเอง โดยเทคโนโลยีของ Proofig ไม่ว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI หรือ ภาพจริง สามารถระบุได้ 98% จากจำนวนทั้งหมด เลยทีเดียว

จะเป็นยังไงเมื่อใช้ AI ให้ตอบโต้ตัวมันเอง นักวิจัยกำลังพัฒนา AI ที่ใช่ตอบโต้ AI ที่สร้างข้อมูลผิด ๆ ด้านวิทยาศาสตร์แล้ว

นักวิจัยใช้ AI ตอบโต้ AI ที่สร้างข้อมูลผิดด้านวิทยาศาสตร์

ทุกคนคงรู้กันว่าโลกของเราในตอนนี้มี AI เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การให้ช่วยหาข้อมูล ช่วยแปลภาษา การสร้างภาพเสมือน การเกษตร และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งล่าสุด AI ก็มาอยู่ในด้านวิทยาศาสตร์และการทดลองต่าง ๆ เช่นกัน

แต่ทว่าจะมีแต่ข้อดีก็คงอวยกันมากเกินไปหน่อย อย่างเช่นการที่เรานั้นยังต้องคำนึงถึงความถูกต้องอยู่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ยังต้องใช้สมองคนร่วมด้วย อาจจะไม่ใช่ 50/50 แต่บางคน AI น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากกว่า 80/20 แล้วก็เป็นได้

ซึ่งจะใช้ AI ผิดในชีวิตประจำวันที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญมากก็ผิดกันได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ และ การทดลองต่าง ๆ เนี่ยสิ มันจะผิดพลาดไม่ได้เลยทีเดียวเชียวจนล่าสุดมีผู้เชี่ยวชาญระบุว่า “วิทยาศาสตร์” เอง ก็อาจจะกำลังประสบพบเจอภัยจาก AI เช่นเดียวกัน

บทความบนเว็บไซต์ Nature ผู้เผยแพร่วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวถึงภัยคุกคามของ AI ต่อองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยระบุว่า นับตั้งแต่การใช้ AI เริ่มแพร่หลายขึ้น ผู้ตรวจสอบวารสารทางวิทยาศาสตร์ ก็มีภาระที่หนักและซับซ้อนขึ้นเช่นเดียวกัน

ซึ่งภาระที่หนักอึ้งที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องเจอนั้น คือ “ข้อมูลปลอม” ที่มนุษย์ไม่สามารถแยกได้ ว่าเป็นผลงานของ AI หรือไม่ ทำให้ Diana Kwon นักข่าววิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว ระบุว่าการใช้ AI เป็นเครื่องมือในการสร้างข้อความ รูปภาพ จนถึงภาพจากกล้องจุลทรรศน์ อย่างง่ายดายนั้น ทำให้เกิดความกังวลว่า “วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ จะยิ่งไม่น่าเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆ”

และถึงแม้ปัจจุบัน วรรณกรรมหลายฉบับได้อนุญาต ให้ใช้ AI ในการวิจัยได้แล้ว และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด และหลายๆ ภาพ นักวิทยาศาสตร์แทบจะแยกจากภาพจริง ด้วยตาเปล่าไม่ได้เลย จนมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ถึงกับเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า “กระแสวิทยาศาสตร์ปลอม”

ซึ่งการสังเกตเหมือนจะง่าย แต่ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก เพราะ มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สังเกตจาก พื้นหลังที่เหมือนกัน หรือพื้นหลังที่ไม่มีรอยเปื้อนหรือคราบต่าง ๆ ภาพไหนที่สร้างโดย AI จะไม่มีสิ่งเหล่านี้ โดย Elisabeth Bik ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ภาพ กล่าวว่า “คุณพูดได้แค่ว่ามันดูแปลกๆ และแน่นอนว่า นั่นไม่ใช่หลักฐานเพียงพอ ที่จะเขียนถึงบรรณาธิการ”

และถึงแม้คนเราอาจจะไม่สามารถตรวจสอบได้แม่นยำขนาดนั้น แต่เราใช้ AI ตรวจภาพจาก AI ได้ โดยมีการใช้งาน Imagetwin และ Proofig หรือ AI ที่เป็นเครื่องมือตรวจจับปัญหาความสมบูรณ์ของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ ทั้งสองบริษัทฯ กำลังพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ เพื่อคัดแยกภาพที่สร้างโดย AI

อย่างล่าสุดเทคโนโลยีของ Proofig ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ สำหรับตรวจจับ ภาพกล้องจุลทรรศน์ที่สร้างโดย AI โดยเฉพาะ มีการรายงานว่า หลังจากทดสอบกับภาพหลายพันรายการ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI หรือ ภาพจริง แต่อัลกอริทึมสามารถระบุภาพ AI ได้ 98% จากจำนวนทั้งหมด

นี่ถือว่ามองได้เสมือนดาบ 2 คม ของ AI ในด้านของวิทยาศาสตร์ แต่ก็เสมือนกับประสบความสำเร็จ ที่เราได้นำ AI เข้ามาช่วยงานได้ พร้อมทั้งแก้ปัญหาได้ โดยใช้ตัวมันเองนั่นเอง

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/854138